2011G09_24_R2R_การคิดหัวข้อวิจัยจากกระบวนการทำงานหลัก


การทำวิจัยเริ่มจากใจที่อยากจะพัฒนา เริ่มจากความสงสัย

การคิดหัวข้อวิจัย จากกระบวนการทำงานหลัก

(นำเสนอในการประชุม Fa หน่วยงานของรพ.เพื่อผลักดันการทำ R2R)

 

การทำวิจัยเริ่มจากใจที่อยากจะพัฒนาอะไรสักเรื่องหนึ่ง ซึ่งต้องรู้จักตั้งข้อสงสัย รู้จักตั้งคำถาม มองปัญหาหรือคำถามวิจัยให้ออก โดยอย่าทิ้งเป้าหมายสุดท้ายของเราคือ “ต้องการพัฒนางาน”

การคิดคำถามวิจัยมีหลายวิธี แต่หากคิดปัญหาในงานหรือเรื่องที่จะทำวิจัยไม่ออก ขอเสนอวิธีดังต่อไปนี้ (ซึ่งอาจจะช่วยให้คิดปัญหาในการทำงาน และทำให้เกิดการดึงงานวิจัยเข้ามาพัฒนางานประจำ ได้ง่ายขึ้น) ดังนี้

ขั้นแรก เราดูว่ากระบวนการหลักของการทำงานเรามีขั้นตอนอะไรบ้าง ทำตารางให้กระบวนการหลักอยู่ในแนวตั้ง และมิติคุณภาพอยู่ในแนวนอน

ขั้นที่สอง ลองพิจารณาไล่ๆ ไปตามมิติคุณภาพ ว่ามีปัญหาเกิดขึ้นไหม? ตรงไหนที่ผลลัพธ์ยังไม่ได้ตามต้องการมีหรือไม่ หรือดู Gap ระหว่างสิ่งที่เราคาดหวังกับสิ่งที่เป็นจริงมีช่องว่างเกิดขึ้นตรงจุดใด

ขั้นที่สาม ถ้าผ่านหรือยอมรับได้ก็ขีด / ถ้าเกิดปัญหาก็ขีด X แล้วบันทึกรายละเอียดลงไป

ขั้นที่สี่ หากต้องการวิเคราะห์ให้ละเอียดมากขึ้นก็ดึงกระบวนการทำงานหลักแต่ละขั้น เอามาดูให้ลึกกันไปเลย ก็จะครอบคลุมมากขึ้น

ตัวอย่าง:

ขั้นที่ ๑ กระบวนการเตรียมผู้ป่วย

กระบวนการหลัก\มิติคุณภาพ

สมรรถนะผู้ให้บริการ

เหมาะสม

ประสิทธิผล(ผลลัพธ์ดี?)

ประสิทธิภาพ(ผลลัพธ์เทียบกับการลงทุนดี?)

ปลอดภัย

การเข้าถึงบริการ

เท่าเทียม

ต่อเนื่อง

Lean /อื่นๆ

ลำดับความรุนแรง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ให้ข้อมูลทั่วไป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ลงนามยินยอม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Pt Identification

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ส่งต่อ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เตรียมสถานที่

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เตรียมอุปกรณ์

 

X1

X1

X1

X1

X1

X1

X1

X1

เตรียมเจ้าหน้าที่

 

 

 

 

 

 

 

 

 

X1 ปัญหาผ้าปูไม่พอใช้* ผู้ป่วยต้องนอนบนเตียงติดพื้นผ้ายาง เสื้อผ้าไม่พอ ผู้ป่วยผู้หญิงรู้สึกอาย ไม่มีเสื้อผ้าใส่มีแต่ผ้าคลุมตัว เสี่ยงต่อการร้องเรียน

เราอาจใช้เทคนิค Tracer มาช่วย เนื่องจากเกิดผลกระทบมาก และซ่อนเร้น (หมายถึงผู้ป่วยต้องทนกับสภาพอยู่แบบนี้ไม่กล้าร้องเรียน) ไปดูซิว่าสาเหตุจากอะไร

อาจทำการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจก่อนก็ได้ เช่นเรื่อง “ผลการตามรอยกระบวนการจัดส่งผ้าผู้ป่วย”

แล้วนำมาปรับปรุงอีก Phase นึง เป็นเรื่อง “ผลการพัฒนาระบบการส่งผ้า ต่อ อุบัติการณ์ผ้าไม่พอใช้ และต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการและผู้ให้บริการ”

หมายเหตุ: * เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น และที่สำคัญ ถ้าใครมีคำถามวิจัยอยู่แล้ว ก็เริ่มวิจัยได้เลยนะคะ ไม่ต้องใช้ตารางช่วย เพราะมันค่อนข้าง Formal เกินไป แต่อย่างไรก็ตามวิธีนี้อาจช่วยได้ในบางกรณีค่ะ

ขอให้คิดออกนะคะ

๑๖ ก.ย. ๕๔

หมายเลขบันทึก: 462479เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2011 22:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 16:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สุดยอด  แบ่งปันกระบวนการคิดที่ง่ายๆ

ขออนุญาตเอาไปใช้นะคะ

 

ขอบคุณคะ.....

เรียน อ.หมอ CMUpal

พี่ทำตารางลง Blog ยังไม่ได้ค่ะ เลยอ่านเข้าใจลำบากหน่อย ขอบคุณทึ่คอยให้กำลังใจนะคะ

เรียน คุณกระติก

หัวข้อวิจัยนั้นเราต้องให้เวลากับผู้ทำนานพอสมควร แต่หากผู้ปฏิบัติบังเอิญได้มาหลายเรื่องก็อาจใช้ตารางช่วยพิจารณาว่าเรื่องไหนดีที่สุดได้เช่นกันค่ะ โดย

๑. ดูความชอบความสนใจ

๒. ดูความสำคัญ

๓. ดูว่าสามารถทำวิจัยได้

และประเมินความซ้ำซ้อนกับเรื่องที่เคยทำมาแล้ว ในประเด็น ๑.ปัญหา ๒.สถานที่ ๓.เวลา และ๔.วิธีการ ค่ะ

(อ่านจากหนังสือ อ.ธวัชชัย วรพงศธรมาเผยแพร่และช่วยเตือนความจำตัวเองค่ะ)

เรียน ท่านพี่หนาน ท่านดร.ภิญโญ และท่านGuy...ขอบคุณที่ให้กำลังใจค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท