8 ส.ค. 54...วันแรกของสัปดาห์อีกแล้ว


ความเข้มข้นของสารละลาย

วันนี้เริ่มสอนเรื่องใหม่ให้กับนักเรียน โดยจะทำกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง ความเข้มข้นของสารละลาย

โดยเริ่มจากการเรียนรู้เนื้อหาก่อนที่นักเรียนจะได้ลงมือปฏิบัติจริง

ความเข้มข้น (concentration) ของสารละลาย บอกให้เรารู้ว่ามีตัวละลายอยู่ในสารละลายเท่าไหร่ มีการบอกความเข้มข้นของสารละลายหลายระบบ ที่พบได้บ่อย ๆ มีดังนี้

  1. ร้อยละโดยมวลต่อปริมาตร (weight/volume percent) คือ มวลของตัวละลายที่ละลายอยู่ในสารละลาย 100 หน่วยปริมาตร โดยทั่วไปถ้ามวลของตัวละลายมีหน่วยเป็นกรัม ปริมาตรของสารละลายจะมีหน่วยเป็นลูกบาศก์เซนติเมตร ถ้ามวลของตัวละลายมีหน่วยเป็นกิโลกรัม ปริมาตรของสารละลายจะมีหน่วยเป็นลูกบาศก์เดซิเมตรหรือลิตร การบอกความเข้มข้นเป็นร้อยละโดยมวลต่อปริมาตร นิยมใช้กับสารละลายที่เป็นของเหลวโดยมีของแข็งเป็นตัวละลาย
  2. ร้อยละโดยปริมาตรต่อปริมาตร (volume /volume percent) คือ ปริมาตรของตัวละลายที่ละลายอยู่ในสารละลาย 100 หน่วยปริมาตรเดียวกัน เช่น สารละลายเอทิลแอลกอฮอล์เข้มข้น 15% โดยปริมาตรต่อปริมาตร หมายความว่า สารละลายเอทิลแอลกอฮอล์ 100 cm3 มีเอทิลแอลกอฮอล์อยู่ 15 cm3 การบอกความเข้มข้นเป็นร้อยละโดยปริมาตรต่อปริมาตร นิยมใช้กับสารละลายที่ทั้งตัวละลายและตัวทำละลายเป็นของเหลว
  3. ร้อยละโดยมวลต่อมวล (weight/ weight percent) คือ มวลของตัวละลายที่ละลายอยู่ในสารละลายที่มีมวล 100 หน่วยเดียวกัน เช่น โลหะผสมที่มีทองแดง 75% นิกเกิล 25% หมายความว่าในโลหะผสม 100 กรัม มีทองแดงอยู่ 75 กรัม มีนิกเกิลอยู่ 25 กรัม นิยมใช้กับสารละลายที่ทั้งตัวละลายและตัวทำละลายเป็นของแข็ง
  4. โมลาริตี (molarity) คือ จำนวนโมลของตัวละลายในสารละลาย 1 ลิตร ความเข้มข้นเป็นโมลาริตี หรือ โมลต่อลิตร (mol/l)
  5. ส่วนในพันส่วน (ppt = part per thousand) คือ ปริมาณตัวละลายในสารละลาย 1,000 ส่วน เช่น สารละลายชนิดหนึ่งมีสารหนูเข้มข้น 1 ส่วนในพันส่วน (1 ppt) หมายความว่า สารละลายนั้น 1,000 ส่วน มีสารหนูละลายอยู่ 1 ส่วน
  6. ส่วนในล้านส่วน (ppm = part per million) คือ ปริมาณตัวละลายในสารละลาย 1,000,000 ส่วน เช่น น้ำคลองแสนแสบมีสารประกอบปรอทเข้มข้น 0.2 ส่วนในล้านส่วน (0.2 ppm) หมายความว่า ในน้ำ 1,000,000 ส่วน มีสารประกอบปรอทละลายอยู่ 0.2 ส่วน

การเตรียมสารละลายใหม่จากสารละลายที่มีอยู่แล้ว ทำได้โดยนำสารละลายเดิมไปเติมในตัวทำละลายจะได้สารละลายที่มีความเข้มข้นน้อยลง การนำสารละลายเดิมไปเติมตัวทำละลายเพิ่มขึ้นเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การเจือจางสารละลาย

หมายเลขบันทึก: 462351เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2011 05:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 21:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท