การประยุกต์ใช้แผนที่ภูมิศาสตร์และเขตปลอดภัยในการเดินอากาศอิเล็ดทรอนิคส์


ถ้าเราช่วยกันใส่ข้อมูลด้านต่างๆที่เรามี ฐานข้อมูลแผนที่อิเล็คทรอนิคส์นี้ เราจะเห็นภาพองค์รวมด้านการบิน ได้ชัดเจนขึ้นในทุกมิติ

การประยุกต์ใช้แผนที่ภูมิศาสตร์และเขตปลอดภัยในการเดินอากาศอิเล็ดทรอนิคส์

ก่อเกิดมาจาก "โครงการปรับปรุงข้อมูลเขตปลอดภัยในการเดินอากาศให้เป็นระบบดิจิตอล"
(ETOD – Electronic Terrain and Obstacle Data)

 หลักการและเหตุผล 

           ความปลอดภัยในการเดินอากาศถือว่าเป็นโครงการระดับชาติที่ทางภาครัฐต้องให้ความสำคัญเนื่องจากเป็นเรื่องความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้บริการการเดินอากาศและประชาชนที่พักอาศัยโดยรอบสนามบินความปลอดภัยในการเดินอากาศเป็นสิ่งที่กรมการบินพลเรือนให้ความสนใจและให้ความสำคัญในการจัดทำระบบเพื่อใช้ในการตรวจสอบความปลอดภัยในการเดินอากาศ

            กรมการบินพลเรือนได้เล็งเห็นความสำคัญด้านความปลอดภัยด้านการเดินอากาศ จึงได้จัดทำระบบตรวจสอบความปลอดภัยสำหรับงานการเดินอากาศซึ่งประกอบไปด้วยการจัดทำข้อมูลความสูงภูมิประเทศเชิงเลขและข้อมูลความสูงสิ่งกีดขวาง (ETOD – Electronic Terrain and Obstacle Data) เป็นข้อมูลที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในระบบตรวจสอบความปลอดภัยสำหรับงานการเดินอากาศตามข้อกำหนดขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) โดยได้มีการจัดทำข้อมูลความสูงสิ่งกีดขวางเพื่อใช้ในการ
จัดการและควบคุมสิ่งก่อสร้างบริเวณโดยรอบของสนามบินและช่วยในการบริหารด้านความปลอดภัยในการเดินอากาศสำหรับสนามบินทุกแห่ง โดยระบบดังกล่าวจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความสามารถในการวิเคราะห์และตรวจสอบความปลอดภัย สำหรับงานการเดินอากาศเพื่อใช้ในการตรวจสอบสิ่งกีดขวางสำหรับสนามบิน26 แห่ง ที่อยู่ภายใต้การดูแลของกรมการบินพลเรือน โดยระบบตรวจสอบความปลอดภัยดังกล่าวจำเป็นต้องมีการจัดทำข้อมูลความสูงภูมิประเทศเชิงเลขและข้อมูลความสูงสิ่งกีดขวางโดยจัดทำด้วยเทคนิคต่าง ๆ ด้านการทำแผนที่ที่เหมาะสมสัมพันธ์กับความถูกต้องของการสำรวจเพื่อสร้างแผนที่ตามข้อกำหนดขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศโดยข้อมูลดังกล่าวจะถูกนำมาใช้ในการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงและพื้นที่ได้รับ

ผลกระทบด้านความปลอดภัยสำหรับการเดินอากาศจากขอบเขตพื้นผิวสำหรับระบุสิ่งกีดขวางเพื่อความปลอดภัย (Obstruction and Identification Surface)

...... เริ่มจากแผนที่เขตปลอดภัยจุดเล็กๆรอบสนามบิน ไปสู่การบริหารข้อมูลแผนที่ภูมิศาสตร์อิเล็คทรอนิคส์....ที่เพียบพร้อมข้อมูลด้านการบิน........

โดยเชิญ.....กูรูวิวัฒน์ ยอดนวล วิศวกรโยธาชำนาญการพิเศษ กรมการบินพลเรือน และกูรู จากบริษัท ESRI(THAILAND) คุณวรพจน์  มาสิริ  วิศวกรระบบ.....มาบอกเล่าเก้าสิบ....กันครับ...

จากแผนที่เล็กๆในสนามบิน...รอบสนามบิน....และห่างจากสนามบิน 15 กิโลเมตร ...ในเขตเดินอากาศของอากาศยาน....สู่การเก็บรายละเอียดชั้นความสูงอย่างถี่ยิบ... แบบจุดต่อจุด... ฉีกกฏของการวัดความสูงด้วยดาวเทียม.... ซึ่งมีค่าผิดพลาดเหลือเกินจะนำไปใช้ได้ ในเครื่องรับสัญญาณ GPS ทุกเครื่อง... จนมาสู่ยุคบารอมิเตอร์ กลับสู่สามัญยังไงยังงั้น.... ในการบินแบบ PBN Approach สู่การวัดความสูงด้วยเทคโนโลยีล่าสุดด้วยเลเซอร์  ผิดพลาดเป็นมิลลิเมตร ....สามารถนำไปใช้ข้อมูลพื้นฐานได้จริงเป็นที่ยอมรับ....ประเทศไทยได้ทำตามสนธิสัญญาด้านการบินกับประเทศภาคีสมาชิก ICAO ว่าด้วยการจัดทำแผนที่ภูมิศาสตร์แสดงเขตปลอดภัยการเดินอากาศ ในรูปแบบดิจิตอล อิเล็คทรอนิส์ขึ้น กับสนามบินและขยายไปยังสนามบินต่างๆ เพื่อให้สามารถใช้ข้อมูล อ้างอิงได้ดดยง่าย  สดวกต่อประชาชนมากขึ้น โดยที่สามารถทราบผลการตรวจ โดยใช้เวลาไม่นาน และสามารถเห็นภาพเสมือนในสเกลจริงได้ในทุกด้านทุกมิติ  อีกนวรรตกรรมล่าสุดของโลก ที่ประเทศไทยโดยกรมการบินพลเรือน นำมาใช้ประโยชน์ได้จริง....

สิ่งที่ได้รับจาก KM ในเรื่องนี้ คือ

1. ทำให้ทราบถึงขอบเขตพื้นที่เขตปลอดภัยในการเดินอากาศสนามบิน

2. ทำให้ประชาชนผู้มาขออนุญาตก่อสร้างภายในเขตปลอดภัยในการเดินอากาศได้รับการบริการที่รวดเร็ว    อันเนื่องมาจากระบบตรวจสอบความสูงอนุญาตที่ได้จัดทำตามโครงการฯ

3. ทำให้ทราบว่าเรามีฐานข้อมูลอยู่ ซึ่งจะใช้ต่อยอดได้โดยแต่ละกลุ่มงานภายในสำนักมาตรฐานสนามบิน หรือ    ภายในกรมการบินพลเรือน สามารถนำข้อมูลของแต่ละกลุ่มงานมาใส่และทำงานร่วมกันบนพื้นฐานของแผนที่เดียวกัน ทำให้เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของทุกกลุ่มงาน รวมทั้งยังเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการทำงาน ได้แก่

กลุ่มจราจรทางอากาศสามารถนำข้อมูลพื้นที่ Airspace (VTQ VTR VTP TMA)ต่างๆ มา PLOT ลงบนฐานข้อมูลได้ทำให้เห็นภาพในหลายมิติมากขึ้น

กลุ่มเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ ที่จำเป็นต้องตรวจสอบระยะขอบเขตการแพร่กระจายคลื่น ว่าลักษณะทางภูมิประเทศที่ใดมีผลกระทบต่อการกระจายสัญญาณที่แพร่คลื่นวิทยุไปในอากาศได้ในมุมมองเสมือนจริง หากนำค่าพิกัดของเครื่องช่วยการเดินอากาศ มา PLOT ลงบนแผนที่และจัดทำกราฟเป็น 3 มิติแสดงลักษณะสัญญาณที่ส่งออกไปจากอุปกรณ์ PLOT ลงไป ทำให้ทราบถึง coverage area ของอุปกรณ์ต่างๆ ตลอดจนใช้ตรวจสอบเขต Sensitive Area ของเครื่องช่วยฯ ทั้งในแนวระนาบ และระยะสูงตามแนว Beam ของสัญญาณเครื่องช่วยฯ(VOR 1 Degree)ในเขตสะท้อนคลื่น  และตรวจสอบระยะสูงที่อนุญาตในอาณาเขตรัศมี 600 เมตรรอบสถานี VOR เป็นต้น 

กลุ่มมาตรฐานผู้ประกอบการสนามบิน ที่จำเป็นต้องติดต่อกับผู้ขออนุญาตโดยตรง ก็สามารถใช้ประโยชน์กล่าวคือเมื่อประชาชนยื่นคำขออนุญาตจัดตั้งสนามบินก็สามารถตรวจสอบได้ทันที ใช้เวลาไม่นานว่าอยู่ในพื้นที่ VTD VTR VTP หรือไม่ ซึ่งถ้าพื้นที่ๆขออนุญาตอยู่ ภายในนั้น ผู้ขอสามารถทราบได้อย่างทันท่วงทีว่าสามารถหรือไม่สามารถจัดตั้งได้ตั้งแต่เนิ่นๆ  ก่อนที่จะลงทุนหรือดำเนินการใดๆ  เป็นต้น

กลุ่มแผนและข่าวสารการเดินอากาศ ที่ดำเนินการตรวจสอบรูปแบบ ความสมบูรณ์ ตลอดจนความถูกต้องของข้อมูลที่จะ PUBLISH สามารถนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากมายตามที่พิมพ์เผยแพร่ใน AIP THAILAND และที่ออกประกาศเพิ่มเติม มาใส่ในสนามบินแต่ละแห่งทั่วทั้งประเทศ ทำให้ผู้ใช้งานระบบนี้  สามารถเข้าถึงข้อมูล AIP เพื่อใช้อ้างอิงประกอบการพิจารณาได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และครบถ้วน

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ETOD Electronic Terrain and Obstacle Data
หมายเลขบันทึก: 459396เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2011 04:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 14:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

แผนที่เป็นเครื่องมือสำคัญในการศึกษาภูมิศาสตร์ และมีความจำเป็นต่อการบิน ^@^ GEO

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท