ตัวแบบนโยบาย


ตัวแบบชนชั้นนำ (Elite Model)

ตัวแบบชนชั้นนำมีพื้นฐานความเชื่อที่ว่า นโยบายสาธารณะ คือ

ผลสะท้อนจากความต้องการของชนชั้นผู้นำที่เป็นผู้ปกครอง แทนที่จะเป็นผลสะท้อนจากความต้องการของประชาชน

นโยบายสาธารณะมิได้สะท้อนถึงความต้องการของมวลชน แต่เป็นผลจากค่านิยมของชนชั้นนำ โดยที่ข้าราชการ/เจ้าหน้าที่ของรัฐ จะเป็นผู้ดำเนินนโยบายสาธารณะ จึงมีลักษณะการพัฒนาจากบนลงล่าง คือ จากกลุ่มผู้นำไปสู่ประชาชนตลอดเเวลา

 แม้ว่านโยบายสาธารณะจะไม่ได้สะท้อนความต้องการที่แท้จริงของประชาชนมากเท่าความต้องการของชนชั้นนำ แต่ก็มิได้หมายความว่า นโยบายสาธารณะจะสวนทางกับค่านิยมของประชาชนทั้งหมด ค่านิยมของชนชั้นนำอาจจะสะท้อนความต้องการที่แท้จริงของประชาชน แต่กลุ่มผู้นำจะถือว่าความรับผิดชอบในความสุขของประชาชนนั้นอยู่ที่กลุ่มผู้นำ ไม่ได้อยู่ที่ประชาชน

                จุดเด่นของตัวแบบชนชั้นนำ คือ สะท้อนให้เห็นความเป็นจริงของสังคมในระบอบประชาธิปไตยที่เชื่อถือกันว่า เป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน

                ขณะเดียวกัน จุดด้อยของตัวแบบชนชั้นนำ คือ การละเลยความสำคัญของการมีส่วนร่วมในกระบวนการกำหนดนโยบายของข้าราชการและประชาชน

** นโยบายแบบตัวแบบชนชั้นนำ ได้แก่ นโยบายประชานิยม เช่น นโยบายเรียนฟรี 15 ปี นโยบาย

การเปิดเสรีทางการเงิน เป็นต้น

คำสำคัญ (Tags): #ตัวแบบนโยบาย
หมายเลขบันทึก: 460731เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2011 10:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท