การบัญชีภาษีอากร


ภาษีอากร

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษีอากร

ความหมายของภาษีอากร

ภาษีอากร กลุ่มนักวิชาการด้านภาษีอากรได้แบ่งความหมายไว้เป็น 2 แนวทางดังนี้
แนวทางที่หนึ่ง ภาษีอากร คือ สิ่งที่รัฐบาลบังคับเก็บจากราษฎร และนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวม โดยมิได้มีสิ่งตอบแทนโดยตรงแก่ผู้เสียอากร
แนวทางที่สอง ภาษีอากร คือ เงินได้หรือทรัพยากรที่เคลื่อนย้ายจากภาค             เอกชนไปสู่ภาครัฐบาล แต่ไม่รวมถึงการกู้ยืมหรือขายสินค้าหรือให้บริการในราคาทุนโดยรัฐบาล

ความหมายของการบัญชี

การบัญชี คือ  การจัดการข้อมูลทางการเงิน ซึ่งได้แก่ การเก็บรวบรวมบันทึก จำแนก และสรุปผล เพื่อจัดทำรายงานทางการเงิน
 

ความหมายของการบัญชีการเงินและการบัญชี                    ภาษีอากร

การบัญชีการเงิน คือ การจัดทำบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีเพื่อจัดทำงบการเงินเสนอต่อเจ้าของกิจการหรือบุคคลภายนอก
การบัญชีภาษีอากร (Tax Accounting) เป็นการนำหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือมาตรฐานการบัญชีมาปรับให้สอดคล้องกับประมวลรัษฎากรและกฎหมายภาษีอากรต่างๆ

สาระสำคัญของพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543

1.  กำหนดผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ได้แก่
-  ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
-  บริษัทจำกัด
-  บริษัทมหาชนจำกัด
-  นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
-  กิจกรรมร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร

สำหรับบุคคลธรรมดาและห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียน ไม่ต้องจัดทำบัญชี เว้นแต่รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจะออกประกาศให้เป็นผู้ที่มีหน้าที่จัดทำบัญชี

2.  กำหนดความรับผิดชอบในการจัดทำบัญชี
2.1  ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
1)  ต้องจัดให้มีการทำบัญชีให้ถูกต้องตามรายละเอียด หลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่กฎหมายกำหนดนับแต่วันเริ่มทำบัญชี

2)  ต้องส่งมอบเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้แก่ผู้ทำบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วน

3)  ต้องปิดบัญชีและจัดทำงบการเงินโดยมีรายการย่อตามที่อธิบดีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี พร้อมทั้งยื่นงบการเงินต่อสำนักงานกลางบัญชีหรือสำนักงานบัญชีประจำท้องที่
4)  ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดย           ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
5)  ต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่ทำการหรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำการผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจำ
6)  ต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชีซึ่งเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกำหนด
7)  มีหน้าที่ควบคุมดูแลผู้ทำบัญชีให้จัดทำบัญชีให้ตรงต่อความเป็นจริง และถูกต้องตามกฎหมาย
2.2  ผู้ทำบัญชี

1)  ต้องจัดทำบัญชีเพื่อให้มีการแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี โดยมีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วน

2)  ต้องลงรายการเป็นภาษาไทย หากลงรายการเป็นภาษาต่างประเทศ ให้มีภาษาไทยกำกับ หากลงรายการเป็นรหัสบัญชี ให้มีคู่มือ คำแปลรหัสเป็นภาษาไทยไว้

3.  กำหนดอำนาจในการตรวจสอบบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี

4.  บทกำหนดโทษ
4.1  ความผิดที่มีระวางโทษปรับ
4.2  ความผิดที่มีระวางโทษปรับและจำคุก
กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำบัญชี
1.  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
2.  พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด
3.  พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4.  ประมวลรัษฎากร

การจัดทำบัญชีตามประมวลรัษฎากร
1.  การจัดทำบัญชีของผู้มีหน้าที่เสียภาษี

1.1  การจัดทำบัญชีตามมาตรา 17 วรรคสอง
-  ให้อธิบดีโดยอนุมัติรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งบุคคลทั่วไปให้มีบัญชีพิเศษ และให้กรอกข้อความที่ต้องการลงในบัญชีนั้น คำสั่งเช่นว่านี้ให้ประกาศในราชกิจจา-             นุเบกษา
-  ให้อธิบดีมีอำนาจกำหนดให้ผู้ยื่นรายการหรือผู้เสียภาษีอากรทำบัญชีงบดุลหรือบัญชีอื่นๆ แสดงรายการหรือแจ้งข้อความใดๆ และยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมิน พร้อมกับการยื่นรายการตามแบบแสดงรายการที่อธิบดีกำหนด
อธิบดีกรมสรรพากรได้ออกประกาศหลายฉบับ โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 วรรคสอง ให้ผู้เสียภาษีจัดทำบัญชีและบัญชีพิเศษดังนี้
1)  ผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ให้จัดทำบัญชีแสดงรายได้หรือรายรับเป็นประจำวัน
2)  ผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่มีธุรกรรมตามประกาศอธิบดีฯ ให้จัดทำบัญชีพิเศษตามแบบที่กำหนด
1.2  การจัดทำรายงานภาษีมูลค่าเพิ่มและรายงานภาษีธุรกิจเฉพาะ
1)  ให้ผู้ประกอบกิจการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจัดทำรายงานเกี่ยวกับการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มดังต่อไปนี้ โดยให้จัดทำเป็นรายสถานประกอบการ (มาตรา 87)
(1)  รายงานภาษีขาย
(2)  รายงานภาษีซื้อ
(3)  รายงานสินค้าและวัตถุดิบ (กรณีที่ผลิตและ/หรือขายสินค้า)
2)  ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะจัดทำรายงานแสดงรายรับก่อนหักรายจ่ายที่ต้องเสียภาษีและรายรับที่ไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีตามที่อธิบดีกำหนด และให้จัดทำโดยแยกตามรายสถานประกอบการ (มาตรา 91/14)
2.  การจัดทำงบการเงิน
3.  การตรวจสอบและรับรองบัญชี

 

             

หลักเกณฑ์การบัญชีเพื่อคำนวณกำไรสุทธิ

1.  คำนิยามขององค์ประกอบของงบการเงิน
1.1  สินทรัพย์ หมายถึง ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของกิจการ ทรัพยากรดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีตซึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากทรัพยากรนั้นในอนาคต
1.2  หนี้สิน หมายถึง ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการ ภาระผูกพันดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งการชำระภาระผูกพันนั้นคาดว่าจะส่งผลให้กิจการสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ
1.3  ส่วนของเจ้าของ หมายถึง ส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์ของกิจการหลังจากหักหนี้สินทั้งสิ้นออกแล้ว
1.4  รายได้ หมายถึง การเพิ่มขึ้นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชีในรูปกระแสเข้าหรือการเพิ่มค่าของสินทรัพย์ หรือการลดลงของหนี้สิน อันส่งผลให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ไม่รวมถึงเงินทุนที่ได้รับจากเจ้าของ
1.5  ค่าใช้จ่าย หมายถึง การลดของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชีในรูปของกระแสออก หรือการลดลงของสินทรัพย์ หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สิน อันส่งผลให้ส่วนของเจ้าของลดลง ทั้งนี้ไม่รวมถึงการแบ่งปันส่วนทุนให้กับผู้มีส่วนร่วมในส่วนของเจ้าของ
2.  การรับรู้รายการ
2.1  การรับรู้รายได้ ให้รับรู้ในงบกำไรขาดทุน เมื่อเข้าเงื่อนไขทั้ง 2 ประการ ดังนี้
1)  เมื่อประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์ หรือส่วนที่ลดลงของหนี้สิน
2)  เมื่อกิจการสามารถวัดค่าของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างน่าเชื่อถือ
2.2  การรับรู้ค่าใช้จ่าย ให้รับรู้ในงบกำไรขาดทุน เมื่อเข้าเงื่อนไขทั้ง                    2 ประการคือ
1)  เมื่อประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตลดลง เนื่องจากการลดลงของสินทรัพย์ หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สิน
2)  เมื่อกิจการสามารถวัดค่าของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างน่าเชื่อถือ
3.  ข้อสมมติในการจัดทำงบการเงิน
3.1  เกณฑ์คงค้าง
3.2  หลักการดำเนินงานต่อเนื่อง

 

    

เงินได้พึงประเมินเพื่อคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน ค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี (ก้าวหน้า)


การคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
1.  เกณฑ์ที่ใช้ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
2.  การผ่อนปรนการใช้เกณฑ์สิทธิ
3.  เงื่อนไขเกี่ยวกับรายได้และค่าใช้จ่าย

 

               

ภาระหน้าที่ของผู้มีหน้าที่เสียภาษี

1.  ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
1.1  ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี
1.2  ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี
2.  ภาษีเงินได้นิติบุคคล
2.1  ภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี
2.2  ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี
3.  ภาษีมูลค่าเพิ่ม
3.1  ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าและ/หรือให้บริการในราชอาณาจักร
3.2  ผู้ประกอบการที่จ่ายค่าบริการที่ทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
4.  ภาษีธุรกิจเฉพาะ

ความรับผิดชอบของผู้มีหน้าที่เสียภาษี

1.  ความรับผิดทางอาญา
2.     ความรับผิดทางแพ่ง

 

 

การขอคืนภาษี

1.  ให้ผู้ที่ชำระภาษีไว้เกินขอคืนภาษีได้ภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายของกำหนดเวลายื่นรายการภาษีหรือนับแต่วันที่ยื่นรายการ (กรณียื่นเกินกว่ากำหนดเวลา) หรือนับแต่วันได้รับแจ้งค่าวินิจฉัยอุทธรณ์ หรือวันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด แล้วแต่กรณี โดยยื่นคำร้อง (แบบ ค. 10) ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่เขต การขอคืนภาษีในต่างจังหวัดให้ยื่นต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ณ ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ โดยให้แนบเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน ซึ่งจะได้รับคืนเป็นเช็คสั่งจ่ายผู้ขอคืนภาษี
ผู้มีอำนาจสั่งคืนภาษีจะพิจารณาคืนให้ภายใน 60 วัน นับแต่วันได้คำร้อง โดยแจ้งเป็นหนังสือ (แบบ ค. 20) ไปยังผู้ขอคืนเพื่อแจ้งการโอนเงินค่าภาษีที่ขอคืน หรือแจ้งให้ไปรับคืนค่าภาษีได้ และกรอกข้อความและลงนามในช่องขอคืนเงินภาษีพร้อมทั้งแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน
2.  ผู้ที่ชำระภาษีหรือถูกหักภาษีไว้เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องเสีย จะขอคืนภาษีโดยไม่ยื่นคำร้อง (แบบ ค. 10) ก็ได้ ซึ่งต้องรอให้ถึงระยะเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปี และกรอกข้อความลงนามในช่องขอคืนเงินภาษีพร้อมทั้งแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน

 

       

อำนาจการประเมินภาษี

สรุปอำนาจของเจ้าพนักงานประเมินภาษีในการประเมินภาษีอากร
1.  ในกรณีที่จำเป็นเพื่อรักษาประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจที่จะประเมินเรียกเก็บภาษีก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการได้ตามมาตรา 18 ทวิ
2.  ประเมินภาษีตามรายการที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้ยื่นแบบแสดงรายการไว้ ถ้าประเมินแล้วมีภาษีอากรที่ต้องเรียกเก็บเพิ่ม เจ้าพนักงานประเมินต้องแจ้งจำนวนภาษีอากรไปยังผู้เสียภาษีตามมาตรา 18 และมาตรา 88/5
3.  ประเมินภาษีตามรายการที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้ยื่นรายการไม่ครบถ้วน หรือไม่ยื่นรายการมาไต่สวนหรือออกหมายเรียกพยานคำสั่งให้นำบัญชีหรือพยานหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดงได้ ทั้งนี้การออกหมายเรียกดังกล่าวต้องกระทำภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 18 มาตรา 23 มาตรา 27 จัตวา มาตรา 88 และมาตรา 88/6
4.  เข้าไปในสถานประกอบการหรือสถานที่อื่นที่เกี่ยวข้องระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกหรือระหว่างเวลาทำการของผู้ประกอบการ และทำการตรวจสอบเพื่อให้ทราบว่าได้มีการปฏิบัติตามประมวลรัษฎากรหรือไม่โดยให้เจ้าพนักงานแสดงบัตรประจำตัวของผู้ที่เกี่ยวข้องเมื่อเข้าไปทำการตรวจสอบตามมาตรา 88/3
5.  อำนาจการประเมินเงินได้ เจ้าพนักงานประเมินภาษีมีอำนาจในการประเมินภาษีตามประมวลรัษฎากร
6.  อำนาจในการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 88 และมาตรา 91/21(5)


 

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย นั้น กฎหมายกำหนดให้ผู้จ่ายเงิน (ในกรณีที่กำหนดไว้) ทำหน้าที่หักเงินจากยอดที่ตนต้องจ่ายให้แก่ผู้รับเงิน แล้วนำเงินนั้นส่งแก่รัฐบาล เงินที่ได้หักและนำส่งดังกล่าวถือเป็นเครดิตในการเสียภาษีเงินได้ของผู้รับเงินเมื่อถึงกำหนดเวลายื่นรายการเสียภาษี ถ้ากรณีใดไม่มีกฎหมายกำหนดให้หักภาษี ผู้จ่ายเงินได้ก็ไม่ต้องหักภาษีไว้

ประเภทของเงินได้ที่ต้องหัก ภาษี ณ ที่จ่ายไว้นั้น มีรายละเอียดค่อนข้างมาก แต่หากอธิบายโดยมองในแง่ของผู้จ่ายเงิน ซึ่งมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว แบบแสดงรายการเพื่อนำส่งภาษี หัก ณ ที่จ่าย ดังกล่าว หลักๆแล้วมีอยู่เพียง ๓ แบบ ได้แก่ แบบ ภ.ง.ด.๑, ๓ และ ๕๓

แบบ ภ.ง.ด. ๑ ใช้สำหรับหัก ภาษี ณ ที่จ่าย ประเภท เงินเดือน จากพนักงานของกิจการ การจัดทำตัวเลขในการจ่ายเงินเดือนแก่พนักงานในทุกๆเดือนนั้น ก็ต้องคำนวณยอดเงินไว้ โดยปกติ เงินเดือนพนักงานจะถูกหักด้วย “ภาษี” และ “เงินประกันสังคม” บางบริษัทอาจมียอด “เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” หากบริษัทมีสวัสดิการด้านนี้ให้แก่พนักงานเป็นการเพิ่มเติม (ซึ่งจะไม่กล่าวถึงในที่นี้)

จำนวนเงิน “ภาษี” ที่ว่านี้ จะถูกรวบรวมจากพนักงานแต่ละคน มากบ้าง น้อยบ้าง และนำส่งกรมสรรพากร ภายในวันที่ ๗ ของเดือนถัดไป โดยใช้แบบ ภ.ง.ด. ๑ ซึ่งประกอบด้วย ใบนำส่งที่สรุปยอดเงินภาษีทั้งสิ้นที่ต้องนำส่ง พร้อมแนบด้วยรายละเอียดของเงินเดือน และภาษีที่หักไว้ สำหรับพนักงานแต่ละคน

แบบ ภ.ง.ด.๑ พร้อมใบแนบนี้ จึงเป็นเอกสารที่ต้องจัดเตรียม และเก็บรักษาโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล หรือ ฝ่ายบัญชี โดยต้องถือปฏิบัติเป็น “ความลับ” เพราะมีข้อมูลอันเกี่ยวกับ “บุคคล” อยู่ด้วย ที่เรียกว่าข้อมูลที่มีลักษณะ “Private & Confidential”

เดบิต เงินเดือน 500,000 บาท  
  ค่าล่วงเวลา 12,000 บาท  
  เงินประกันสังคม (ค่าใช้จ่าย) 15,000 บาท (๓)  
  เดรดิต เงินฝากธนาคาร   487,000 บาท
  ภาษี หัก ณ ที่จ่ายค้างจ่าย (ภ.ง.ด.๑)   10,000 บาท (๑)
  เงินประกันสังคมค้างจ่าย   30,000 บาท(๒)

(๑) ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10,000 บาท ที่ว่านี้ คำนวณจากพนักงานแต่ละคนรวมกันทั้งบริษัท

(๒) ส่วนเงินประกันสังคม คำนวณจากฐานของเงินเดือน (ไม่รวมค่าล่วงเวลา) ในอัตราร้อยละ ๕ จากเงินเดือนที่จ่ายจริง หรือไม่เกินฐานของ 15,000 บาท เช่น หากเงินเดือน 25,000 บาท ก็จะคำนวณร้อยละ ๕ จากยอด 15,000 บาท

ในตัวอย่างนี้ เงินประกันสังคมที่หักจากพนักงานทุกคน รวมต้องนำส่ง 15,000 บาท หากแต่ตามกฎหมายประกันสังคม กำหนดให้บริษัทต้องสมทบในจำนวนเท่ากัน คืออีก 15,000 บาท รวมต้องนำส่ง 30,000 บาท

(๓) ขั้นตอนการบันทึกบัญชีต้องบันทึก “เงินประกันสังคม” (ส่วนที่บริษัทสมทบ) เป็นค่าใช้จ่ายไว้ 15,000 บาท

เมื่อชำระภาษี หัก ณ ที่จ่าย (ภายในวันที่ ๗ ของเดือนถัดไป)

เดบิต ภาษี หัก ณ ที่จ่ายค้างจ่าย (ภ.ง.ด.๑) 10,000 บาท  
  เครดิต เงินสด/เงินฝากธนาคาร   10,000 บาท


เมื่อชำระเงินประกันสังคม (ภายใน ๑๕ วัน แต่ขยายเป็นภายในเดือนถัดไป)

เดบิต เงินประกันสังคมค้างจ่าย 30,000 บาท  
  เครดิต เงินสด/เงินฝากธนาคาร   30,000 บาท

แบบ ภ.ง.ด. ๓ และ ๕๓ นั้น ใช้สำหรับนำส่งภาษี หัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้ประเภทต่างๆ ในลักษณะเดียวกัน ต่างกันที่ ผู้ถูกหัก ภาษี ณ ที่จ่าย หากเป็นบุคคลธรรมดา บริษัทจะหักภาษีโดยนำส่งด้วยแบบ ภ.ง.ด. ๓ ในขณะที่ หากผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นนิติบุคคล (เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด กิจการร่วมค้า เป็นต้น) บริษัทจะหักภาษีโดยนำส่งด้วยแบบ ภ.ง.ด. ๕๓

ในแบบแสดงรายการก็มีลักษณะเดียวกับแบบ ภ.ง.ด. ๑ กล่าวคือ จะมีใบสรุปยอด และใบแนบซึ่งกรอกรายการของผู้ที่ถูกหัก ภาษี ณ ที่จ่ายไว้เป็นรายบุคคล หรือ รายนิติบุคคล โดยแบบ ภ.ง.ด. ๓ และ ๕๓ มีกำหนดนำส่งภายในวันที่ ๗ ของเดือนถัดไป เช่นเดียวกัน

การบันทึกรายการบัญชี
เมื่อจ่ายเงินค่าบริการ (ประเภทที่ต้องหัก ภาษี ณ ที่จ่ายไว้)

เดบิต ค่าบริการ 20,000 บาท  
  เครดิต ภาษี หัก ณ ที่จ่ายค้างจ่าย (ภ.ง.ด.๓ หรือ ๕๓)   600 บาท (๔)
           เงินสด/เงินฝากธนาคาร   19,400 บาท

เมื่อชำระภาษี หัก ณ ที่จ่าย (ภายในวันที่ ๗ ของเดือนถัดไป)
เดบิต

เดบิต ภาษี หัก ณ ที่จ่ายค้างจ่าย (ภ.ง.ด.๓ หรือ ๕๓) 600 บาท  
  เครดิต เงินสด/เงินฝากธนาคาร   600 บาท


(๔) กรณีตามตัวอย่าง เป็นค่าบริการที่กำหนดให้หัก ภาษี ณ ที่จ่ายไว้ ร้อยละ ๓ (คือ 20,000 บาท คูณร้อยละ ๓ เท่ากับ 600 บาท)

ในทางปฏิบัติ จะซับซ้อนขึ้นอีกเล็กน้อย เนื่องจาก “ค่าบริการ” โดยทั่วไปกำหนดให้ต้องคำนวณ “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” บวกเข้าไปในค่าบริการด้วย ทำให้มักเกิดปัญหา “คำนวณเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายไว้ไม่ถูกต้อง” ให้เห็นอยู่เสมอ

ตามตัวอย่างเดิม หากบริษัทจ่าย “ค่าบริการ” ที่รวม “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” ร้อยละ ๗ จะคำนวณ และบันทึกบัญชีดังต่อไปนี้

เมื่อจ่ายเงินค่าบริการ (ประเภทที่ต้องหัก ภาษี ณ ที่จ่ายไว้)

เดบิต ค่าบริการ 20,000 บาท  
  ภาษีซื้อ 1,400 บาท  
  เครดิต ภาษี หัก ณ ที่จ่ายค้างจ่าย (ภ.ง.ด.๓ หรือ ๕๓)   600 บาท
  เงินสด/เงินฝากธนาคาร   20,800 บาท (๕)


(๕)ในกรณีนี้ “ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ยังคงคำนวณจากฐานของค่าบริการ 20,000 บาท เหมือนเดิม หากแต่จำนวนเงินที่ต้องจ่ายให้แก่ผู้ให้บริการนั้น จะรวมภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปอีก 1,400 บาท (ร้อยละ ๗ ของ 20,000 บาท) ทำให้จำนวนเงินที่ต้องจ่ายแก่ผู้ให้บริการเพิ่มขึ้นจากกรณีไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีตามตัวอย่างนี้ต้องจ่ายเงินรวมเท่ากับ 19,400 บวก 1,400 บาท)

จะเห็นว่า แม้จะมี “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” เข้ามาเกี่ยวข้อง ก็ไม่ได้ทำให้ “หลัก” และ “วิธีคิด” เปลี่ยนไป เพียงแต่เพิ่มเติมการคำนวณส่วนของ “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” เข้าไปเท่านั้น

หากลองไล่ประเภทของ “เงินได้” ที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย คร่าวๆ กล่าวโดยสรุปได้ว่า การซื้อสินค้านั้น ไม่เข้าข่าย ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ส่วน “ค่าบริการ” ต่างๆ ที่มักเรียกกันในทางภาษีอากร ว่า “ค่าจ้างทำของ” รวมทั้งค่าวิชาชีพต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าวิชาชีพทางการบัญชี การสอบบัญชี ค่าวิชาชีพทางกฎหมาย ค่าออกแบบ เป็นต้น กลุ่มนี้จะต้องหัก ภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ ๓

ค่าเช่า ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ ๕
ค่าโฆษณา ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ ๒
ค่าขนส่ง ค่าระวาง ค่าเบี้ยประกันภัยต่างๆ ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ ๑
เงินรางวัลจากการประกวด การชิงโชค ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ ๕
.....เป็นต้น


ส่วนอัตราภาษีสำหรับเงินเดือนพนักงานนั้น ต้องคำนวณกันในอัตราก้าวหน้า หรือเรียกอีกอย่างว่า “อัตราขั้นบันได” กล่าวคือ ขึ้นอยู่กับช่วงของเงินเดือน หากเงินเดือนน้อย ก็ต้องคำนวณภาษีในอัตราที่ต่ำกว่า เมื่อ “เงินได้” มีจำนวนมากขึ้น โดยอัตราภาษีในปัจจุบันมีดังต่อไปนี้

เงินได้สุทธิตั้งแต่ แต่ไม่เกิน ร้อยละ
0 บาท 100,000 บาท 5 (๖)
100,000 บาท 500,000 บาท 10
500,000 บาท 1,000,000 บาท 20
1,000,000 บาท 4,000,000 บาท 30
4,000,000 บาท ขึ้นไป 37

(๖) ปัจจุบัน ยกเว้นภาษีในอัตราร้อยละ ๕ ดังนั้น หากเงินได้สุทธิไม่เกิน 100,000 บาท ก็ไม่ต้องเสียภาษ

คำสำคัญ (Tags): #ภาษี
หมายเลขบันทึก: 460222เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2011 14:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 11:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบใจมาก ๆ ข้อมูลจะเป็นผลดีต่อการเตรียมสอบ Pre v-net นะจ๊ะ ^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท