วิชาการบัญชี


ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบัญชี

การบัญชี (Accounting)

หมายถึง ศิลปของการเก็บรวบรวม - บันทึก - จำแนก

สรุปข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจในรูปของตัวเงิน

ผลงานขั้นสุดท้ายของการบัญชี
วัตถุประสงค์ของงบการเงิน
ให้ข้อมูลที่มีประโยชน์

ในการตัดสินใจลงทุนและตัดสินใจให้สินเชื่อ

ในการประเมินกระแสเงินสด

เกี่ยวกับทรัพยากรทางเศรษฐกิจของกิจการ

เกี่ยวกับผลการดำเนินงานประจำงวด

ความรับผิดชอบของผู้บริหารที่มีต่อเจ้าของ
งบการเงินที่สมบูรณ์ต้องประกอบด้วย
งบดุล (Balance Sheet)

      เป็นงบที่แสดงฐานะการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่งตามมาตรฐานการบัญชี
ประกอบด้วย:

• สินทรัพย์
• หนี้สิน
• ส่วนของเจ้าของ
สินทรัพย์
สินทรัพย์หมายถึง

ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของกิจการ
ทรัพยากรดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต
กิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ
จากทรัพยากรนั้นในอนาคต
สินทรัพย์ประกอบด้วย

สินทรัพย์หมุนเวียน
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
สินทรัพย์หมุนเวียน
จัดเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนเมื่อเข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง:-
             สินทรัพย์นั้นเป็นเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดซึ่งไม่มี
ข้อจำกัดในการใช้
             กิจการมีวัตถุประสงค์หลักที่จะถือสินทรัพย์ไว้เพื่อการค้าหรือถือไว้
ในระยะสั้น และกิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์
นั้นภายใน 12 เดือน นับจากวันที่ในงบดุล
               กิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์นั้นภายในรอบ
ระยะเวลาดำเนินงานตามปกติ หรือกิจการมีสินทรัพย์นั้นไว้เพื่อ
ขายหรือเพื่อนำมาใช้ในการดำเนินงาน

สินทรัพย์
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
       ได้แก่สินทรัพย์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของสินทรัพย์หมุนเวียน
หนี้สิน
หนี้สิน หมายถึง
           ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการ
           เป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต
   การชำระภาระผูกพันนั้นคาดว่าจะส่งผลให้กิจการสูญเสีย
ทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ
หนี้สินหมุนเวียน
จัดเป็นหนี้สินหมุนเวียนเมื่อเข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
   หนี้สินนั้นถือกำหนดชำระภายใน 12 เดือน
นับจากวันที่ในงบดุล
   กิจการคาดว่าจะชำระหนี้สินนั้นคืนภายในรอบ
ระยะเวลาดำเนินงานตามปกติ
หนี้สินไม่หมุนเวียน หมายถึง
ภาระผูกพันที่กิจการไม่คาดว่าจะจ่ายชำระภายใน 12 เดือน หรือรอบระยะเวลาการดำเนินงานตามปกติ
หนี้สินไม่หมุนเวียนมี 3 ประเภท คือ
1. ภาระผูกพันที่เกิดจากการจัดหาเงิน
     การออกจำหน่ายหุ้นกู้
     หนี้สินตามสัญญาเช่าการเงิน
     ตั๋วเงินจ่ายระยะยาว
2. ภาระผูกพันที่เกิดจากการดำเนินงานตามปกติของกิจการ
   หนี้สินเงินบำนาญ
   หนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชี
3. ภาระผูกพันที่ขึ้นอยู่กับการเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นของเหตุการณ์ในอนาคตอย่างน้อยหนึ่งเหตุการณ์เพื่อยืนยันจำนวนหนี้สินหรือบุคคลหรือวันที่จ่ายชำระ
   หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น

ส่วนของเจ้าของ (ส่วนของผู้ถือหุ้น)
ส่วนของเจ้าของ (ส่วนของผู้ถือหุ้น) หมายถึง
ส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์ของกิจการหลังจากหักหนี้สินทั้งสิ้นออกแล้ว
งบกำไรขาดทุน (Income Statement)
   เป็นงบการเงินที่แสดงผลการดำเนินงานของกิจการในรอบระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง
ประกอบด้วย
• รายได้
• ค่าใช้จ่าย
สมการบัญชีของงบกำไรขาดทุน
รายได้
รายได้ หมายถึง
- การเพิ่มขึ้นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชีในรูปกระแสเข้า
• การขายสินค้าหรือบริการเป็นเงินสด/เงินเชื่อ
- การเพิ่มค่าของสินทรัพย์ในรอบระยะเวลาบัญชี
• การตีราคาที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ใหม่ (เพิ่มขึ้น)
- การลดลงของหนี้สินในรอบระยะเวลาบัญชี
• การส่งมอบสินค้าหรือบริการแก่เจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้สิน
- ไม่รวมเงินทุนที่ได้รับจากผู้มีส่วนร่วมในเจ้าของ
• เงินสดที่ได้รับจากการออกหุ้นทุนหรือหลักทรัพย์หุ้นทุนอื่น
ค่าใช้จ่าย หมายถึง
   
การลดลงของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชีในรูปกระแสออก
- การจ่ายเงินสดเพื่อแลกเปลี่ยนกับบริการ
 
 การลดค่าของสินทรัพย์ในรอบระยะเวลาบัญชี
- การตีราคาที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ใหม่ (ในทางลดลง)
 
 การเพิ่มขึ้นของหนี้สินในรอบระยะเวลาบัญชี
- การได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการโดยการก่อหนี้สิน
 
 ไม่รวมการปันส่วนทุนให้กับผู้มีส่วนร่วมในเจ้าของ
- การจ่ายเงินปันผล
หน่วยที่  1    ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้า

                       1.1  ความหมายของสินค้า

                       1.2  เอกสารประกอบการบันทึกบัญชี

                       1.3  เงื่อนไขการซื้อขายสินค้าที่เกี่ยวข้อง

                       1.4  ภาษีมูลค่าเพิ่ม

หน่วยที่  2    การบันทึกรายการเกี่ยวกับสินค้าในสมุดรายวันทั่วไป

                        2.1  การบันทึกรายการในกรณีไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม

                        2.2  การบันทึกรายการในกรณีที่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม

                        2.3  การผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภททั่วไป

หน่วยที่  3    สมุดรายวันเฉพาะ

                        3.1  ความหมายและประเภทของสมุดรายวันเฉพาะ

                        3.2  การบันทึกรายการในสมุดรายวันซื้อสินค้าและสมุดรายวันส่งคืนสินค้า

                        3.3  การบันทึกรายการในสมุดรายวันขายสินค้าและรับคืนสินค้า

หน่วยที่  4  สมุดรายวันเฉพาะ (ต่อ)

                        4.1  การบันทึกรายการในสมุดรายวันรับเงินและผ่านไปยังบัญชีแยกประเภท

                        4.2  การบันทึกรายการในสมุดรายวัยจ่ายเงินและผ่านไปยังบัญชีแยกประเภท

                        4.3  การบันทึกรายการในสมุดเงินสดย่อย

                        4.4  การบันทึกรายการในสมุดเงินสด  3  ช่อง

                        4.5  การบันทึกรายการในสมุดรายวันหลายช่อง

                        4.6  การบันทึกรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

หน่วยที่  5  การบันทึกรายการปรับปรุงบัญชีและโอนกลับบัญชี

                        5.1  วัตถุประสงค์ของการปรับปรุงบัญชี

                         5.2  ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า

                        5.3  ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

                        5.4  รายได้ค้างรับ

                        5.5  รายได้รับล่วงหน้า

                        5.6  การโอนกลับรายการปรับปรุงบัญชี

                        5.7  ค่าเสื่อมราคา

                        5.8  วัสดุสิ้นเปลือง

                        5.9  หนี้สินและค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

                        5.10 งบทดลองหลังรายการปรับปรุงบัญชี

                        5.11  การแก้ไขข้อผิดพลาด
1. เงื่อนไขการชำระเงิน  (Terms  of  Payment)  ผู้ขายสินค้าจะเป็นผู้กำหนดเงื่อนไขเงินไว้ในใบกำกับสินค้า  เพื่อเป็นการกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจ  ให้ผู้ซื้อชำระเงินค่าสินค้าก่อนกำหนดเวลา  เพื่อให้ผู้ซื้อได้รับส่วนลดอีกด้วย

            เงื่อนไขที่ทางการค้านิยมใช้กันมาก  ได้แก่

       1.  2/10,n/30   หมายความว่า  ถ้าผู้ซื้อชำระเงินภายใน  10  วัน  นับจากวันที่ในใบกำกับสินค้า  จะได้ส่วนลด 2%  แต่ถ้าผู้ซื้อชำระเงินภายใน  30  วัน  จะไม่ได้ส่วนลด

    2.  2/10,eom. ( eom. ย่อมาจาก end  0f  mont)  หมายความว่า  วันครบกำหนดในการชำระหนี้ คือ  สิ้นเดือนถัดไป  แต่ถ้าชำระเงินภายในวันที่ 10  ของเดือนถัดไปจะได้ส่วนลด 2%

2.  ส่วนลด  (Discoumts)  แบ่งออกเป็น  2  ประเภท  คือ

    1.  ส่วนลดการค้า ( Trade  Discounts)  หมายถึง  ส่วนลดที่ผู้ขายลดให้ผู้ซื้อเพื่อเป็นแรงจูงใจให้ผู้ซื้อได้ซื้อสินค้าครั้งละมาก ๆ  โดยผู้ขายจะกำหนดอัตราส่วนลด  เป็นอัตราร้อยละจากราคากำหนดไว้ในใบกำกับสินค้า  ส่วนลดการค้านี้จะนำไปหักจากราคาซื้อ หรือราคาขายก่อน  จะได้ราคาสุทธินำไปบันทึกบัญชี  ดังนั้น  ส่วนลดการค้าไม่ต้องนำมาบันทึกบัญชี

    2.  ส่วนลดเงินสด  ( Cash  Discounts)  หมายถึง  ส่วนลดที่ผู้ขายลดให้ผู้ซื้อเพื่อจูงใจให้ผู้ซื้อชำระเงินโดยเร็ว  ผู้ซื้อจะได้ส่วนลดเงินสดต่อเมื่อได้ชำระเงินตามเงื่อนไขการชำระหนี้ก่อนกำหนด  ส่วนลดเงินสดต้องนำมาบันทึกบัญชี

        -  ทางด้านผู้ขาย  ที่ให้ส่วนลด  เรียกว่า  ส่วนลดจ่าย  หรือส่วนลดจ่าย

        -  ทางด้านผู้ซื้อ  ส่วนลดที่ได้รับ  เรียกว่า  ส่วนลดรับ  หรือส่วนลดซื้อ

 การซื้อขายสินค้าส่วนใหญ่  ผู้ซื้อและผู้ขายจะอยู่ต่างสถานทีกัน  หรือห่างไกลกันต้องอาศัยกิจการขนส่งในการขนส่งสินค้า  เช่น  รถไฟ  เรือ  รถบรรทุก  ฯลฯ  ดังนั้น  ผู้ซื้อและ(ขายจะต้องตกลงกันให้เรียบร้อยว่าใครจะเป็นผู้จ่ายค่าขนส่ง

การขนส่งสินค้า  แบ่งออกเป็น  2  ประเภท  คือ    1.  การขนส่งเข้า  หมายถึง  ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับต้นทุนสินค้าที่ขาย  ซึ่งผู้ซื้อเป็นผู้จ่าย  จะบันทึกใน  บัญชีค่าขนส่งเข้า

    2.  การขนส่งออก  หมายถึง  ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการขายสินค้า  ถือเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกิจการ  ผู้ขายเป็นผู้จ่าย  จะบันทึกใน  บัญชีค่าขนส่งเข้า

    3.  การขนส่งออก  หมายถึง  ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการขายสินค้า  ถือเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกิจการ  ผู้ขายเป็นผู้จ่าย  จะบันทึกใน  บัญชีค่าขนส่งออก

                                เงื่อนไขเกี่ยวกับค่าขนส่งสินค้า  มีดังนี้

    1.  การส่งมอบต้นทาง  (F.o.B. Shipping  Point)  หมายถึง  ผู้ซื้อเป็นผู้จ่ายค่าขนส่ง  ผู้ขายมีหน้าที่เพียงนำสินค้าไปที่ทำการต้นทางส่งสินค้าเท่านั้น

    2.  การส่งมอบปลายทาง (F.o.B. Destination)  หมายถึง  ผู้ขายเป็นผู้ออก ค่าขนส่ง 

    3.  ค่าขนส่งสินค้าที่จ่ายแทนกัน  ถึงแม้ว่าการตกลงซื้อขายได้กระทำตามเงื่อนไขในการส่งมอบสินค้าแล้วก็ตาม  ผู้ซื้อและผู้ขายอาจจะจ่ายค่าขนส่งแทนกันได้  เพื่อความสะดวกของทั้งสองฝ่าย  เช่น

(F.o.B. Shipping  Point)  หมายถึง  ผู้ซื้อเป็นผู้จ่ายค่าขนส่ง  ผู้ขายมีหน้าที่เพียงนำสินค้าไปที่ทำการต้นทางส่งสินค้าเท่านั้น แต่ผู้ขายจ่ายแทนไปก่อนตามเงื่อนไข

(F.o.B. Destination)  หมายถึง  ผู้ขายเป็นผู้ออก ค่าขนส่ง  แต่ผู้ซื้อได้จ่ายแทนไปก่อน

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value  Added  Tex)

    ภาษีมูลค่าเพิ่ม  หมายถึง  ภาษีที่เรียกเก็บจากมูลค่าของสินค่าหรือบริการในส่วนที่เพิ่มขึ้นแต่ละขั้นตอนของการผลิต  และการจำหน่ายสินค้าหรือบริการชนิดต่าง ๆ

                สูตร           ภาษีมูลค่าเพิ่ม  =  ภาษีขาย - ภาษีซื้อ

 

    ภาษีขาย  (Sales  Tax)  คือ  ภาษีมูลค่าเพิ่ม  ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้เรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้บริการ  เมื่อได้ขายสินค้าหรือให้บริการ  หากภาษีขายเกิดขึ้นในเดือนใดก็เป็นภาษีขายของเดือนนั้น  โดยไม่คำนึงว่าสินค้าที่ขาย  หรือบริการจะซื้อมา  หรือเป็นผลมาจากผลิตในเดือนใดก็ตาม

    ภาษีซื้อ (Purchase  Tax)  ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้แระกอบการจดทะเบียนได้จ่ายให้กับผู้ขายสินค้าหรือผู้ขายบริการที่เป็นประกอบการจดทะเบียนอื่น  เมื่อซื้อสินค้าหรือรับบริการที่เพื่อใช้ในกิจการของตนทั้งที่เป็นวัตถุดิบ  หรือสินค้าประเภทเครื่องจักร  เครื่องมือและอุปกรณ์  เป็นต้น  หากภาษีซื้อเกิดขึ้นในเดือนใดก็เป็นภาษีซื้อเดือนนั้น  โดยไม่คำนึ่งว่าสินค้าที่ซื้อนั้นจะขายหรือนำไปใช้ในการผลิตเดือนใดก็ตาม

                    ถ้า  ภาษีขาย  มากว่า  ภาษีซื้อ  กิจการต้องชำระภาษีเพิ่ม

                    ถ้า  ภาษีขาย  น้อยกว่า  ภาษีซื้อ  กิจการสามารถขอคืนภาษีได้

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

       ตาม พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร  (ฉบับที่  30) พ.ศ  2534  ได้กำหนดให้บุคคลต่อไปนี้เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม  ประกอบด้วย  3  ประเภท  คือ

        1.  ผู้ประกอบการ  คือ  ผู้ผลิต  ผู้ให้บริการ  ผู้ขายปลีก  ผู้ส่งออก  ซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจ  หรือวิชาชีพ  และประกอบกิจการในราชอาณาจักร

        2.  ผู้นำเข้า  คือ  ผู้ประกอบการ  หรือบุคคลอื่น  ซึ่งนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรไม่ว่าการใด ๆ และยังรวมถึงการนำสินค้าที่ต้องเสียอากรขาเข้า  หรือ  สินค้าทีได้รับการยกเว้นอากรขาเข้า  ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรออกจากเขตอุตสาหกรรมส่งออก  โดยมิใช่เพื่อการส่งออกด้วย 

        3.  ผู้ที่กฎหมายกำหนดเป็นพิเศษให้เป็นผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้  เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษี  เช่น  ตัวแทนของผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชการอาณาจักรและขายสินค้าหรือให้บริการราชอาณาจักรเป็นปกติ  หรือในกรณีที่ผู้รับโอนสินค้าจากการนำเข้าที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายพิกัดอัตราศุลกากร  หรือผู้ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าหรือบริการผู้ที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา    0  เป็นต้น

                        อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บจากบุคคลทั้ง  3  กลุ่ม  คือ

            1.  อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม  ร้อยละ  7    สำหรับการขายสินค้า  หรือให้บริการทุกประเภท  รวมทั้งการนำเข้า  (อาจจะเพิ่ม - ลด  ได้ตามสภาวะทางเศรษฐกิจ)

            2.  อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม  ร้อยละ  1.5   สำหรับการขายสินค้า  หรือให้บริการของผู้ประกอบการ  ที่มีรายรับระหว่าง  600,000  บาท  ถึง  1,200,000  บาท  ต่อปี

            3.  อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม  ร้อยละ  0  ใช้กับธุรกิจการส่งสินค้าออกไปต่างประเทศการให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ   ฯลฯ

                        การยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มและการชำระภาษี

                ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี  และการชำระภาษี  ผู้ประกอบการต้องยื่นแบบ ภ.พ. 30  ณ  ที่ว่าการอำเภอท้องที่สถานประกอบการตั้งอยู่  ภายในวันที่  15  ของเดือนถัดไป  ไม่ว่าจะมีการขายสินค้าหรือให้บริการในเดือนภาษีนั้นหรือไม่ก็ตาม 


เรื่อง รายการค้าและการวิเคราะห์รายการค้า

รายการค้า หรือรายการทางบัญชี (Transaction or Accounting transaction)
หมายถึง เหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดการโอน หรือการแลกเปลี่ยนระหว่างหน่วยงานทางการบัญชีหนึ่ง
กับหน่วยงานหรือบุคคลอื่น ซึ่งมีผลกระทบการดำเนินงานหรือฐานะการเงินของหน่วยงานนั้น

ตัวอย่างของรายการค้า

การนำเงินสดหรือสินทรัพย์มาลงทุน เช่น การนำเงินสด ที่ดิน อาคาร มาลงทุน ในกรณีที่เป็นบริษัทการลงทุนหมายถึงการจำหน่ายหุ้น ได้แก่ การจำหน่ายหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ
ซื้อสินทรัพย์ต่าง ๆ เป็นเงินสดหรือเงินเชื่อ เช่นอุปกรณ์สำนักงาน ที่ดิน วัสดุสำนักงาน เครื่องมือต่าง ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมถึงการลงทุนในเงินทุนระยะสั้นหรือระยะยาวด้วย
ซื้อสินค้าเป็นเงินสดหรือเงินเชื่อ
 
ขายสินค้าเป็นเงินสดหรือเงินเชื่อ
 
การรับชำระหนี้
 
การจ่ายชำระหนี้
 
ขายบริการเป็นเงินสดหรือเงินเชื่อ
 
การกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินหรือบุคคลภายนอก
 
การจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ เงินเดือน ค่าเช่า ดอกเบี้ยจ่าย เป็นต้น
 
เจ้าของกิจการถอนเงินสดหรือสินทรัพย์อื่นไปใช้ส่วนตัว
 

ในการดำเนินงานของธุรกิจที่ไม่ก่อให้เกิดการโอนเงินหรือสิ่งที่มีมูลค่าเป็นเงิน เช่น การจัดร้านค้าให้สะอาด สวยงาม การเชิญชวนต้อนรับลูกค้า การพาชมสินค้า เป็นต้น รายการเหล่านี้ถือว่าไม่ใช่รายการค้า ดังนั้น จึงไม่มีการนำมาบันทึกในสมุดบัญชีของกิจการ

การวิเคราะห์รายการค้า (Business Transaction Analysis)

ในการบันทึกบัญชีนั้น รายการที่จะนำไปบันทึกจะต้องเป็นรายการค้า แต่การที่จะนำรายการค้าไปบันทึกบัญชีใดนั้น จะต้องมีการวิเคราะห์รายการค้านั้นเสียก่อน ว่ารายการค้าที่เกิดขึ้นนั้นมีผลกระทบต่อจำนวนเงินของสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของหรือไม่ อย่างไร

กล่าวคือการเกิดรายการค้าดังกล่าวทำให้สินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของ เพิ่มขึ้นหรือลดลง ซึ่งการวิเคราะห์รายการค้าที่ถูกต้องจะนำไปสู่การบันทึกบัญชีได้อย่างถูกต้องเช่นกัน

การวิเคราะห์รายการค้าสามารถแสดงการวิเคราะห์ได้ตามรูปแบบของสมการบัญชี ดังนี้

สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ


เนื่องจากเมื่อเกิดรายการค้าจะส่งผลกระทบต่อสินทรัพย์ หนี้สิน หรือส่วนของเจ้าของ เพิ่มขึ้นหรือลดลง เพื่อให้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์รายการค้าได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว จะขอสรุปหลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์รายการค้า ซึ่งในการวิเคราะห์รายการค้า ต้องเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของสมการบัญชี ไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรสมการบัญชีทั้งด้านซ้ายและด้านขวาจะต้องเท่ากันอยู่เสมอ

 

เรื่อง การบันทึกรายการค้าในบัญชีแยกประเภท

ในการบันทึกบัญชีของกิจการจะใช้ "หลักการบัญชีคู่" คือมีการบันทึกบัญชี 2 ด้าน คือ ด้านเดบิด และด้านเครดิต

ดังนั้น รูปแบบของบัญชีจึงต้องประกอบด้วยด้านเดบิต และด้านเครดิตเช่นกัน

รูปแบบของบัญชีแยกประเภทที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปมีลักษณะคล้ายอักษรภาษาอังกฤษตัวที (T) เรียกว่าบัญชีรูปตัวที (T Account) เพื่อใช้บันทึกรายการค้าของกิจการ แบ่งเป็น 2 ด้าน ด้านซ้ายมือเรียกว่า ด้านเดบิต (Debit)

ด้านขวามือเรียกว่า ด้านเครดิต (Credit)

รูปแบบของบัญชีแยกประเภทที่สมบูรณ์แบบที่ใช้โดยทั่วไปมี 2 แบบ คือ

แบบบัญชีมาตรฐาน (Standard Ledger Account Form)
แบบบัญชีแสดงยอดคงเหลือ (Balance Ledger Account Form)

ส่วนต่าง ๆ ของบัญชีแยกประเภท มีดังนี้

ชื่อบัญชี (Account Name) ใช้เขียนชื่อของบัญชีที่ต้องการจะบันทึกรายการ ปกติจะเขียนไว้ กึ่งกลาง ของหน้ากระดาษ
เลขที่บัญชี (Account Number) สำหรับเขียนเลขที่ของบัญชี เลขที่ของบัญชีจะแสดงแยกเป็นหมวดหมู่ของประเภทบัญชีแต่ละหมวดหมู่
วันที่ (Date) สำหรับแสดง วัน เดือน ปี ของรายการค้าที่เกิดขึ้นตามลำดับก่อนหลังที่เกิดรายการนั้น
รายการ (Explanation) ช่องนี้ใช้สำหรับเขียนคำอธิบายรายการว่า จำนวนเงินที่นำมาบันทึกบัญชีนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร หรือมาจากไหน
หน้าบัญชี (Post reference) สำหรับลงเลขที่หน้าบัญชีของสมุดบัญชีขึ้นต้นที่ใช้บันทึกรายการค้านั้น มาก่อน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงและตรวจสอบหลักฐานในภายหลัง
เดบิต (Debit) สำหรับบันทึกจำนวนเงินของรายการค้าที่ถูกบันทึกบัญชีทางด้านเดบิต
เครดิต (Credit) สำหรับบันทึกจำนวนเงินของรายการค้าที่ถูกบันทึกบัญชีทางด้านเครดิต
ยอดคงเหลือ (Balance) สำหรับแสดงจำนวนเงินคงเหลือทุกครั้ง หลังจากที่บันทึกรายการค้า
บัญชีแยกประเภททั้งสองแบบนี้ กิจการสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมกับกิจการ ซึ่งแต่ละกิจการไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน กิจการที่มีลูกหนี้หรือเจ้าหนี้มาก ๆ เช่น ธนาคาร ย่อมต้องการทราบยอดคงค้างของลูกหนี้ หรือเจ้าหนี้อย่างรวดเร็ว ก็จะเลือกใช้รูปแบบของบัญชีแยกประเภทแบบแสดงยอดดุล ซึ่งสามารถหายอดคงเหลือได้ทุกวันตามที่ต้องการได้ สำหรับกิจการที่ไม่จำเป็นต้องทราบยอดคงเหลือเป็นประจำทุกวัน ก็อาจเลือกใช้รูปแบบของบัญชีแยกประเภทแบบมาตรฐานแทน

การจัดหมวดหมู่ และการกำหนดเลขที่บัญชี

เนื่องจากสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป ประกอบไปด้วยบัญชีต่าง ๆ จำนวนมาก ดังนั้นเพื่อที่จะจำแนกบัญชีต่าง ๆ เหล่านั้นออกเป็นหมวดหมู่ โดยทั่วไปนิยมแบ่งบัญชีออกเป็น 5 หมวด และกำหนดเลขที่แต่ละหมวดดังนี้

หมวดที่ 1 หมวดสินทรัพย์ เลขที่บัญชีเริ่มต้นด้วยเลข 1

หมวดที่ 2 หมวดหนี้สิน เลขที่บัญชีเริ่มต้นด้วยเลข 2

หมวดที่ 3 หมวดส่วนของเจ้าของ เลขที่บัญชีเริ่มต้นด้วยเลข 3

หมวดที่ 4 หมวดรายได้ เลขที่บัญชีเริ่มต้นด้วยเลข 4

หมวดที่ 5 หมวดค่าใช้จ่าย เลขที่บัญชีเริ่มต้นด้วยเลข 5

ในแต่ละหมวดของบัญชียังประกอบไปด้วยบัญชีต่าง ๆ จำนวนมาก ดังนั้น เพื่อความสะดวกในการค้นหาและอ้างอิงจึงได้มีการกำหนดเลขที่ของบัญชีต่าง ๆ ย่อยลงไปอีก การกำหนดเลขที่ให้กับบัญชีต่าง ๆ นี้เรียกว่า

"ผังบัญชี" (Chart of Account)

ผังบัญชี หมายถึง รายการแสดงชื่อและเลขที่บัญชีทั้งหมดที่ใช้ในระบบบัญชีของกิจการโดยจัดหมวดหมู่ไว้อย่างเป็นระบบและมีหลักเกณฑ์ ผังบัญชีของแต่ละกิจการไม่จำเป็นต้องมีชื่อบัญชีที่เหมือนกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะการดำเนินงานของธุรกิจ ขนาดของธุรกิจ การดำเนินงาน ความละเอียดของรายการในบัญชี เพื่อใช้ในการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร เป็นต้น


เรื่อง การบันทึกรายการค้าในสมุดรายวันทั่วไป

เมื่อมีรายการค้าเกิดขึ้นจะส่งผลกระทบต่อสินทรัพย์ หนี้สิน หรือส่วนของเจ้าของ เปลี่ยนแปลงไปในทางเพิ่มขึ้นหรือลดลง ซึ่งจะมีผลกระทบต่อบัญชีอย่างน้อยสองบัญชีหรือมากกว่านั้นเสมอ ซึ่งนำไปสู่การบันทึกบัญชีตามหลักการบัญชีคู่ คือการบันทึกบัญชีจะต้องมี 2 ด้านเสมอ ได้แก่ ด้านเดบิต (Debit) และด้านเครดิต (Credit)

การจดบันทึกรายการค้าตามหลักบัญชีคู่ลงในสมุดบัญชี สมุดบัญชีที่ได้จดบันทึกรายการค้า คือ สมุดจดรายการขั้นต้น รายการค้าที่เกิดขึ้นทุกรายการจะถูกจดบันทึก 2 ครั้ง

ครั้งที่ 1 ในสมุดบัญชีขั้นต้น

ครั้งที่ 2 ในสมุดบัญชีขั้นปลาย

สมุดบัญชีขั้นต้น หรือสมุดบันทึกรายการขั้นต้น หรือสมุดรายวันขั้นต้น (Journal) เป็นสมุดบัญชีเล่มแรกที่ใช้จดบันทึกรายการค้าต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นโดยเรียงตามลำดับก่อนหลังของการเกิดรายการค้านั้น ๆ ก่อนที่จะนำไปจดบันทึกอีกครั้งในสมุดบัญชีขั้นปลาย

สมุดจดรายการขั้นต้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1. สมุดรายวันทั่วไป (General Journal)

2. สมุดรายวันเฉพาะ (Special Journal)

สมุดรายวันทั่วไป (General Journal) คือ สมุดรายวันที่ใช้บันทึกรายการค้าต่าง ๆ ซึ่งไม่อาจบันทึกในสมุดรายวันอื่นได้ หรือสามารถใช้จดบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นได้ทุกรายการถ้ากิจการนั้นไม่มีการใช้สมุดรายวันเฉพาะแต่ถ้ากิจการนั้นมีการใช้สมุดรายวันเฉพาะแล้ว สมุดรายวันทั่วไปก็สามารถมีไว้เพื่อจดบันทึกรายการค้าอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นซึ่งไม่สามารถนำไปบันทึกในสมุดรายวันเฉพาะเล่มใดเล่มหนึ่งได้

ประโยชน์ของสมุดจดรายการขั้นต้น

การที่กิจการจดบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นโดยใช้สมุดจดรายการขั้นต้นก่อนที่จะนำไปบันทึกรายการในสมุดบัญชีแยกประเภท ทำให้กิจการได้รับประโยชน์ต่าง ๆ ดังนี้

1. การบันทึกรายการในสมุดจดรายการขั้นต้นเป็นการบันทึกรายการโดยเรียงตามลำดับก่อนหลังของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้ไม่เกิดการหลงลืมในการบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้น

2. การบันทึกรายการในสมุดจดรายการขั้นต้นจะบันทึกโดยแสดงผลการวิเคราะห์รายการค้าที่เกิดขึ้นว่าจะต้อง

เดบิตและเครดิตบัญชีอะไร ด้วยจำนวนเงินเท่าไร จึงช่วยป้องกันข้อผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นจากการหลงลืมบันทึกรายการด้านใดด้านหนึ่งหรือลงรายการซ้ำกันในด้านใดด้านหนึ่ง รวมทั้งมีโอกาสที่จะตรวจสอบก่อนที่จะนำไปบันทึกในสมุดบัญชีแยกประเภท

3. มีคำอธิบายรายการนั้นไว้ชัดเจน ทำให้ทราบความเป็นมาของรายการที่นำมาบันทึก

4. หากต้องการดูรายการย้อนหลังเมื่อเกิดข้อสงสัยในการบันทึกบัญชี ก็สามารถอ่านและเข้าใจข้อมูลได้ง่าย

ทำให้เกิดการกระจายความรับผิดชอบในการทำงานรวมทั้งทำให้มีข้อมูลที่จะยืนยันและอ้างอิงซึ่งกันและกันกับสมุดบัญชีแยกประเภท อันจะช่วยป้องกันการทุจริตของพนักงาน

 

 ปัญหานักเรียนขาดทักษะการบันทึกรายการค้าในสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป ของนักศึกษาระดับชั้น ปวช. 1/1 สาขาวิชาพณิชยการ ประเภทวิชาพาณิชยกรรม ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2547 วิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานี ทำการแก้ปัญหาโดยใช้ชุดฝึกทักษะ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้เรื่องการบันทึกรายการค้าในสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป ดำเนินการทดลองโดยสร้างเครื่องมือชุดฝึกทักษะซึ่งผ่านการทดสอบความเชื่อมั่นแล้วนำไปใช้กับผู้เรียน จำนวน 5 คน ที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน         
                ผลการแก้ปัญหา นักเรียนขาดทักษะการบันทึกรายการค้าในสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไปพบว่า นักเรียนจำนวน 5 คน ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งหมด

บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

                จากการทดสอบรายหน่วย รายวิชาการบัญชีเบื้องต้น 1 รหัสวิชา 2201-1002 เรื่องการบันท

คำสำคัญ (Tags): #การบัญชี
หมายเลขบันทึก: 460221เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2011 14:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 23:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท