รพ.หนองม่วง
รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง

การจัดบริการทางอาชีวอนามัยและความปลอดภัยแก่บุคลากรทางการแพทย์


โรคจากการประกอบอาชีพ (Occupational Diseases) คือ โรคหรือความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับคนทำงาน โดยมีสาเหตุมาจากการสัมผัสสิ่งคุกคามหรือสภาวะแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม

การจัดบริการทางอาชีวอนามัยและความปลอดภัยแก่บุคลากรทางการแพทย์

  • โรคจากการประกอบอาชีพ (Occupational Diseases) คือ โรคหรือความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับคนทำงาน โดยมีสาเหตุมาจากการสัมผัสสิ่งคุกคามหรือสภาวะแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม
  • โรคที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงาน (Work – Related Diseases) คือ โรคหรือความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับคนทำงาน โดยมีสาเหตุจากปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน และสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับงาน เป็นปัจจัยหนึ่งของการเกิดโรคด้วย

ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรค

  1. ตัวผู้ทำงาน
  2. ลักษณะการทำงาน
  3. สภาพแวดล้อมในการทำงาน

สิ่งคุกคามจากการทำงาน (Occupational Hazards)

1. ด้านชีวภาพ ( Influenza , TB , HIV , Hepatitis หรือ เชื้อโรคอื่น ๆ )

2. ด้านเคมี ( ยา , ยาเคมีบำบัด , disinfectants , pesticides )

3. ด้านฟิสิกส์ ( ความร้อน , แสง , เสียง , รังสี เป็นต้น )

4. ด้านการยศาสตร์ ( Ergonomic ) ( ท่าทาง , การขนของ , การยกของ)

5. ด้านภาวะเครียด ความรุนแรง ( การขาดเจ้าหน้าที่ , การทำงานเป็นกะ การอยู่เวร )

การจัดบริการอาชีวอนามัย

กิจกรรมในการให้บริการอาชีวอนามัย

  1. สำรวจและประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการทำงาน
  2. เฝ้าคุมและจัดการความเสี่ยงในการทำงาน รวมทั้งดูแลในเรื่องสุขอนามัยอื่น ๆ
  3. ดำเนินการในด้านความปลอดภัยในการทำงาน
  4. ให้ความรู้และฝึกอบรมทางด้านอาชีวสุขศึกษา
  5. ประเมินและเฝ้าระวังทางสุขภาพแก่ผู้ทำงาน
  6. ปรับปรุงสภาพการทำงานให้เหมาะสมและสอดคล้องกับผู้ทำงาน
  7. จัดเตรียมการในการปฐมพยาบาลและรักษาพยาบาลในกรณีฉุกเฉิน
  8. ฟื้นฟูสภาพของผู้ทำงานหลังการเจ็บป่วย
  9. ให้คำปรึกษาทางด้านสุขภาพ
  10. รวบรวม จัดเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านอาชีวอนามัย รวมทั้งเผยแพร่ให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง

การประเมินความเสี่ยง

  •  กระบวนการการศึกษาอย่างเป็นระบบ เพื่อพรรณนาและวัดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น โดยพิจารณาความสัมพันธ์ของสิ่งคุกคาม กระบวนการทำงาน การควบคุมป้องกัน และสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับตอบคำถามในสิ่งที่สนใจว่า ความเสี่ยงทั้งทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กับสิ่งคุกคามอย่างไร และมีความเสี่ยงอยู่ในระดับใด

ขั้นตอนการประเมินความเสี่ยง

  • การเตรียมการ
  • การระบุสิ่งคุกคาม
  • การประมาณค่าโอกาสของความเสี่ยง
  • การประมาณค่าความรุนแรง
  • การจัดลำดับความเสี่ยง
  • จำนวนคนที่ได้รับผลกระทบ
  • ยอมรับได้ / ยอมรับไม่ได้

การจัดการความเสี่ยง

  • เป็นการจัดการอย่างเป็นระบบกับปัญหาที่อาจจะก่อให้เกิดอันตราย โดยที่หลักการปฏิบัติอ้างอิงอยู่บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ผ่านการทำงานในส่วนของการประเมินความเสี่ยง

การวางแผนจัดการความเสี่ยง

  • การสื่อสารความเสี่ยง
  • ประเมินความเสี่ยง
  • จัดลำดับความเสี่ยง
  • กำหนดงาน
  • ระบุปัญหาที่เกิดขึ้น
  • อธิบายความเสี่ยง
  • ทางเลือกในการแก้ไข
  • นำไปปฏิบัติ
  • รายงาน
  • ติดตามผลประเมิน
หมายเลขบันทึก: 459461เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2011 11:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท