เพื่อนช่วยเพื่อน : การสอนนักศึกษาแพทย์-พยาบาล (๒)


นักศึกษาจะทำได้ดีในสถานที่ที่รู้สึกปลอดภัย สะท้อนแล้วมีคนฟัง กระจกไม่ bias

ตอนที่

อาจารย์ปรัชญะพันธุ์เล่าที่มาของการจัดการเรียนการสอน Introduction to Clinical Medicine และประสบการณ์ขณะยังทำงานอยู่ที่ รพ.มหาราชนครศรีธรรมราช ที่มีการเตรียมเจ้าหน้าที่ผู้เกษียณอายุให้เป็นผู้ป่วยจำลอง ใช้ในการสอบนักศึกษาแพทย์ และการทดสอบด้านจริยธรรม มีความแตกต่างจากการเตรียมผู้ป่วยจำลองของมหาวิทยาลัย ซึ่งใช้ชาวบ้านในชุมชนที่ไม่มีความรู้และประสบการณ์ ต้องมีการปรับวิธีการและทำเป็น intensive course จะทำควบคู่ไปกับงานด้าน social accountability ที่เป็นเรื่องสำคัญของสถาบันการศึกษาแพทยศาสตร์

อาจารย์ปรัชญะพันธุ์ใช้วิธีการ empower ว่าเขามาช่วยสร้างแพทย์ มาเป็นครู และบอกนักศึกษาว่าคนเหล่านี้เป็น “ครูผู้ป่วยจำลอง” ซึ่งเป็นการเริ่มต้นที่ดี แม้จะเรียกว่าผู้ป่วยจำลอง แต่บางเรื่องก็ได้เรียนของจริง เพราะชาวบ้านบางคนก็มีแผล มีโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นผิดปกติ ฯลฯ บางอย่างที่เขาไม่รู้ในการสื่อ ก็ต้องสอนให้แสดง ไม่ว่าอย่างไร การซักประวัติครอบครัว เศรษฐกิจ เป็นของจริงทั้งนั้น

ในการตรวจร่างกาย ต้องฝึกให้แม่นยำ มีบทให้ท่อง แต่ชาวบ้านบางคนก็อ่านหนังสือไม่ออก จึงต้องมีการฝึกเข้ม ต่อไปจะให้ลูกหลานช่วยอ่านบทให้ ก่อนเข้าบทต้องให้แสดงให้ดูแล้ว validate ให้มีมาตรฐานเท่าๆ กัน

นักศึกษาแพทย์ฝึกตรวจ ๒๐ อาการ เรื่องหัถตการมีไม่เยอะ โดยเฉพาะถ้า invasive มีเรื่องของ human right เข้ามาเกี่ยวข้อง

การเตรียมผู้ป่วยจำลองที่ผ่านมายังไม่ดีนัก ต่อไปต้องมีการวางแผนเตรียมเผื่อ เพราะบางครั้งคนที่แสดงเก่งอาจไม่ว่างในวันที่ต้องการ จะมีการเลือกใหม่และเตรียมให้รู้บทบาทล่วงหน้าอย่างเป็นระบบ

โอกาสที่นักศึกษาด้านวิทยาการสุขภาพจะเรียนรู้ร่วมกันมีได้ เพราะช่วงแรกๆ จะเรียนเรื่องการซักประวัติ ตรวจร่างกาย communication skills, ethics, universal precaution, patient safety เป็นต้น

อาจารย์ปรัชญะพันธุ์เห็นด้วยเรื่องการให้รุ่นพี่ศิษย์เก่ามาช่วยสอนในห้อง Lab เพราะอายุไม่ห่างกันมาก นักศึกษารู้สึกปลอดภัยที่จะถาม รวมทั้งเห็นด้วยที่ให้นักศึกษาเขียน portfolio และ reflection เพราะทำให้เราได้ฟังความคิดของเขา นักศึกษาจะทำได้ดีในสถานที่ที่รู้สึกปลอดภัย สะท้อนแล้วมีคนฟัง กระจกไม่ bias และเสนอแนะว่าควร feedback โดยการชมบ้าง ความรู้สึกของนักศึกษาจะเปลี่ยนไป

ในการสอนนักศึกษาแพทย์เรื่องการซักประวัติและตรวจร่างกาย มีการแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่มย่อย ใช้ระบบแซนวิชคือ practice-lecture-practice บอกนักศึกษาว่าพรุ่งนี้จะมีคนไข้ที่มีปัญหาอะไรมาตรวจ แต่ไม่รู้ว่าใครจะเป็นคนซักประวัติและตรวจร่างกาย นักศึกษาทุกคนจึงต้องเตรียมตัวให้พร้อม ถึงเวลาปฏิบัติใช้ระบบการสุ่มให้นักศึกษา ๑ คน ทำการตรวจผู้ป่วยจำลอง ๑ คน

นักศึกษาที่เหลือเป็นผู้สังเกตและ rating ด้วยว่าเพื่อนทำครบหรือไม่ครบ ในห้อง Lab มีอาจารย์อยู่ด้วย (ดูคนทำ) นอกจากนี้ยังมีอาจารย์อีก ๑ คนอยู่ในห้องสังเกตการณ์ทั้งหมด ผู้ป่วยจำลองได้ประเมินนักศึกษาด้วย อาจารย์ปรัชญะพันธุ์เล่าว่าเมื่อไปตรวจที่โรงพยาบาลจริงๆ ผู้ป่วยจำลองบอกได้ว่าแพทย์ตรวจไม่ครบถ้วน

เมื่อปฏิบัติการเสร็จ นักศึกษาจะมารวมกันเพื่อ reflect สิ่งที่ทำได้ดี/ไม่ดี อะไรที่จะทำให้ดีกว่าเดิม เป็นวิธีการที่ทำให้นักศึกษา active มาก ทุกคนอยากลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ในการ lecture มีการเชิญอาจารย์พิเศษในหัวข้อที่อาจารย์ของเราไม่มี expertise

การสอบวัด knowledge ด้วยข้อสอบ วัด practice ด้วย OSCE ๒๐ สถานี ทำเหมือน National License Test

อาจารย์ปรัชญะพันธุ์ยังแนะนำด้วยว่าการถามนักศึกษา ควรเริ่มจากคำถามที่นักศึกษารู้สึกปลอดภัยที่จะตอบ เช่น กินข้าวกับอะไร แล้วค่อยๆ พัฒนาไปสู่คำถามเรื่องความรู้

อาจารย์กนกวรรณมีคำถามว่าการพานักศึกษาไปฝึกการตรวจร่างกายในชุมชนและการให้อาสาสมัครมาที่ห้อง Lab แบบไหนจะดีกว่ากัน คำตอบคืออยู่ที่วัตถุประสงค์ ถ้าต้องการให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะการตรวจร่างกาย ทำที่ไหนก็ได้ มีคนถามเรื่องค่าตอบแทนผู้ป่วยจำลอง อาจารย์ปรัชญะพันธุ์ไม่รู้เรื่องนี้ แต่เน้นว่าควรทำให้เขารู้สึกมีคุณค่าว่าเป็นครูดีกว่าให้ความสำคัญเรื่องค่าตอบแทน

เราพูดคุยซักถามกันนานจนเวลาประมาณ ๑๓.๒๐ น. จึงจบกิจกรรม

ดิฉันได้ข้อมูลเพิ่มเติมจาก ผศ.พญ.มยุรี วศินานุกร คณบดีสำนักวิชาแพทยศาสตร์ว่า มีการแบ่งนักศึกษาแพทย์เป็นกลุ่มย่อยกลุ่มละ ๘ คน การฝึกการซักประวัติใช้กลุ่มขนาดเท่านี้ แต่ในการฝึกการตรวจร่างกาย ต้องแบ่งครึ่งกลุ่มอีกที เพราะห้องที่ใช้มีขนาดเล็ก สำนักวิชาแพทยศาสตร์ใช้สื่อของ New England Medical Journal ให้นักศึกษาดูแล้วอธิบาย อยากให้นักศึกษาดูและฝึกกันเองซ้ำๆ การสังเกตโดยเพื่อนนั้น ให้ดูทั้งการกระทำและลักษณะท่าทาง การพูดจา น้ำเสียง ฯลฯ มีการอัด VDO ขณะที่นักศึกษาปฏิบัติไว้ แต่ยังไม่ได้เอามาทำอะไรต่อ

AAR
เรานัดหมายกันล่วงหน้าเพียง ๒ วันก่อนที่จะมาพบปะพูดคุยกัน แต่ก็ได้ความคิดที่จะเอาไปใช้ต่อหลายเรื่อง ทีมอาจารย์พยาบาลรู้ว่าการใช้ผู้ป่วยจำลองในการสอนเป็นเรื่องใหญ่ เราคงจะเตรียมการไม่ทัน แต่คิดจะนำมาใช้ในการสอบ เราจะนำกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ทำให้นักศึกษามีส่วนร่วมอย่าง active มากขึ้นมาใช้ เช่น การให้นักศึกษาทุกคนเตรียมตัวล่วงหน้า การสุ่มให้นักศึกษาคนใดคนหนึ่งลงมือปฏิบัติ การให้นักศึกษาที่เหลือสังเกตการณ์และ rating การปฏิบัติของเพื่อนด้วย

ดิฉันเสนอให้อาจารย์กนกวรรณนำเครื่องมือ BAR และ AAR มาใช้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษาด้วย

วัลลา ตันตโยทัย

หมายเลขบันทึก: 459351เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2011 19:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท