ศิริลดา
นางสาว ศิริลดา ศิริลดา เจริญดี

การศึกษาภาษีขายและภาษีซื้อ


การศึกษาภาษีขายและภาษีซื้อ

 ภาษีซื้อและภาษีขาย

                  ภาษีซื้อ คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการได้จ่ายให้กับผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการที่เป็นผู้ประกอบการ
จดทะเบียน เมื่อซื้อสินค้าหรือชำระค่าบริการเพื่อใช้ในการประกอบกิจการของตนเองหากภาษีซื้อเกิดขึ้นในเดือนนั้น ไม่คำนึงว่าสินค้าที่ซื้อมานั้นจะขายหรือนำใช้ในการผลิตในเดือนใดก็ตาม

                  ภาษีขาย คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียน ได้เรียกเก็บหรืพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้า หรือ
ผู้รับบริการขายสินค้า หรือชำระค่าบริการ หากภาษีขายเกิดขึ้นในเดือนใดก็เป็นภาษีขายของเดือนนั้น ไม่คำนึงว่าสินค้า
ที่ขายหรือบริการที่ให้นั้นจะซื้อมา หรือเป็นผลมาจากการผลิตในเดือนใดก็ตาม

                  ภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค้าเพิ่ม (82/3) มีดังต่อไปนี้

                  1. ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ เช่า หรือรับโอนรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน
ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต และภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือรับบริการที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์
โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน

                  2. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีอย่างย่อตามมาตรา 86/6 และมาตรา 86/7

                  3. ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินทรัพย์เพื่อใช้หรือจะใช้ในกิจการประเทศที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

                  4. ภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์อื่นเพื่อใช้หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษี
มูลค่าเพิ่ม และต่อมาได้ขาย หรือให้เช่า หรือนำไปใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ เฉพาะที่ได้กระทำ ภายในสามปีนับแต่เดือนภาษีที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์

                  กรณีภาษีซื้อที่มิได้นำไปหักในการคำนวณภาษีในเดือนภาษี
                  ถ้ามีเหตุจำเป็นให้มีสิทธินำไปหักในการคำนวณภาษีในเดือนภาษีถัดไปตามมาตรา 82/3 ดังต่อไปนี้
                  1. เหตุจำเป็นซึ่งเกิดขึ้นตามประเพณีทางการค้า

                  2. เหตุสุดวิสัย

                  3. ได้รับใบกำกับภาษีในเดือนภาษีอื่นที่มิใช่เดือนภาษีที่ระบุไว้ในใบกำกับภาษี

                  4. ผู้ประกอบการมีสิทธินำภาษีซื้อดังกล่าวไปหักในการคำนวณภาษีในเดือนภาษี ที่มีการรับมอบเอกสารหลักฐาน
ใบกำกับภาษี

                  ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวามคำนวณมูลค่าของฐานภาษี ตามตรา 79(4) แห่ง ประมวลรัษฎากร

                  1. มูลค่าของสินค้าที่แถมพร้อมกับการขายสินค้า หรือการให้บริการไม่ว่าสินค้าที่แถมนั้นจะเป็นสินค้าประเภท และชนิดเดียวกับสินค้าที่ขายหรือบริการที่หระทำหรือไม่ แต่มูลค่าของสินค้าที่แถมจะต้องมูลค่าไม่เกินสินค้าที่ขายหรือ
มูลค่าของการให้บริการ

                  2. มูลค่าของสินค้าที่แจกหรือให้เป็นรางวัลกับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในแต่ละวัน โดยมีรวมกันตามที่ผู้ประกอบการ
จดทะเบียนกำหนด แต่มูลค่าของสินค้าที่แจกหรือให้รางวัลต้องมีมูลค่าไม่เกินมูลค่าของสินค้าที่ขายหรือมูลค่าของการให้บริการ

                  3. มูลค่าของการให้บริการเนื่องจากการเป็นนายหน้าตัวแทนให้แก่ผู้ประกอบการในต่างประเทศ ทั้งนี้ เฉพาะในกรณี ที่ผู้ประกอบการในต่างประเทศดังกล่าวขายสินค้าหรือให้บริการกับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในต่างประเทศด้วยกัน

                  4. มูลค่าของสินค้าที่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ขายให้แก่ผู้ซื้อสินค้าในราชอาณาจักรและผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้นำเข้า ได้ยื่นกระทำพิธีการนำเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร เมื่อนำสินค้านั้นออกจากเขตอุตสาหกรรมส่งอออกแล้ว

                  5. มูลค่าของสินค้าที่ผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ขายให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรม ส่งออกดังกล่าวได้ยื่นกระทำพิธีการนำเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรเมื่อนำสินค้านั้นออกจากเขตอุตสาหกรรมส่งออกแล้ว

                  6. มูลค่าของสินที่ที่แจกหรือให้ของขวัญ เนื่องในพิธีหรือตามที่โอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น เทศกาลปีใหม่
เทศกาลสงการณ์ การเปิดแนะนำสินค้าใหม่ ทั้งนี้ เฉพาะสินค้าที่เป็นปฎิทิน สมุดบันทึกประจำวัน (Diary) หรือสินค้าที่มีลักษณะ
ทำนองเดียวกัน ของขวัญหรืของชำร่วยที่มีชื่อผู้ประกอบการปรากฏอยู่โดยของขวัญหรือของชำร่วยดังกล่าว ต้องเป็นสิ่งของที่พึง
ให้แก่กันตามประเพณีทางธุรกิจทั่วไป และต้องมีราคาหรือมูลค่าไม่เกินสมควร

                  7. มูลค่าของสินค้าตัวอย่างที่แจก เนื่องจากการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย

                  8. มูลค่าของอาหารและเครื่องดื่มที่นายจ้างจัดหาให้พนักงานหรือลูกจ้างในระหว่างเวลาปฏิบัติงาน ตามระเบียนเกี่ยวกับ
สวัสดิการของพนักงานหรือลูกจ้าง โดยมูลค่าของอาหารและเครื่องดังกล่าวต้องมีราคาไม่เกินสมควร

                  9. มูลค่าของสินค้าที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามาตรา 82/16
ได้ขายให้แก่ผู้ซื้อ โดยสินค้าดังกล่าวผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายได้นำเข้าจากต่างประเทศ และโอนสินค้าให้ผู้สินค้าให้ผู้ซื้อ
ยื่นใบขนสินค้าขาเข้าต่อเจ้าพนักงานศุลกากร ณ ด่านศุลกากร เพื่อชำระภาษีมูลค่าเพิ่มต่อเจ้าพนักงานศุลกากร ทั้งนี้ ผู้ประกอบการ จดทะเบียนที่ขายสินค้าจะต้องมีสำเนาใบเสร็จรับเงินของกรมศุลกากรที่ออกให้ผู้ซื้อพร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้

                10. มูลค่าของเครื่องแบบที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นนายจ้างได้มอบให้แก่ลูกจ้างในจำนวนคนละไม่เกิน 2  ชุดต่อปี
และเสื้อนอกในจำนวนคนละไม่เกิน 1 ตัวต่อปี

                11. มูลค่าของค่าตอบแทนที่พึงได้รับจากการมอบสินค้าให้ผู้ซื้อสินค้าทดสอบใช้งานก่อนซื้อ โดยสินค้าดังกล่าว ไม่ใช่ ของสิ้นเปลืองและต้องเป็นสินค้าที่มีไว้สำหรับให้ทดลองงานก่อนชั่วคราว เพื่อทดลองคุณภาพหรือประสิทธิภาพของสินค้าเท่านั้น และผู้ซื้อสินค้าจะต้องส่งมอบสินค้าดังกล่าวคืนให้แก่ประกอบการจดทะเบียนผู้ขายสินค้าเมื่อทดลองใช้เสร็จ

                12. มูลค่าของสินค้าหรือบริการที่ประกอบการจดทะเบียนได้ขายหรือให้บริการแก่ผู้ซื้อหรือผู้รับบริการ ซึ่งเป็น

                      12.1 ผู้ทำสัญญาแบ่งปันผลผลิตกับองค์กรร่วมไทย-มาเลเซียตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย

                      12.2 ผู้ขายสินค้าหรือให้บริการซึ่งได้ทำสัญญาเป็นสัญญาเป็นหนังสือโดยตรงกับผู้ทำสัญญาแบ่งปันผลผลิตกับ
องค์กร ร่วมไทย-มาเลเซีย ตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย

                13 มูลค่าของสลากวินโต๊ดที่ผู้ประกอบการสนามแข่งม้าขายให้แก่ผู้เล่นพนันแข่งม้า เป็นจำนวนเท่ากับจำนวนเงินรางวัล
ที่จะต้องจ่ายคืนให้แก่พนันแข่งม้า

                14 มูลค่าของทองรูปพรรณที่ขายเป็นจำนวนเท่ากับราคาทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคำประกาศรับคืนในวันที่ขายทอง
รูปพรรณ  ทั้งนี้ เฉพาะผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการขายทองซึ่งมีใบอนุญาตค้าเก่าตามกฎหมายว่าด้วยการค้าของเก่า

                15 มูลค่าของน้ำมันดีเซลที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ผลิตและขายตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน พ.ศ.2544ถึงวันที่ 31 ธันวาคม
พ.ศ.2544 ให้แก่ผู้ค้าน้ำมันดีเซลดังกล่าวไปขายให้แก่สถานีบริการจำหน่ายน้ำมันกลางทะเลในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทย ซึ่งจะนำน้ำมันดีเซลนั้นไปขายให้แก่เรือจดทะเบียนสำหรับการประมงตามกฎหมายว่าด้วยเรือไทย

 

 ขอขอบคุณ www.ckec.ac.th/kroophorn/unit7/unitg-4.html

คำสำคัญ (Tags): #ความสำคัญ
หมายเลขบันทึก: 460264เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2011 14:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2012 06:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

น่ารักมากเพื่อนสาว ^^ Thx u na.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท