โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ)
โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) เทศบาลนครนคราชสีมา

ความฉลาดทางสุขภาวะ (HL: Health Literacy)


อย่างไรถึงเรียกว่าอ้วน

      

           ดิฉันนางสมจิตร  รักสัตย์ สอนวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ได้ทำการสอนแบบบรูณาการพัฒนาความฉลาดทางสุขภาวะ (HL:  Health  Literacy)  ในหน่วยการเรียนรู้เรื่องอัตราส่วนและร้อยละ โดยให้นักเรียนศึกษาใบความรู้เรื่อง “อย่างไรถึงเรียกว่าอ้วน ” (เข้าถึง)          

          ในใบความรู้จะมีการหาค่าดัชนีมวลกายจากสูตร 

                   ดัชนีมวลกาย = น้ำหนักเป็นกิโลกรัม

 

                                        (ส่วนสูงเป็นเมตร)2

ค่าดัชนีมวลกายที่ได้นำมาเปรียบเทียบเพื่อหาสภววะความอ้วนและความเสี่ยงต่อการเป็นโรคได้จากตารางดังนี้ 

 

ดัชนีมวลกาย 

สภาวะความอ้วน 

ความเสี่ยงต่อการเป็นโรค

ต่ำกว่า 18.5

น้ำหนักน้อยหรือผอม

ปานกลาง – สูง

18.5 – 24.9

น้ำหนักพอเหมาะ

ปกติ – ต่ำ

25.0 – 29.9

น้ำหนักมากเกินไป

เพิ่มขึ้นจากปกติ

30.0 – 34.9

อ้วน

ปานกลาง

มากกว่า 35.0

อ้วนมาก

รุนแรง – รุนแรงมาก

 

จากนั้นให้นักเรียนคำนวณหาค่าดัชนีมวลกายของตัวเอง (เข้าใจ) แล้วเปรียบเทียบสภาวะความอ้วนและตรวจสอบความเสี่ยงต่อการเป็นโรค (ประเมินค่า) จากนั้นให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้นำไปหาค่าดัชนีมวลกายของคนในครอบครัวเปรียบเทียบหาสภาวะความอ้วนและตรวจสอบดูความเสี่ยงต่อการเป็นโรค (นำไปใช้) แล้วนำมาสรุปเป็นรายงานและหาแนวทางแก้ไขภาวะอ้วนโดยทำ Mind Mapping “เรื่องทำอย่างไรไม่ให้อ้วน” แล้วนำมานำเสนอหน้าชั้นต่อไป (สื่อสาร)

 

 

        

หมายเลขบันทึก: 461979เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2011 22:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เก่งมากครับ ขอปรบมือให้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท