๑๙๙.การถอดบทเรียนของอาจารย์มหาวิทยาลัยพะเยา เข้าสู่ดอกคำใต้โมเดล ๑


ที่สำคัญชุมชนยังได้ทำแผนที่ปราชญ์ ภูมิปัญญาของชุมชนไว้ โดยเด็ก ๆ เมื่อมีเวลาจะได้เข้าไปเรียนรู้ร่วมกับผู้ใหญ่ โดยมอบตัวเป็นศิษย์เพื่อสืบต่อภูมิปัญญานั้น ๆ

     ในการถอดบทเรียนครั้งนั้น (๔ กันยายน ๕๔) ทีมอาจารย์ของมหาวิทยาลัยพะเยา ได้แบ่งตำบลต่าง ๆ ออกเป็น ๓ ทีม โดยเลือกเอาพื้นที่ใกล้กันเป็นหลัก เรียกว่าโซนดอกคำใต้กลาง โซนดอกคำใต้ทักษิณ และโซนดอกคำใต้เหนือคือ

  • ดอกคำใต้กลาง ประกอบด้วย ๔ ตำบล คือ ตำบลบุญเกิด ตำบลดอกคำใต้ ตำบลดอนศรีชุมและตำบลสว่างอารมณ์

  • ดอกคำใต้ทักษิณ ประกอบด้วย ๔ ตำบล คือ ตำบลถ้ำ ตำบลบ้านปิน ตำบลหนองหล่ม และตำบลคือเวียง

  • ดอกคำใต้เหนือ ประกอบด้วย ๔ ตำบล คือ ตำบลดงสุวรรณ ตำบลสันโค้ง ตำบลป่าซาง และตำบลห้วยลาน ซึ่งจะทะยอยอธิบายรายละเอียดต่อไป...

.........................................................................

 

     ทีมที่หนึ่ง ดอกคำใต้กลาง ประกอบด้วยเทศบาลเมืองดอกคำใต้ ที่มีพื้นที่ครอบคลุมหลายตำบล  กล่าวโดยรวม ๆ แล้วมีทั้งหมด ๔ ตำบล ได้แก่ตำบลบุญเกิด และบางส่วนของตำบลดอกคำใต้ ตำบลดอนศรีชุม และตำบลสว่างอารมณ์

 

  •      ปัญหาที่ทีมนี้ได้พบในภาพรวมคือปัญหายาเสพติด

     และทางออกที่ทีมนี้ได้หาทางร่วมกันคือ

  • การตั้งกลุ่มเยาวชน

  • การทำแผนที่จุดเสี่ยง เช่น ทำแผนที่ร้านเหล้า , แผนที่ครอบครัวเสี่ยง ฯลฯ

  • คนที่เคยติดยา ให้เป็นวิทยากร เนื่องจากมีประสบการณ์ตรง

  • อบรมแกนนำเยาวชน แล้วส่งออกไปขยายผล

     เพื่อให้เห็นภาพชัด จึงขอยกตัวอย่าง ดังนี้

 

กรณีองค์การบริหารส่วนตำบลดอกคำใต้

     ได้ใช้ประเพณี "ตานตอด" เป็นเครื่องมือในการเกื้อกูลกัน การฟื้นฟูทุนทางสังคม ซึ่งเริ่มต้นด้วยกิจกรรมของเด็กเยาวชนได้ปั่นจักรยานออกไปขอรับทุน-สิ่งของ-เงิน ฯลฯ ในชุมชน ทำให้เห็นภาพของการร่วมแรงร่วมใจกันของคนในชุมชนและอาจถือว่านี้คือหัวใจของพิธีตานตอดก็ได้ นอกจากนั้นแล้วภาพที่แสดงออกคือความสัมพันธ์ของชุมชน เมื่อมีการทำกิจกรรมร่วมกัน ทั้งผู้ให้และผู้รับก็มีความสุข

 

     ดังนั้น จึง ผศ.มนตรา จึงมีคำถามสำคัญว่าจะทำอย่างไร? พิธีกรรมตานตอด จะเป็นที่พึ่งของคนได้อย่างยั่งยืน ไม่ได้เป็นแค่ให้และรับอย่างเดียว-จบ แต่ควรทำเหมือนให้ไก่ หรือให้โคกระบือ ที่ผู้รับสามารถนำไปเลี้ยงดูตนเองได้ สร้างอาชีพให้เกิดขึ้นได้ จากผลของพิธีกรรมตานตอด?

 

     นอกจากนี้แล้ว ยังพบว่าการเข้าไปรวมกลุ่มของเด็ก เยาวชนหลาย ๆ คน ทำให้สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการต้านยาเสพติดในชุมชนได้ด้วย

 

     ที่สำคัญชุมชนยังได้ทำแผนที่ปราชญ์ ภูมิปัญญาของชุมชนไว้ โดยเด็ก ๆ เมื่อมีเวลาจะได้เข้าไปเรียนรู้ร่วมกับผู้ใหญ่ โดยมอบตัวเป็นศิษย์เพื่อสืบต่อภูมิปัญญานั้น ๆ

     จากประเด็นที่ผ่านมา ทีมอาจารย์มหาวิทยาลัยพะเยา ได้ให้ข้อเสนอแนะว่า องค์การบริหารส่วนตำบลน่าจะทำแผนยุทธศาสตร์ โดยการนำคนในชุมชนเข้ามาร่วมในการสร้าง โดยอาจมองว่านี้คือการสร้างสวัสดิการให้กับสังคมชุมชนในอีกมิติหนึ่ง

กรณีองค์การบริหารส่วนตำบลดอนศรีชุม

     หากพิจารณาดี ๆ จะเห็นว่าในชุมชนมีกิจกรรมดี ๆ มากมาย เช่น หัตถศิลป์ มีการผลิตโคมล้านนา ตุงล้านนา มีการอบรมดนตรีพื้นเมืองให้กับเด็กและเยาวชน (สะล้อ ซอ ซึง) เป็นต้น

     ทำให้ภาพที่ออกมาผู้สูงอายุเกิดความภาคภูมิใจว่าตนเองยังมีค่า โดยมีความผูกพันธ์กับเด็ก เยาวชนในท้องถิ่น ซึ่งการทำกิจกรรมดี ๆ นี้เองหลายครั้งผู้สูงอายุได้แฝงคำสอนดี ๆ เอาไว้มากมายทั้งจากสัญลักษณ์และคำพูด เช่น การสำนึกรักบ้านเกิด เรื่องคุณธรรมจริยธรรม เรื่องโทษภัยของยาเสพติด เป็นต้น ซึ่งประเด็นนี้อาจารย์มนตราได้เสริมอีกว่า จะทำอย่างไรให้เป็นตำบลสุนทรียภาพ เป็นผู้สูงอายุยิ้ม-เด็กแย้ม เป็นต้น

 

    แม้ว่าดอกคำใต้โซนกลางนี้ จะมี ๔ ตำบล คือตำบลดอกคำใต้ ตำบลบุญเกิด ตำบลดอนศรีชุม และตำบลสว่างอารมณ์ แต่เนื่องจากบางส่วนของตำบลอยู่ในเขตเทศบาลเมืองดอกคำใต้ ซึ่งเป็นลักษณะของชุมชนเมืองไป แต่ที่คงเหลือเป็น อบต.ที่บริหารจัดการตนเองคือพื้นที่ที่เป็น อบต.ดอกคำใต้และ อบต.ดอนศรีชุมบางส่วนเท่านั้น

    อย่างไรก็ตามในการถอดบทเรียนครั้งนั้น คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยพะเยา ได้เสนอแผนยุทธศาสตร์เอาไว้ทิ้งท้าย ๓ ยุทธศาสตร์ คือ

     ๑.แผนยุทธศาสตร์ ด้านสวัสดิการสังคม

     ๒.แผนยุทธศาสตร์ ด้านสังคมผู้สูงอายุ

     ๓.แผนยุทธศาสตร์ ด้านสุนทรียภาพ

     นี้ เป็นแค่ ๔ ตำบลจาก ๑๒ ตำบลของดอกคำใต้ ที่มีรายละเอียดที่น่าสนใจมากกว่านี้ และจะได้นำเสนอในแต่ละโซน ๆ โอกาสต่อไป เพื่อจะได้เห็นภาพรวมของการถอดบทเรียนในวันนั้น

หมายเลขบันทึก: 461941เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2011 19:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 17:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท