ความรู้เกี่ยวกับบัญชี


การจำแนกประเภทของต้นทุน

การจำแนกประเภทของต้นทุน

     ต้นทุน  สามารถนำไปใช้ได้หลายรูปแบบ หลายความหมาย แล้วแต่วัตถุประสงค์ของผู้ใช้ต้นทุนจะมีความหมายก็เฉพาะเมื่อต้นทุนนั้นสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์เฉพาะหนึ่งๆ ซึ่งต้นทุนได้เก็บสะสมไว้หรืออาจกล่าวได้ว่า มีต้นทุนต่างๆ กันสำหรับวัตถุประสงค์ต่างๆกัน ดังนั้นจึงจำแนกประเภทต้นทุนตามลักษณะและวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ได้ดังนี้ คือ

          1. จำแนกตามการเปลี่ยนแปลงในกิจกรรม เป็นการพิจารณาว่าต้นทุนจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงปริมาณการผลิต หรือจำนวนชั่วโมงที่ใช้ในการผลิต โยจำแนกเป็นต้นทุนผันแปร ต้นทุนคงที่ ต้นทุนกึ่งผันแปร

          2. จำแนกตามความรับผิดชอบหรือจำแนกตามแผนกผลิตและการดำเนินงาน การจำแนกต้นทุนประเภทนี้ พบโดยทั่วไปในโรงงานที่ผลิตสินค้าสำเร็จรูป ซึ่งจะช่วยให้ฝ่ายบริหารคำนวณต้นทุนของสินค้าสำเร็จรูป เพื่อนำไปใช้ในการวัดผลการดำเนินงาน ทั้งยังเป้นเครื่องมือที่ผู้บริหารจะควบคุมการปฏิบัติงานโดยพิจารณาจากต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่เกินขึ้นในแผนกด้วย ได้แก่ ต้นทุนแผนกผลิต ต้นทุนแผนกบริการ

           3. จำแนกตามส่วนประกอบของสินค้าสำเร็จรูป โดยจำแนกเป็น ต้นทุนวัตถูดิบ ต้นทุนค่าแรงงาน ค่าใช้จ่ายในการผลิต การจำแนกเช่นนี้ เป้นการให้รายละเอียดในการติราคาลินค้าคงเหลือ และคำนวณต้นทุนขายเพื่อวัดผลการดำเนินงาน

          4. จำแนกตามหน้าที่ในองค์กรธุรกิจ การจัดสายงานขององค์กรธุรกิจมักจะมีการแบ่งแยกหน้าที่ในการบริหารเป็น ฝ่ายการผลิต ฝ่ายการตลาด ฝ่ายบริหาร และฝ่ายการเงิน จึงมีการรวบรวมและสะสมต้นทุนตามหน้าที่ดังนี้คือ ต้นทุนฝ่ายผลิต หรืต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายในการขาย ซึ่งเป็นต้นทุนฝ่ายการตลาด ค่าใช้จ่ายในการบริหารและต้นทุนทางการเงิน

          5. จำแนกตามการตัดสินใจ และลักษณะทางเศรษฐกิจ ในการตัดสินใจในปัญหาต่างๆ ในทางธุรกิจ ฝ่ายบริหารย่อมต้องการหาทางเลือกที่ดีที่สุด ซึ่งเป็นหน้าที่ของฝ่ายต้นทุนที่ต้องรวบรวมข้อมูลต้นทุน เพื่อเสนอต่อผู้บริหารเพื่อนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจ

          6. การจำแนกตามงวดเวลาหรืองวดบัญชี ในการคำนวณหาผลการดำเนินงานในแต่ละงวดบัญชีจะต้องเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายกับค่าขายที่ที่เกิดขึ้นในงวดเดียวกัน ค่าใช้จ่ายจะเป็นต้นทุนที่ถูกใช้ประโยชน์ไปแล้ว และคิดเป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีปัจจุบันต้นทุนส่วนที่ยังใช้ไม่หมด ก็จะ๔อเป็นต้นทุนของสินทรัพย์ยกไปงวดหน้า

          7. จำแนกตามความประสงค์ในการวางแผนและควบคุม ในการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ ผู้บริหารจำเป็นต้องมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า จึงต้องมีการกำหนดต้นทุนโดยประมาณหรือต้นทุนมาตรฐานขึ้นมาเป็นเครื่องมือในการบริหารต้นทุน

 

คำสำคัญ (Tags): #บัญชีต้นทุน
หมายเลขบันทึก: 460259เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2011 14:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 23:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอบคุณคร๊ ^^

สำหรับความรู้ดีๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท