ผลการวิจัย


การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจชุมชน ,ความยั่งยืนของชุมชนแห่งการเรียนรู้

ผลการศึกษา

ตอนที่ 1     ผลการวิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ประกอบ และรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจชุมชนเพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนของชุมชนแห่งการเรียนรู้ จากเอกสาร ได้แก่

                   1.1   ผลการวิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ประกอบการเสริมสร้างความยั่งยืนของชุมชนแห่งการเรียนรู้ (เรียงลำดับความสำคัญจากผลการศึกษาวิจัย) มีดังนี้

1.      การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน โดยการเป็นสมาชิกและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมของกลุ่ม

2.      การนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาสู่การปฏิบัติในชุมชน

3.      ระบบคุณธรรม จริยธรรม ในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านขนบธรรมเนียมประเพณีของชุมชนตามเทศกาลต่างๆ และวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เกิดจากกระบวนการถ่ายทอดและกระบวนเรียนรู้ของชุมชน

4.      การพัฒนาระบบเศรษฐกิจมีลักษณะอาชีพ รายได้ของครัวเรือน เป็นการพึ่งตนเอง และจัดระบบตลาดในชุมชน เพื่อการแลกเปลี่ยนผลผลิตระหว่างชุมชนต่อชุมชน และระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค

5.      ระบบการเรียนรู้ โดยมีภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นแกนกลางผ่านการศึกษานอกระบบ

6.      การพัฒนาอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศ และ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อวิถีชีวิต ได้แก่ การอนุรักษ์ดิน แหล่งน้ำ ป่าไม้ ภูเขา การปลูกป่าทดแทน การกำจัดของเสีย และการไม่ใช้ยาฆ่าแมลง หรือสารพิษต่างๆ

7.      ระบบทุนของชุมชน ที่มีรูปแบบและวิธีการทางวัฒนธรรมเข้ามามีบทบาท ในด้านการระดมทุน การบริหารจัดการ ได้แก่ กลุ่มออมทรัพย์ กองทุนหมู่บ้าน นอกจากนี้ยังมีการทำบัญชีครัวเรือน  

8.      ความเสมอภาคความยุติธรรมในการจัดการของชุมชนแสองออกในรูปแบบของหลักประชาธิปไตย และระบบการไกล่เกลี่ยภายในชุมชนแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ

9.      การสร้างหลักประกันความมั่นคงในการดำรงชีวิตร่วมกันผ่านระบบการออม และการมีธนาคารชุมชน

                   1.2   ผลการวิเคราะห์และสังเคราะห์รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจชุมชนเพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนของชุมชนแห่งการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ

  1. การเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนในระดับบุคคล (Psychological empowerment) เป็นการแสดงออกระดับบุคคล หมายถึง การแสดงออกจากความเชื่อในศักยภาพตนเอง การยกย่องตนเอง การรับรู้สาเหตุและปัจจัยที่สำคัญโดยมีองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่

1.1             องค์ประกอบภายในบุคคล ได้แก่ ความต้องการที่จะควบคุมสมาชิกอื่นในชุมชน ความเชื่อในความสามารถของตนเอง  การยกย่องตนเอง และความเชื่อในศักยภาพของตนเอง

1.2             องค์ประกอบด้านปฏิสัมพันธ์  ได้แก่  การรับรู้ศักยภาพของคนในชุมชน  การรับรู้สาเหตุของปัญหาที่เกิดในชุมชน  การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของคนในชุมชน  การนำเอาความรู้ความสามารถของคนในชุมชนไปพัฒนาชุมชนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง  และการให้เกิดความเสมอภาคในการจัดสรรทรัพยากรของชุมชน

1.3             องค์ประกอบด้านพฤติกรรม  ได้แก่ การเข้าร่วมกิจกรรมของคนในชุมชน  การมีส่วนร่วมในองค์การ  และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเพื่อการคิดแก้ไขปัญหา          

                   2.      การเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนในระดับชุมชน (Community empowerment) การเสริมสร้างพลังอำนาจชุมชน หมายถึง ความเชื่อในความสามารถของตนเอง และสังคม การรับรู้ศักยภาพและความต้องการที่จะควบคุมของคนในองค์กรและในสังคม ที่จะจัดการให้เกิดความเสมอภาคการกระจายทรัพยากร แล้วส่งผลดีต่อสังคม โดยมีองค์ประกอบโครงสร้างทางสังคม ได้แก่ 1) การกำหนดบทบาทให้กับสมาชิกในชุมชน 2) การกำหนดหน้าที่ให้กับสมาชิกในชุมชน 3) การควบคุมอำนาจ 4) การสนับสนุนทางสังคม 5) การสนับสนุนทางการเมือง 6) การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร 7) วิถีการดำรงชีวิต ขนบธรรมเนียม ประเพณี 8) ระบบการให้รางวัล 9) การเข้าถึงทรัพยากรและ 10) การใช้ระบบพวกพ้องและเครือญาติ

ตอนที่ 2     การนำเสนอรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนเพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนของชุมชนแห่งการเรียนรู้

                การนำเสนอรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนเพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนของชุมชนแห่ง

การเรียนรู้ ของชุมชนเมือง พบว่า 

                การเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนในระดับบุคคล  เป็นการแสดงออกของบุคคล โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ              

  1. องค์ประกอบภายในบุคคล ได้แก่  1) ความต้องการที่จะควบคุมสมาชิกอื่นในชุมชน คือ ความ

เป็นผู้นำ พร้อมที่จะทำงานทุกอย่างเพื่อชุมชน ทุกคนในชุมชนยอมรับในตัวผู้นำ  2) ความเชื่อในความสามารถของตนเอง คือ ความเชื่อมั่นในตนเอง มีความสามารถ มีความน่าเชื่อถือ 3) การยกย่องตนเอง คือ เป็นคนดี  เสียสละ จริงจัง กล้าคิด กล้าพูด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ  มีความจริงใจ เอื้อเฟือ เผื่อแผ่ 4) ความเชื่อในศักยภาพของตนเอง คือ มีความยุติธรรม  มีความพร้อมที่จะทำงาน โปร่งใส เปิดเผย  รับผิดชอบ  ทำตัวเป็นกลาง อยากพัฒนาชุมชนให้โดดเด่น 

  1. องค์ประกอบด้านปฏิสัมพันธ์  ได้แก่ 1) การรับรู้ศักยภาพของคนในชุมชน คือ ความเสมอภาค

ในการแสดงความคิดเห็น การร่วมมือ ร่วมใจ และความสามัคคีของชาวบ้าน 2) การรับรู้สาเหตุของปัญหาที่เกิดในชุมชน คือ รับรู้ปัญหา ความต้องการ การขัดแย้งกับผู้บริหารในระดับใดก็ตามชาวบ้านจะเดือดร้อน  3) การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของคนในชุมชน คือ มีข้อตกลงร่วมกันและต้องยอมรับข้อบกพร่องของตนเอง 4) การนำเอาความรู้ ความสามารถของคนในชุมชนไปพัฒนาชุมชนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง คือ การศึกษาดูงานชุมชนที่ประสบผลสำเร็จ การอบรมแกนนำชุมชน การประชุมปรึกษาหารือ  5) การให้เกิดความเสมอภาคในการจัดสรรทรัพยากรของชุมชน คือ การทำแผนชุมชน  

  1. องค์ประกอบด้านพฤติกรรม ได้แก่  1) การเข้าร่วมกิจกรรมของคนในชุมชน คือ ร่วมมือกันแก้ไข 

ร่วมมือปฏิบัติกิจกรรม และบูรณาการร่วมกัน  2) การมีส่วนร่วมในองค์กร คือ การประชุม การทำงานเป็นทีม          3) การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเพื่อการคิดแก้ไขปัญหา  คือ การฝึกอบรม ร่วมทำประชาคมร่วมกันคิด

                การเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนในระดับชุมชน เป็นการแสดงออกในระดับชุมชน โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ โครงสร้างทางสังคม ได้แก่

  1. การกำหนดบทบาท ความรับผิดชอบของสมาชิกในชุมชน
  2. การกำหนดหน้าที่ให้กับสมาชิกในชุมชน 
  3. การยอมรับในผลของการตัดสิน  พลังที่จะต้องทำให้ได้
  4. การสนับสนุนทางสังคมผ่านภาคีเครือข่าย (สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย มหาวิทยาลัย  พัฒนาชุมชน  เทศบาล  ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มูลนิธิ)
  5. การสนับสนุนทางการเมือง(นโยบายรัฐบาล)
  6. การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ได้แก่ การจัดทำเวทีประชาคมหมู่บ้าน การประชุมแจ้งข่าวสารหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
  7. วิถีชีวิตของคนในชุมชน มีจริยธรรม มีการลงคะแนน รับฟังเสียงส่วนใหญ่
  8. การเข้าถึงทรัพยากร ได้แก่ งบประมาณ วิชาการ แหล่งทุน และ การตัดสินใจในการบริหารจัดการทรัพยากรของชุมชน
  9. การให้และการได้รับรางวัล
  10. การบริหารจัดการเป็นคุ้ม ส่วนใหญ่เป็นญาติกันสามารถรู้ปัญหา ดูแลง่าย และบริหารจัดการได้อย่างทั่วถึง

                จากการวิจัยภาคสนามในชุมชนเมือง ยังพบอีกว่า การพัฒนา/การเกิดเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้เริ่มจากการเสริมสร้างพลังอำนาจในระดับชุมชน กล่าวคือในชุมชนเมือง หากต้องการสร้างความยั่งยืนของชุมชนแห่งการเรียนรู้ต้องอาศัยโครงสร้างทางสังคม ที่เกิดจาการกำหนดบทบาท/หน้าที่ความรับผิดชอบของสมาชิกในชุมชน การสนับสนุนทางสังคมผ่านภาคีเครือข่าย การสนับสนุนทางการเมือง(นโยบายรัฐบาล) รวมถึงการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การเข้าถึงวิถีการดำรงชีวิต ขนบธรรมเนียม ประเพณี    และการบริหารจัดการทรัพยากรของชุมชน  ตลอดจนการใช้ระบบการให้รางวัล เพื่อทำให้เกิดแรงจูงใจ ที่จะกระตุ้นให้เกิดการแสองออกของบุคคลที่จะพัฒนา เรียนรู้  ฝึกทักษะ ของสมาชิกในชุมชนที่จะสร้างสรรค์ชุมชนให้เกิดความยั่งยืนของชุมชนแห่งการเรียนรู้ได้

การนำเสนอรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนเพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนของชุมชนแห่งการเรียนรู้ ของชุมชนชนบท พบว่า   

                 การเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนในระดับบุคคล  เป็นการแสดงออกของบุคคล โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ             

  1. องค์ประกอบภายในบุคคล ได้แก่ 1) ความต้องการที่จะควบคุมสมาชิกอื่นในชุมชน คือ ผู้นำต้องเป็นคนพื้นเพเดิม ความตั้งใจที่จะเข้ามาทำงานเพื่อชุมชน  2) ความเชื่อในความสามารถของตนเอง คือ การมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี พูดเก่ง 3) การยกย่องตนเอง คือ  เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม ความภาคภูมิใจในตัวเอง ขอทำงานเพื่อส่วนร่วม ไม่มีเรื่องส่วนตัว 4) ความเชื่อในศักยภาพของตนเอง คือ การเป็นผู้นำที่เสียสละ เฉลียวฉลาด ชอบเรียนรู้
  2. องค์ประกอบด้านปฏิสัมพันธ์  ได้แก่  1) การรับรู้ศักยภาพของคนในชุมชน คือ คนในชุมชนมีวินัยความร่วมมือ ร่วมใจ ของชุมชน ความเทิดทูลในองค์พระเจ้าอยู่หัว 2) การรับรู้สาเหตุของปัญหาที่เกิดในชุมชน คือ การรวมตัวกันเพื่อแก้ไขปัญหาความเป็นอยู่ ปัญหาความยากจน สิ่งเสพติดในชุมชน 3) การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของคนในชุมชน คือ เรียนรู้ร่วมกัน มีการประชุม การรับรู้ข่าวสาร เกิดการรวมกลุ่ม การนำวิถีชีวิตเป็นส่วนหนึ่งของอาชีพ การฝึกอบรม การวิเคราะห์ การทำแผนที่ความคิด การถอดบทเรียน 4)  การนำเอาความรู้ความสามารถของคนในชุมชนไปพัฒนาชุมชนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง คือ การเกษตรแบบผสมผสานตามแนวพระราชดำริ แนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เปลี่ยนวิถีปฏิบัติ การกระตุ้นตลอดเวลา 5) การให้เกิดความเสมอภาคในการจัดสรรทรัพยากรของชุมชน คือ การคิดถึงมรดกให้ลูกหลาน  ธรรมชาติ คือส่วนสำคัญของชีวิต 
  3. องค์ประกอบด้านพฤติกรรม  ได้แก่ 1) การเข้าร่วมกิจกรรมของคนในชุมชน คือ การเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน การทำกิจกรรมของชุมชน 2) การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเพื่อการคิดแก้ไขปัญหา คือ การเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชน เรียนรู้ร่วมกัน มีการประชุม การรับรู้ข่าวสาร รวมกลุ่มแก้ปัญหา การถอดบทเรียนในการคิดวิเคราะห์แก้ไขปัญหา

                   การเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนในระดับชุมชน เป็นการแสดงออกในระดับชุมชน โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ โครงสร้างทางสังคม ได้แก่

  1. การกำหนดบทบาทให้กับสมาชิกในชุมชน คือ มีหน้าที่ มีความร่วมมือ ร่วมใจ ร่วมแรง  การแสดงออกตามบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในชุมชน
  2. การกำหนดหน้าที่ให้กับสมาชิกในชุมชน 
  3. การควบคุมอำนาจ ได้แก่ ข้อกำหนด กฎเกณฑ์ของชุมชน มีกฎ กติกาของหมู่บ้าน เป็นการควบคุมภายในหมู่บ้านกันเอง
  4. การสนับสนุนทางสังคมจากหน่วยงานต่างๆในพื้นที่
  5. การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเรียนรู้ร่วมกัน มีสื่อสารสนเทศ  internet
  6. วิถีการดำรงชีวิต การสืบทอด ขนบธรรมเนียนประเพณี ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความสามัคคีในชุมชน ความเท่าเทียมกัน
  7. ระบบการให้รางวัล คือ สิ่งจูงใจสำหรับคนที่ร่วมทำ และให้สังคมตำหนิคนที่ไม่ร่วมทำ
  8. การเข้าถึงทรัพยากรและการสร้างทรัพยากรให้กับคนรุ่นหลัง

                   จากการวิจัยภาคสนามในชุมชนชนบท ยังพบอีกว่า การพัฒนา/การเกิดเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้เริ่มจากการเสริมสร้างพลังอำนาจในระดับบุคคล กล่าวคือในชุมชนชนบท หากต้องการสร้างความยั่งยืนของชุมชนแห่งการเรียนรู้ต้องอาศัย การเสริมสร้างพลังอำนาจในระดับบุคคล ในการรับรู้ศักยภาพของคนในชุมชน และการรับรู้สาเหตุของปัญหาที่เกิดในชุมชน  ก่อนแล้วใช้สมาชิกกลุ่มเป็นตัวขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยให้มีการเข้าร่วมกิจกรรมของคนในชุมชน  จะทำให้เกิดความเชื่อในศักยภาพตนเอง จนสามารถกำหนดบทบาท หน้าที่ ตลอดจนมีวิถีชีวิตที่สอดคล้องการการจัดสรรทรัพยากร จนสามารถสร้างความยั่งยืนของชุมชนแห่งการเรียนรู้ได้

 ตอนที่ 3    การตรวจสอบรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนเพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนของชุมชนแห่งการเรียนรู้

                   ผลการตรวจสอบรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนเพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนของชุมชนแห่งการเรียนรู้ พบว่า รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนเพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนของชุมชนแห่งการเรียนรู้ของสังคมไทย ที่มีลักษณะเป็นชุมชนเมืองและชุมชนชนบทมีองค์ประกอบของการเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนคล้ายคลึงกัน แต่แตกต่างกันในรายละเอียด ดังนี้

  1. รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนเพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนของชุมชนแห่งการเรียนรู้ของชุมชนเมือง 

                   การเสริมสร้างพลังอำนาจในระดับบุคคล ได้แก่ การแสดงออกของสมาชิกในชุมชนเมือง มีองค์ประกอบทางสังคมที่สมาชิกในชุมชนมีมากที่สุด คือ องค์ประกอบด้านพฤติกรรมในการเข้าร่วมกิจกรรมของคนในชุมชน และ องค์ประกอบภายในบุคคลในความเชื่อในศักยภาพตนเอง ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ส่วนองค์ประกอบด้านปฏิสัมพันธ์ ในการรับรู้สาเหตุของปัญหาที่เกิดในชุมชน มีค่าเฉลี่ยรองลงมา ซึ่งมีความแตกต่างเพียงเล็กน้อย 

   การเสริมสร้างพลังอำนาจในระดับชุมชน พบว่า องค์ประกอบด้านโครงสร้างทางสังคมที่สมาชิกในชุมชนมีมาก คือ การสนับสนุนทางสังคม และวิถีการดำรงชีวิต ขนบธรรมเนียม ประเพณี  รองลงมา คือ มีการกำหนดบทบาท หน้าที่ให้กับสมาชิกในชุมชน  และองค์ประกอบที่สมาชิกในชุมชนคิดว่ามีน้อย ได้แก่ การควบคุมอำนาจ รองลงมา คือ การสนับสนุนทางการเมือง  และระบบการให้รางวัล

                   2.      รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนเพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนของชุมชนแห่งการเรียนรู้ของชุมชนชนบท 

                   การเสริมสร้างพลังอำนาจในระดับบุคคล ได้แก่ การแสดงออกของสมาชิกในชุมชนชนบท มีองค์ประกอบด้านปฏิสัมพันธ์มากที่สุด คือ การรับรู้ศักยภาพของคนในชุมชน และการรับรู้สาเหตุของปัญหาที่เกิดในชุมชน  รองลงมาได้แก่ องค์ประกอบด้านพฤติกรรมในการเข้าร่วมกิจกรรมของคนในชุมชน  และองค์ประกอบภายในบุคคลในความเชื่อในศักยภาพตนเอง

                   การเสริมสร้างพลังอำนาจในระดับชุมชน  พบว่า องค์ประกอบด้านโครงสร้างทางสังคมที่สมาชิกในชุมชนมีมาก ได้แก่ วิถีการดำรงชีวิต ขนบธรรมเนียม ประเพณี  รองลงมาได้แก่ มีการกำหนดบทบาทให้กับสมาชิกในชุมชน และ มีการกำหนดหน้าที่ให้กับสมาชิกในชุมชน  และองค์ประกอบที่สมาชิกในชุมชนคิดว่ามีน้อย ได้แก่ การสนับสนุนทางการเมือง รองลงมา ได้แก่ ระบบการให้รางวัล

ตอนที่  4    ผลการวิเคราะห์ปัจจัย เงื่อนไข ปัญหาของการใช้รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนเพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนของชุมชนแห่งการเรียนรู้

การเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนเพื่อความยั่งยืนของชุมชนแห่งการเรียนรู้ในระดับบุคคล

                   1.      ปัจจัยของการใช้รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชน ได้แก่ การเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ความจริงใจ การมีความเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน การสร้างจิตสำนึก ความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม มีกฎ กติกาของหมู่บ้าน

                   2.      เงื่อนไขความสำเร็จของการใช้รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชน ได้แก่ ผู้นำชุมชน และการกำหนดบทบาท หน้าที่ การมอบอำนาจ ให้กับสมาชิกในกลุ่ม

                   3.      ปัญหาของการใช้รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชน ได้แก่ ความเห็นแก่ตัวของคนในชุมชน ขาดความรับผิดชอบ คนในชุมชนไม่มีความสามัคคีกัน ผู้นำชุมชนไม่เอาใจใส่ ไม่มีความยุติธรรม

                   การเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนเพื่อความยั่งยืนของชุมชนแห่งการเรียนรู้ในระดับชุมชน

                   1.      ปัจจัยของการใช้รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชน ได้แก่ ปัจจัยของการใช้รูปแบบการเสริม สร้างพลังอำนาจของชุมชนเพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนของชุมชนแห่งการเรียนรู้ ได้แก่ การเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ความจริงใจ การมีความเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน การสร้างจิตสำนึก ความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม มีกฎ กติกาของหมู่บ้าน

                   2.      เงื่อนไขความสำเร็จของการใช้รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชน ได้แก่ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงหลักการทำงานจะไม่พึ่งพิงหน่วยงานภายนอก มีความพร้อม และความตั้งใจที่จะพึ่งตนเองก่อน การสนับสนุนทางสังคมการเมืองที่มีผลต่อความเสมอภาคในชุมชน การมีส่วนร่วมในการสนับสนุนจะมีผลต่อจิตใจของชุมชน และการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต้องกระจาย ทั่วถึง ถูกต้องและชัดเจน

                   3.      ปัญหาของการใช้รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชน ได้แก่ เศรษฐกิจในครอบครัวตกต่ำ การดำเนินงานภาครัฐเป็นผู้กำหนดความต้องการให้ชุมชน งบประมาณไม่เพียงพอ และความขัดแย้งเชิงนโยบาย

หมายเลขบันทึก: 460595เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2011 15:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 19:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอบคุณครับดร.มิ่งขวัญ คงเจริญ

เป็นเข็มทิศชี้นำแนวทางที่ผมสามารถนำไปประยุกต์ใช้

จัดทำดุษฏีนิพนธ์ได้เป็นอย่างดีครับ

มีโอกาสคงจะได้ขอคำปรึกษาและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครับ

ขอบคุณครับ

ขอบคุณค่ะ และยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ หากมีโอกาสอยากสร้างงานวิจัยให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ทั้งนี้ต้องขอให้ท่านผู้มีประสบการณ์ช่วยด้วยนะค่ะ.....ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ ดร.มิ่งขวัญ คงเจริญ

ผมมาค้นงานวิจัยของอาจารย์ที่ห้องสมุดกลางจุฬาฯยังไม่มีงานของอาจารย์เลยครับ

ผมหาอ่านได้ที่ไหน

ช่วยMailกลับ [email protected] ด้วยครับ

ขอบคุณครับ

อาจารย์คงได้อ่านบทสรุปแล้วนะค่ะ ส่วนฉบับเต็มจะจัดส่งให้ค่ะ ยินดีค่ะ..

ขอบคุณค่ะ

ขอแสดงความยินดีด้วยครับ  สบายดีนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท