รายงานการพัฒนาทักษะชีวิตของโรงเรียนต้นแบบ


การพัฒนาทักษะชีวิต

สรุปการขับเคลื่อนการพัฒนา

ทักษะชีวิตสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

โรงเรียนวัดจันทร์ตะวันออก 

สพป.พิษณุโลก เขต 1

 

ข้อมูลพื้นฐาน

 

          โรงเรียนวัดจันทร์ตะวันออก  ตั้งอยู่  ถนนบรมไตรโลกนาถ2  ตำบลในเมือง  อำเภอเมืองจังหวัดพิษณุโลก   สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 1  เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ชานเมือง   เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น   มีข้าราชการครูจำนวน  36  คน จำนวนนักเรียน   600  คน  สภาพชุมชนและเศรษฐกิจชุมชน  ส่วนใหญ่เด็กที่มาเรียนที่โรงเรียนวัดจันทร์ตะวันออก จะเป็นเด็กที่ค่อนข้างมาจากครอบครัวที่มีปัญหา  เช่น  เร่ร่อน  ย้ายที่ทำมาหากินบ่อย    พ่อแม่หย่าร้าง    เสียชีวิตอาศัยอยู่กับญาติ  เช่น ปู่  ย่า  ตา  ยาย   เนื่องจากโรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนกึ่งเมือง  กึ่งชานเมือง  เด็กที่มีสภาพครอบครัวพร้อมเรียนดีก็จะเข้าไปเรียนในโรงเรียนที่มีชื่อเสียงที่อยู่ในเมืองกันหมด   เด็กที่มาเรียนที่นี้ถือว่าเป็นเด็กที่เหลือเลือกแล้วเป็นส่วนใหญ่  แต่ผู้บริหารประกอบด้วย  ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการทั้ง 2 ท่าน  รวมทั้งคณะครูทุกคนต่างทราบปัญหานี้ดีจึงดูแลนักเรียนเป็นอย่างดี  ให้ความรัก  ความเอาใจใส่  คอยอบรม  แนะนำ  ตักเตือน  สั่งสอนให้ทั้งความรู้   ความประพฤติและคุณธรรม  จนนักเรียนทุกคนจะอยู่ในโรงเรียนอย่างมีความสุข   ไม่ค่อยสร้างปัญหาอะไร  นอกจากนาน ๆ จะมีปัญหาบ้าง  คณะครูก็จะแก้ไขปัญหานี้ได้  ถึงแม้ว่าเมื่อพวกเขากลับไปถึงบ้าน ต้องกลับไปพบกับสภาพเดิม ๆ ที่บางครั้งก็เป็นสภาพที่บ่อนทำลายชีวิตจิตใจของเด็กนักเรียน  แต่เมื่อเขามาถึงโรงเรียน  เขาจะลืมทุกข์นั้นและมีความสุขกับการได้มาโรงเรียนเพราะในโรงเรียนจะมีห้องสมุด   ห้องคอมพิวเตอร์  ให้นักเรียนได้เข้ามาใช้ค้นคว้าหาความรู้ในเวลาพักกลางวัน และมีการจัดกิจกรรมที่เน้นทั้งวิชาการและเน้นวิชาชีพ  เช่น งานประดิษฐ์ลูกปัด   งานผ้าบาติก งานนวดแผนไทย   งานทำของชำร่วย  ฯลฯ

 การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา/และการพัฒนาผู้เรียน

1) สร้างความตระหนักให้ครูทุกคนเห็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเพื่อเปลี่ยนแปลงผู้เรียนให้มีสมรรถนะ  และคุณลักษณะอันพึงประสงค์  ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาสังคมในอนาคตให้หมดไป  เนื่องจากจะเป็นคนพันธ์ใหม่ที่มีคุณภาพ

2) สร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในหมู่คณะ  เพื่อให้ทุกคนช่วยกันคิด  ช่วยกันทำ  จะได้มีความรู้ ความเข้าใจเป็นไปในทางเดียวกัน  ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ  จะเป็นสาเหตุให้ทุกคนเหนื่อยและท้อแท้ต่อการทำงาน แต่ถ้าร่วมมือกันทำบรรยากาศจะมีความสุข สนุกสนาน

3) สร้างขวัญและกำลังใจให้กับครูทุกระยะ  คอยให้คำแนะนำช่วยเหลือแบบกัลยาณมิตรจะอยู่เคียงข้างครูตลอดเวลาในการจัดทำหลักสูตร  ทำให้ครูมีกำลังใจไม่ท้อถอย

4)  มีการประเมินการปฎิบัติงานด้วยระบบการนิเทศภายใน

  รูปแบบกระบวนการจัดการเรียนการสอน

1) สร้างความตระหนักให้ครูผู้สอนทุกคนเห็นความสำคัญของการพัฒนาผู้เรียน การนำหลักสูตรไปใช้ในการเรียนการสอนลงสู่ห้องเรียนด้วยการทำหน่วยการเรียนรู้   คำอธิบายรายวิชา  โครงสร้างรายวิชาการออกแบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน    การจัดทำแผนการเรียนรู้แบบ Backward  Design

2) ให้คณะครูผู้สอนทุกคนจัดทำแผนการเรียนรู้เพื่อใช้ ประกอบการเรียนการสอน โดยใช้เทคนิควีกับที่ทำให้ เด็กสนใจอยากเรียน  มีสื่ออุปกรณ์  ขั้นตอนการสอนที่ชัดเจน  มีการวัดผลประเมินผลโดยให้นำแผนการจัดการเรียนรู้ มาให้ตรวจล่วงหน้าก่อนทำการสอนทุกครั้ง

3)  ให้คำแนะนำปรึกษา  ตรวจสอบความถูกต้องของการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้  ให้ครูปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนการสอนให้น่าสนใจ เน้นการพัฒนาผู้เรียนตามจุดเน้น   เร้าความสนใจด้วยวิธีการที่หลากหลาย แปลกใหม่ไม่ซ้ำซาก ทำให้นักเรียนสนใจอยากที่จะเรียน

4 )  สนับสนุนด้านวัสดุ  อุปกรณ์สำหรับครูทุกคน  เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียนและใช้หลักสูตรต่อไปอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

 

ข้อมูลปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนการสอน

2.5.1  ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการใช้หลักสูตร

1) การได้รับการดูแลการนิเทศติดตามจากศึกษานิเทศก์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 1  อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เมื่อเวลาพบปัญหาอุปสรรค  จะได้รับการแนะนำช่วยเหลือทันที

2) การได้รับกำลังใจจากผู้บริหารโดยเฉพาะอย่างยิ่ง   รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการท่านจะอยู่ให้กำลังใจและลงมือร่วมคิด  ร่วมทำ  ร่วมตัดสินใจ แบบกัลยาณมิตรทำให้ครูมีความเสียสละอยู่ทำงานที่โรงเรียนจนมืดค่ำทุกวันทำให้หลักสูตรสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ

3) งบประมาณสนับสนุนด้านคอมพิวเตอร์  กระดาษ หมึกพิมพ์  มีให้คณะครูได้ใช้เวลาที่คุณครูจากการเรียนการสอนทุกครั้ง

3)บุคลากรทุกคนมีจิตสำนึกในความเป็นครู  มีความศรัทธาในวิชาชีพครู  จึงมีความเสียสละ  มีความอดทน พยายามช่วยกันทำงานด้านหลักสูตรจนสำเร็จและสามารถนำไปใช้ในการพัฒนานักเรียนได้

อุปสรรคที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอน

1)  คณะครูทุกคนมีชั่วโมงสอนมีนักเรียนในความรับผิดชอบครูต้องทำหน้าที่ดูแลเอาใจใส่นักเรียนเรื่องสุขภาพ  การแต่งกาย  การเรียน  ความปลอดภัย  ของนักเรียนตลอดเวลา   บางครั้งการ  ครูต้องทิ้งนักเรียนมาเพื่อเข้ารับการอบรม  ประชุม  สัมมนา ซึ่งต้องทิ้งเด็กเป็นบางระยะ  จึงอาจเกิดปัญหาอันตรายต่อเด็กได้โดยเฉพาะเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  ซึ่งกำลังอยู่ในวัยซน

2) ครูทุกคนมิใช้มีงานสอนเพียงอย่างเดียว  แต่ต้องรับผิดชอบงาน/กิจกรรม/โครงการต่าง ๆ ในโรงเรียนอีกมากมาย ทำให้คณะครูโรงเรียนวัดจันทร์ตะวันออกไม่มีวันหยุดเสาร์–อาทิตย์ ไม่มีวันปิดเทอม  ทำงานกว่าจะกลับบ้านบางครั้งก็มืดก็ดึก ครูบางคนที่มีลูกเล็กกำลังเรียนก็จะมีปัญหาเรื่องครอบครัวตามมา

 

ผลการเรียนรู้ของนักเรียน

1) พบว่านักเรียนเรียนรู้ด้วยความสุข  สนุกสนาน  ครูมีการเตรียมตัว  เตรียมการก่อนเตรียมสื่อ  วัสดุ  อุปกรณ์เครื่องมือวัดผลประเมินผลไว้ล่วงหน้า  ครูจึงมีความมั่นใจ  ถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียนได้อย่างดี   นักเรียนจะได้รับความรู้ความสามารถ  ประสบการณ์    ทักษะชีวิตกระบวนการเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้ครบถ้วน

2)  นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย  ทำให้ค้นพบคำตอบในการแก้ไขปัญหาจากการเรียนรู้  จากครู จากกลุ่มเพื่อน และชุมชน

3) นักเรียนมีกระบวนการเรียนรู้ที่เห็นเด่นชัดเหมาะสมกับสภาพวัยนักเรียน  บทเรียน

4)  ครูมีการปรับปรุงโดยการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพและวิธีการสอน  ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ผลการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต

1)  นักเรียนได้รับการดูแลจากครูเป็นอย่างดี  มีการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลทำให้ครูจัดการเรียนการสอนได้เหมาะสมตามกลุ่มสาระการเรียนรู้

2) นักเรียนได้รับความรู้ความสามารถเหมาะสมตามกลุ่มสาระการเรียนรู้

3)  นักเรียนได้รับการพัฒนาสมรรถนะให้เป็นไปตามที่หลักสูตรกำหนดไว้

4)  นักเรียนได้รับการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรกำหนดไว้

5) นักเรียนได้รับการปลูกฝังให้เป็นผู้มีจิตสาธารณะรู้จักบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม

แนวทางการขยายผลการพัฒนาสู่โรงเรียนทั่วไป

1) จัดประชุม  สัมมนาขยายเครือข่าย อำเภอละ 1 โรงเรียน  โดยเชิญ  ผู้บริหารโรงเรียน   รองผู้อำนวยการโรงเรียนฝ่ายวิชาการ  และคณะครูร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่องการพัฒนาทักษะชีวิตตามจุดเน้นคุณภาพผู้เรียน  ร่วมกับคณะทำงานจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 

2)  การนำผลงานจัดนิทรรศการ  นำเสนอตัวอย่างการจัดกิจกรรมแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้   การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้    ผลงานครู  ผลงานนักเรียน  ไปจัดนิทรรศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

3)  การเผยแพร่ผลงาน   คณะครูทุกคนในโรงเรียนวัดจันทร์ตะวันออกมีความรู้ความสามารถด้านการพัฒนาทักษะชีวิตตามจุดเน้นการพัฒนาผู้เรียนไปใช้สู่ห้องเรียน  จึงสามารถพูดคุยให้ครูที่ยังไม่มีความรู้ ได้รับความรู้ได้  และยังสามารถนำกระบวนการไปเผยแพร่สู่ครูทั่วไปและโรงเรียนทั่วไป

 

หมายเลขบันทึก: 460559เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2011 11:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท