ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง


การสุ่มตัวอย่าง คือ กระบวนการที่ทำให้ได้ตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของประชากร

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากร (population) หมายถึง สมาชิกทั้งหมดที่อยู่ในกรอบที่เกี่ยวข้องกับปัญหาวิจัย

ลักษณะประชากร มี 2 ลักษณะ คือ

  1. เอกพันธ์ (homogeneous) คือ ประชากรที่มีลักษณะเหมือนกัน
  2. วิวิธพันธ์ (heterogeneous) คือ ประชากรที่มีลักษณะแตกต่างกัน

กลุ่มตัวอย่าง (sample group) หมายถึง สมาชิกส่วนหนึ่งของประชากรที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา

การสุ่มตัวอย่าง (sampling) หมายถึง กระบวนการที่ทำให้ได้ตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของประชากร

หลักการสุ่มตัวอย่าง

  1. สมาชิกเป็นตัวแทนที่ดีของประชากร
  2. มีคุณลักษณะสำคัญเหมือนประชากร
  3. สมาชิกทุกหน่วยมีโอกาสได้เป็นกลุ่มตัวอย่างเท่ากัน
  4. กลุ่มตัวอย่างมีขนาดใหญ่เพียงพอ

เทคนิคการสุ่มตัวอย่าง

  1. สุ่มโดยอาศัยหลักความน่าจะเป็น คือ สมาชิกทุกหน่วยมีโอกาสเป็นกลุ่มตัวอย่างเท่ากัน ได้แก่
  • สุ่มอย่างง่าย (simple random sampling)

-      ประชากรเป็นเอกพันธ์

-      สมาชิกทุกหน่วยมีโอกาสเท่าเทียมกัน

-      ใช้การจับฉลาก

-      ใช้ตารางเลขสุ่ม (ซึ่งการใช้ตารางเลขสุ่มควรระบุว่าทำอย่างไร)

  • สุ่มเป็นระบบ (systematic sampling)

-      ประชากรเป็นเอกพันธ์

-      ประชากรเรียงในบัญชีตามธรรมชาติ/ระบบใดๆ

-      กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการ

-      หาระยะห่างโดยนำประชากรตั้งหารด้วยขนาดตัวอย่าง

-      กำหนดเลขที่เริ่มต้นของตัวอย่าง (จับฉลาก หรือใช้เลขสุ่ม)

-      กำหนดกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเป็น a, a+i , a+2i ,a+3i …..จนครบ

  • สุ่มแบบยกกลุ่ม (cluster sampling) ประชากรอยู่เป็นกลุ่มโดยธรมชาติในกลุ่มหนึ่ง ๆ มีความหลากหลายภายในกลุ่ม เช่น เพศ สติปัญญา แต่ระหว่างกลุ่มในประชากรมีความเหมือนๆ กัน
  • สุ่มแบบแบ่งชั้น (stratified sampling) การสุ่มตัวอย่างแบบนี้ต้องแยกประเภทของประชากรเป็นกลุ่มย่อยหรือชั้นก่อน แล้วจึงสุ่มตัวอย่างแยกกันคนและกลุ่มโดยวิธี Simple Random Sampling หรือ Systematic Sampling ก็ได้ กลุ่มย่อยที่มีลักษณะเป็น Homegeneous คือมีลักษณะเหมือนกันภายในกลุ่ม เช่น การแยกประเภทของประชากรตามสถานการณ์เป็นสมาชิกของกลุ่มเกษตรกร
  • สุ่มแบบหลายขั้น (multi sampling) ใช้ในกรณีที่ประชากรมีขนาดใหญ่มาก อยู่ในพื้นที่กว้าง และประชากรสามารถแบ่งระดับที่แตกต่างกันหลายระดับจำเป็น ต้องใช้วิธีสุ่มหลายวิธีประกอบกัน เช่น ใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งกลุ่มก่อน และในขั้นตอนเกือบสุดท้ายอาจใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น และขั้นสุดท้ายใช้วิธีสุ่มแบบง่าย เช่น ต้องการทำวิจัยปัญหาหนึ่ง โดยใช้ประชากรคนจังหวัดนครปฐมกำหนดกลุ่ม ตัวอย่าง 900 คน กำหนดวิธีสุ่มหลายขั้นตอนดังนี้  สุ่มอำเภอมา 4 อำเภอ จาก 7 อำเภอ ใน 4 อำเภอ สุ่มมาอำเภอละ 3 ตำบล แต่ละตำบลสุ่มมา  5 หมู่บ้าน แต่ละหมู่บ้านสุ่มครัวเรือนมา 15 ครัวเรือนแต่ละครัวเรือนสุ่มสมาชิกมา 1 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง 4 x 3 x 5 x 15 x 1  =  900  คน

 2.สุ่มโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น คือ สมาชิกมีคุณสมบัติที่จะเป็นผู้ให้ข้อมูลได้ตรงปัญหาวิจัย เป็นการสุ่มหน่วยตัวอย่างที่บางครั้งอาจไม่ทราบจำนวนประชากรที่แท้จริง ทำให้ไม่สามารถใช้การสุ่มแบบอาศัยความน่าจะป็นได้ และการสุ่มแต่ละครั้งนั้น ทุก ๆ หน่วยของประชากรมีโอกาสถูกสุ่มมาเป็นกลุ่มตัวอย่างไม่เท่าเทียมกัน การสุ่มแบบนี้มีหลายวิธี คือ

      การเลือกตัวอย่างแบบสะดวกสบาย (Convenience หรือ Accidental Sampling)เป็นการเลือกแบบไม่มีกฎเกณฑ์ อาศัยความสะดวกของผู้วิจัยเป็นหลัก กลุ่มตัวอย่างจะเป็นใครก็ได้ที่ให้ความร่วมมือกับผู้วิจัยในการให้ข้อมูลบางอย่าง เช่น

         - สอบถามความคิดเห็นในการให้บริการอาหารกลางวันของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ผู้วิจัยอาจจะไปยืนตรงประตูทางเข้าโรงอาหาร แล้วคอยสัมภาษณ์นักศึกษา 50 คนที่เดินเข้ามารับประทานอาหารในช่วงเช้าของวันหนึ่ง

         - ครูคนหนึ่งปรับปรุงแผนการสอนใหม่ และต้องการจะทดลองแผนการสอนใหม่ว่าจะให้ผลแตกต่างจากแผนการสอนเดิมหรือไม่ โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนที่เขาต้องรับผิดชอบสอน

       การเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive หรือ Judgmental Sampling) เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างที่จะเป็นใครก็ได้ที่มีลักษณะตามความต้องการของผู้วิจัย โดยอาจจะกำหนดเป็นคุณลักษณะเฉพาะเจาะจงลงไป เช่น

- เป็นเพศหญิงที่ทำงานในธนาคารอายุระหว่าง 30 ถึง 40 ปี

- เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนอยู่ในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา ที่ได้เกรดเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป และมีความสามารถพิเศษทางดนตรี

การเลือกตัวอย่างแบบโควต้า (Quota Sampling)

         - เป็นการเลือกตัวอย่างโดยกำหนดคุณลักษณะและสัดส่วนที่ต้องการไว้ล่วงหน้า คุณลักษณะเช่น เพศ อายุ เชื้อชาติ ระดับการศึกษา ฯลฯ

         - ต้องการกลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายและหญิงในสัดส่วนที่เท่ากัน

     การเลือกตัวอย่างแบบลูกโซ่ (Snowball Sampling)

          เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยอาศัยการแนะนำของหน่วยตัวอย่างที่ได้เก็บข้อมูลไปแล้ว วิธีนี้ ผู้วิจัยจะได้กลุ่มตัวอย่างมาจากการแนะนำต่อ ๆ กันของหน่วยตัวอย่าง หน่วยตัวอย่าง 1 คนอาจจะไม่ได้แนะนำแค่คนเดียว ดังนั้น ขนาดของกลุ่มตัวอย่างจะเพิ่มขึ้นทุกครั้งที่ได้ไปสัมภาษณ์เก็บข้อมูล เหมือนกับก้อนหิมะที่ยิ่งกลิ้งไปลูกหิมะก็จะยิ่งใหญ่ขึ้น ดังนั้นวิธีนี้ถึงได้ใช้คำว่า Snowball Sampling

 ปัจจัยในการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง

  1. ขนาดประชากร
  2. ความแปรปรวนของประชากร
  3. ระดับความเชื่อมั่น
  4. ขนาดความคลาดเคลื่อนที่ยอมได้

 

แหล่งอ้างอิง

    อรุณี  อ่อนสวัสดิ์. เอกสารประกอบการสอนรายวิชา ระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูง Advanced Research Methodology.

    http://www.moac.go.th/builder/qsilkkm/images/02Sampling.doc

    http://www.bkk.in.th/Topic.aspx?TopicID=3533

    http://www.watpon.com/Elearning/res22.htm

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 460726เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2011 09:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 22:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท