3 ส.ค. 54.......กิจกรรมที่ 3.1 องค์ประกอบของสารละลาย


การระเหยแห้ง

ครูให้นักเรียนศึกษากิจกรรมการทดลองเกี่ยวกับองค์ประกอบของสารละลายในหนังสือเรียนแล้วเตรียมอุปกรณ์การทดลองและทำการทดลองตามกิจกกรมนั้น

โดยแนวทางการบันทึกผลการทดลองกิจกรรมที่ 3.1 องค์ประกอบของสารละลายมีดังนี้

ของเหลวตัวอย่าง 

ลักษณะของเหลวที่สังเกตได้

ผลที่สังเกตได้เมื่อให้ความร้อนจนแห้ง

1. น้ำเชื่อม

ของเหลวใส ไม่มีสี หรือสีน้ำตาลอ่อน*

มีตะกอนสีน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลเข้ม** อยู่ก้นจานหลุม

2. น้ำเกลือ

ของเหลวใส ไม่มีสี

มีตะกอนละเอียดขาวอยู่ก้นจานหลุม

3. น้ำอัดลม (ไม่มีสี)

ของเหลวใส ไม่มีสี***

มีตะกอนละเอียดสีขาว หรือสีน้ำตาลอ่อนอยู่ก้นจานหลุม

     * ขึ้นอยู่กับสีของน้ำตาลทรายที่ใช้

     ** ขึ้นอยู่กับความร้อน ถ้าความร้อนสูงจะได้สีน้ำตาลเข้ม

     *** อาจเห็นฟองแก๊ส

หลังจากกิจกรรมการทดลองนักเรียนสรุปผลการทดลองได้ ดังนี้

“ลักษณะของเหลวที่สังเกตได้ก่อนให้ความร้อน น้ำเชื่อม น้ำเกลือ น้ำอัดลม เป็นของเหลวใสเนื้อเดียว ไม่มีสี เมื่อนำของเหลวไปให้ความร้อนจนแห้ง ทั้งน้ำเชื่อม น้ำเกลือ และน้ำอัดลมมีสารที่เป็นของแข็งเหลืออยู่ แสดงว่าน้ำเชื่อม น้ำเกลือ น้ำอัดลม มีองค์ประกอบมากกว่าหนึ่งชนิด ประกอบด้วยตัวทำละลายซึ่งเป็นน้ำระเหยไป และตัวละลายเป็นของแข็งอย่างน้อยหนึ่งชนิด การให้ความร้อนแก่สารละลายจนของเหลวระเหยกลายเป็นไอแห้งหมด ใช้ตรวจสอบองค์ประกอบของสารละลายได้ เป็นวิธีแยกสารโดยให้ความร้อน เรียกว่า การระเหยแห้ง เป็นวิธีที่ใช้ตรวจสอบได้ดีกับตัวละลายที่เป็นของแข็งระเหยยาก”

 

หมายเลขบันทึก: 462349เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2011 05:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 19:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท