ผลงาน อสวท.


อสวท. พลังขับเคลื่อนชุมชนผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนที่ผลักดันโดยสมาชิก อสวท. มี 2 ช่องทาง คือ  ช่องทางที่ 1  สมาชิก อสวท.ที่ผ่านการอบรมการเขียนข้อเสนอโตรงการจะได้มีการระดมสมองในที่ประชุม เพื่อคัดเลือกโครงการนำร่อง ที่จะเป็นตัวอย่างให้กับสมาชิกอื่น ๆ  และช่องทางที่ 2  สมาชิก อสวท. ที่เป็นสมาชิกมามากกว่า 2 ปี  แสดงความจำนงกับสถาบันการศึกษาที่เป็นเครือข่าย อสวท. ที่จะผลักดันโครงการที่เป็นความต้องการของสมาชิกในชุมชน ที่สามารถนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าไปแก้ไขปัญหา หรือพัฒนาอาชีพ เพิ่มคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน

สำหรับปีงบประมาณ 2553  มีโครงการที่ได้รับการเสนอจากสมาชิก อสวท.รวมทั้งสิ้น  34 โครงการ  ได้รับการพิจารณาคัดเลือกโดยใช้งบประมาณประจำปี 2553 ของ อสวท. จำนวน 16 โครงการ เนื่องจากได้รับงบประมาณลดลงจากปี 2552    และใช้งบประมาณจากคลินิกเทคโนโลยี ประจำปี 2553 จากโครงการการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมฯ อีก 7 โครงการ รวมทั้งสิ้น 23 โครงการ

ทั้งนี้ โดยมีหลักเกณฑ์ว่า โครงการที่เสนอต้องเป็นคว่มต้องการของชุมชน  และสามารถนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าไปพัฒนา ปรับปรุง แก้ไขปัญหาให้แก่ชุมชน  รวมทั้งมีความชัดเจนในเรื่องกลุ่มเป้าหมาย สถานที่ดำเนินการ ความพร้อมของสมาชิก  และประโยชน์ที่จะได้รับเป็นสำคัญ

โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนที่ผลักดันโดย อสวท. ประจำปี 2553 จำนวน 16 โครงการมี ดังนี้

1. โครงการผลิตนำมันมะพร้าว บริสุทธิ์และผลิตภัณฑ์ จากวัสดุที่เกิดจากการผลิต    สมาชิกอสวท.ที่ผลักดัน : นางรอมือละ มามุ   และคลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา

2. โครงการการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยชีวภาพจากผล ไม้  สมาชิก อสวท.ที่ผลักดัน : นายประเสริฐ พิมเสน  และคลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา  สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง

3. โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการ พัฒนาผลิตภัณฑ์และ บรรจุภัณฑ์อาหารของสมาชิก อสวท.อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน   สมาชิก อสวท.ที่ผลักดัน : นางประยูร พุ่มจันทร์   และคลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

4. โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการทำ แก๊สชีวภาพชุมชน บางเสร่  สมาชิก อสวท.ที่ผลักดัน :  นายบัณฑิตย์ บุณโยประการ  และคลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยบูรพา

5. โครงการการถ่ายทอดเทคโนโลยี การทำถ่านอัดแท่ง จากวัสดุเหลือใช้  สมาชิก อสวท.ที่ผลักดัน : นายประพัทธ์ พูลภิญโญ   และคลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

6. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องกระบวนการผลิต ข้าวตังหมูหยองสู่การเป็นสินค้าชุมชน ปีงบประมาณ 2553   สมาชิก อสวท.ที่ผลักดัน : นางสาวจิตติมา ทรัพย์สมบูรณ์  และคลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยนเรศวร

7. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการพัฒนาลวด ลายและแปรรูปเสื่อกก ประจำปีงบประมาณ 2553  สมาชิก อสวท.ที่ผลักดัน :  นางสาววราภรณ์ สิงห์มี  และคลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยนเรศวร

8. โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีสี ย้อมผ้าไหมด้วยวัตถุ ดิบธรรมชาติและวาดลวดลายบาติกเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ชุมชน  สมาชิก อสวท.ที่ผลักดัน : นายศักด์ดา นามโยธา  และคลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม

9. โครงการการใช้จุลินทรีย์โปรไบ โอติกทดแทนสาร ปฏิชีวนะในการเพาะเลี้ยงปลานิลเชิงธุรกิจ  สมาชิก อสวท.ที่ผลักดัน : นายวรพจน์ สว่างบุก  และคลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี

10. โครงการขยายพันธุ์ขิงด้วย วิธีการเพาะเลี้ยง เนื้อเยื่อเพื่อผลิตต้นพันธุ์เชิงการค้า  สมาชิก อสวท.ที่ผลักดัน : นายสุดใจ เต็กหลี  และคลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

11. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการ ผลิตนำส้มควันไม้ เพื่อใช้ทดแทนสารเคมีกำจัดศัตรูพืช  สมาชิก อสวท.ที่ผลักดัน : นางสาวกฤษณา เขียวมณี  และคลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี

12. โครงการผลิตแก๊สชีวภาพแบบถุง หมักพีวีซีเพื่อ เป็นแหล่งพลังงานสำหรับการนึ่งฆ่าเชื้อในกระบวนการพาะเห็ด  สมาชิก อสวท.ที่ผลักดัน  : นายอิ่นคำ กุณรินทร์  และคลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา  วิทยาเขตน่าน

13. โครงการปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด   สมาชิก อสวท.ที่ผลักดัน : นายศุภชัย อรพรม  และคลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฎเลย

14. โครงการแปรรูปสมุนไพร  สมาชิก อสวท.ที่ผลักดัน :  นางวรญา แสงไว  และคลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฎเลย

15. โครงการแก้ปัญหามลภาวะจากมูล สัตว์ ตำบลกุดจิก อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์   สมาชิก อสวท.ที่ผลักดัน : นางสาวกฤษฎา แก้วดี  และคลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์

16. โครงการแก้ปัญหามลภาวะจาก เปลือกมังคุด  สมาชิก อสวท.ที่ผลักดัน : นางรัชนี สุขสกุล  และคลินิกเทคโนโลยีวิทยาลัยประมงชุมพร       เขตรอุดมศักดิ์

นอกจากนี้ ยังมีโครงการที่เสนอโดยสมาชิก อสวท.และได้รับการสนับสนุนโดยใช้งบประมาณคลินิกเทคโนโลยี โครงการการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมอีก 7 โครงการ คือ

1. โครงการการพัฒนาเตยปาหนันแบบ ครบวงจร เพื่อยกระดับให้ได้มาตรฐาน  สมาชิก อสวท.ที่เสนอโครงการ : นางสาวจันทร์เพ็ญ ปูเงิน  คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง

2. โครงการพัฒนามีดพร้านาป้อแบบ ครบวงจร เพื่อยกระดับให้ได้มาตรฐาน  สมาชิก อสวท.ที่เสนอโครงการ : นายประเวช ชิตจันทร์  คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง

3.โครงการการพัฒนาแปรรูป ผลิตภัณฑ์อาหารจากปลา   สมาชิก อสวท.ที่เสนอโครงการ : นายสุวรรณ กุ้งอัญมณี  คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง

4. โครงการการพัฒนาอาหาร เพื่อทดแทนปลาเหยื่อในการเลี้ยงปลาเศรษฐกิจ   สมาชิก อสวท.ที่เสนอโครงการ : นายบรรจง นฤพรเมธี   คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง

5. โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกผักหวานป่า   สมาชิก อสวท.ที่เสนอโครงการ : นายสมบูลณ์ สังวรณ์  คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยบูรพา

6. โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการทำ ผลิตภัณฑ์ทำความ สะอาดผสมสารสกัดสมุนไพรเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต  สมาชิก อสวท.ที่เสนอโครงการ : นายวันชัย บัวทอง  คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยนเรศวร

7. โครงการการพัฒนาผลิตภัณฑผ้า ทอกลุ่มอาชีพ หัตถกรรม อุตสาหกรรมในครัวเรือน ตำบลนาบัว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก   สมาชิก อสวท.ที่เสนอโครงการ : นางสาววรรณชลี กุลศรีไชย และนายวชิรพงษ์ วงศ์ประสิทธิ์  คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยนเรศวร

 

ต่อมา จากการที่ได้ไปร่วมสังเกตุการณ์การรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีของสมาชิก อสวท.ที่จังหวัดตรังเมื่อเดือนกรกฎาคม 2553 ตามโครงการการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารราชการ ของคลินิก เทคโนโลยี    ซึ่งมีโครงการของสมาชิก อสวท. จังหวัดตรังได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการถึง 4 โครงการ  คือ 

1.โครงการพัฒนาเตยปาหนันแบบครบวงจร เพื่อยกระดับให้ได้มาตรฐาน

2. โครงการพัฒนามีดพร้านาป้อแบบครบวงจร เพื่อยกระดับให้ได้มาตรฐาน

3. โครงการพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารจากปลา

4. โครงการพัฒนาอาหารเพื่อทดแทนปลาเหยื่อในการใช้เลี้ยงปลาเศรษฐกิจ

ใคร่ขอถือโอกาสนี้เล่าสู่กันฟังถึงความรู้สึกของสมาชิก อสวท.ที่ริเริ่มผลักดันโครงการทั้ง 4โครงการ เมื่อได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีตามที่ต้องการ  ดังนี้

1. นางสาวจันทร์เพ็ญ  ปูเงิน  สมาชิก อสวท. พร้อมทั้งสมาชิกในชุมชนบ้านดุหุน ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง เล่าว่าทางกลุ่มได้มีการนำเตยปาหนัน ซึ่งเป็นพืชประจำถิ่นมาทำเป็นเครื่องจักสานใช้ในครัวเรือนสืบทอดภูมิปัญญามา หลายชั่วอายุคน  มีลายจักสานที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่สวยงาม ปราณีต   ต่อมาได้พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ประจำตำบล  แต่ยังขาดองค์ความรู้ในด้านการออกแบบ การทำลวดลาย การทำสี การบรรจุหีบห่อ และการจัดการตลาด  แม้จะมีการส่งออกจำหน่ายในต่างประเทศ แต่ก็ไม่สามารพัฒนา ขยายการผลิตการตลาดได้   ได้รับความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเมื่อราว 10 ปีก่อนหน้านี้ และในวันนี้ได้รับองค์ความรู้เพิ่มเติมจากคลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง  ซึ่งได้เชิญวิทยากรจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครจำนวน 4 ท่าน มาถ่ายทอดความรู้ โดยการสนับสนุนของกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี  จึงเป็นวัน ที่ได้รอคอยมานาน  คุณจันทร์เพ็ญและเพื่อนสมาชิกต่างก็ยินดีและพอใจในความรู้ที่ได้รับ  โดยวิทยากรได้กระตุ้นให้สมาชิกใช้ความคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ด้วยตนเอง  ทำให้ได้ผลงานสวยเก๋ ไม่ซำแบบกัน  จนผู้สังเกตุการณ์จากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอดที่จะทึ่งในความ สามารถของสมาชิกไม่ได้ 

2. นายประเวช  ชิตจันทร์  สมาชิก อสวท. และสมาชิกกลุ่มผลิตมีดพร้าบ้านนาป้อ  ต.ควนปริง  อำเเภอเมือง  จังหวัดตรัง เล่าว่า ทางกลุ่มผลิตมีดพร้าและสินค้าในกลุ่มมาเป็นเวลานาน  มีการส่งไปจำหน่ายในกว่า 50 จังหวัดทั่วประเทศ  แต่ประสบปัญหาคุณภาพยังไม่ได้มาตรฐาน 100 % จึงได้ร้องขอเทคโนโลยีที่จะช่วยแก้ปัญหาการผลิตจากคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง  ซึ่งได้เชิญวิทยากรจำนวน 3 ท่าน จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตสงขลา  มาให้ความรู้  นับตั้งแต่เรื่องของวัสดุ  การใช้ความร้อน การตีเหล็ก  การชุบมีด  ซึ่งคุณประเวชยอมรับว่า ได้เคยนำปัญหานี้เสนอหน่วยงานภาครัฐ หลายหน่วยงาน  หลายครั้ง เพิ่งได้รับการใส่ใจดูแล  และความรู้ที่ได้รับก็ช่วยเติมเต็มภูมิปัญญาที่มีอยู่  นั่นคือ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เขาและเพื่อนสมาชิกควรต้องรู้ ได้แก่ ความแตกต่างของวัสดุที่ได้มาแต่ละรุ่น  จะต้องคำนวณอัตราส่วนอย่างไร  การวัดอุณหภูมิความร้อนของไฟที่ใช้  จากเดิมที่ใช้การสังเกตุ   เทคนิคการชุบมีดที่ทำให้เหล็กแกร่งและเหนียว  มีความคมสมำเสมอ  คุณประเวชคาดหวังว่าความรู้ที่ได้รับจะทำให้เขาและเพื่อนสมาชิกสามารถพัฒนา ผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้นอย่างแน่นอน  และจะตั้งใจผลิตสินค้าที่ดียิ่งขึ้นให้สมกับที่รอคอยวันนี้มานาน

3. นายสุวรรณ  กุ้งอัญมณี  สมาชิก อสวท. และเพื่อนในชุมชนตำบลวังวน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง  ได้มีการเลี้ยงปลาเศรษฐกิจ เช่น การเลี้ยงปลานิลนำกร่อย  ซึ่งไม่เหม็นกลิ่นดิน  และมีราคาถูก จึงเป็นที่ยอมรับของตลาดซึ่งนิยมบริโภคปลาทะเลมากว่า  ให้เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งของผู้บริโภค  ทางกลุ่มต้องการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสัตว์นำที่เลี้ยง เพื่อแก้ปัญหาราคาตกตำ รวมทั้งการเก็บรักษาให้ได้นาน เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับชุมชน  ทางกลุ่มได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากวิทยากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง  นอกจากนี้ยังมีกลุ่มที่มีผลงานส่งโครงการสายใยรัก เข้าร่วมอบรมด้วย       ทำให้บรรยากาศการอบรมเป็นไปด้วยความคึกคักสนุกสนาน และได้รับความพึงพอใจจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

4. นายบรรจง นฤพรเมธี  สมาชิก อสวท. และเพื่อนในกลุ่มวิสาหกิจเลี้ยงปลาเศรษฐกิจบ้านพรุจูด  ตำบลบ่อหิน  อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ได้มีการเลี้ยงปลามาหลายปี ระยะหลังประสบปัญหาการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล มรสุม และทรัพยากรในทะเลมีจำนวนจำกัด ทำให้มีต้นทุนของปลาเหยื่อที่ใช้ในการเลี้ยงปลา  มีผลกระทบต่อต้นทุนการเลี้ยง และการจำหน่าย จึงต้องการองค์ความรู้ในการหาวัตถุดิบในท้องถิ่นมาจัดทำเป็นอาหารทดแทนปลา เหยื่อ เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนอาหารทีใช้เลี้ยงสัตว์นำ ทางกลุ่มได้รับความรู้ในการผลิตอาหารสัตว์น้ำโดยใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในท้อง ถิ่น จากการวิจัยของทีมวิทยากรจำนวน 3 ท่าน ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง สมาชิกได้รับการฝึกปฏิบัติอย่างทั่วถึง และเป็นที่พอใจของผู้เข้ารับการถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยถ้วนหน้า

หมายเลขบันทึก: 459266เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2011 10:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 16:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท