ยาเบาหวาน


กลไกการออกฤทธิ์

ยาเบาหวานมี 3 กลุ่ม ตามกลไกการออกฤทธิ์


1. Insulin secretagogue
ก. Sulfonylurea
1st generation
- Tolbutamide
- Chlorpropamide
- Tolazamide
- Acetohexemide
2nd generation
- Glyburide (Glibenclamide)
- Glipizide
- Glimepiride
ข. non-sulfonylurea
- Repaglinide
- Nateglinide


2. Insulin sensitizer
ก. Biguanides
- metformin
- Phenformin
- Buformin
ข. Thiazolidinediones
- Ploglitazone
- Rosiglitazone
- Troglitazone 


3. Alpha-glucosidase inhibitors
- Acarbose
- Miglitol

กลไกการออกฤทธิ์ของยา

1. insulin secretagogue
ก. sulfonylurea
1. กระตุ้นการหลั่ง insulin จาก beta cell ที่ตับอ่อน
โดยยาจะจับกับ Sulfonylurea receptor ที่ beta cell ซึ่ง receptor นี้จะติดต่อกับ potassium channel ทำให้ยับยั้ง K+ efflux ส่งผลให้เกิด depolarization เมื่อเกิด depolarization จะทำให้ voltage-gated Calcium channel เปิด Calcium เข้า เซลล์แล้วทำให้เกิดการหลั่ง insulin-containing granules ออกมา โดยวิธี exocytosis
2. ลด serum glucagons concentration กลไกยังไม่แน่ชัด แต่น่าจะเป็นผลมาจากการเพิ่ม การหลั่ง insulin และ somatostatin ซึ่งจะไปยับยั้งการหลั่ง glucagons จาก alpha cell
3. เพิ่มการทำงานของ insulin ที่ target tissue มีหลักฐานว่า sulfonylurea ทำให้มีการจับกัน ระหว่าง insulin กับ tissue receptor มากขึ้น นอกจากนี้การเพิ่มจำนวน insulin receptor ที่ target tissue ก็ทำให้ผลของ insulin ดีขึ้นด้วย
ข. non-sulfonylurea insulin secretagogues (Meglitinides)
- กลไกคือยับยั้ง K+ efflux ที่ K+ channel เช่นเดียวกับ sulfonylurea แต่ยากลุ่มนี้มี binding site ที่ไม่เหมือนกลุ่ม sulfonylurea binding site ของยากลุ่มนี้มี 2 ตำแหน่ง ตำแหน่งหนึ่งเป็นตำแหน่งเดียวกับ binding site ของ sulfonylurea อีกตำแหน่งหนึ่งเป็นตำแหน่งเฉพาะของมัน สิ่งที่แตกต่างอีกอย่างคือ ไม่มีผลโดยตรงต่อ insulin exocytosis เหมือนกับกลุ่มแรก ส่วนกลไกนอกจากนั้นเหมือนกันกับ sulfonylurea คือ การหลั่ง insulin จากตับอ่อน
- Onset เร็ว, peak concentration และ peak effect ภายใน 1 ชม.

2. insulin sensitizer
ก. Biguanides
- กลไกคือ 1. กระตุ้น glycolysis ในเนื้อเยื่อโดยตรง (เพิ่ม glucose uptake และ utilization) ทำให้ให้เพิ่มการกำจัดน้ำตาลออกจากเลือด
2. ลด hepatic gluconeogenesis
3. ชะลอการดูดซึม glucose ผ่านระบบทางเดินอาหารและเพิ่มการเปลี่ยน glucose เป็น lactate ที่ enterocyte 
4. ลดระดับ glucagons ในเลือด
5. เพิ่มการจับกันของ insulin และ insulin receptor, เพิ่ม insulin sensitizationที่ peripheral tissue 
ฤทธิ์ทั้งหมดนี้ทำให้ลด basal และ postpondial plasma glucose
- ยานี้ทำให้น้ำหนักลดลง (5-10 ปอนด์) อาจเนื่องมาจากทำให้คลื่นไส้, anorexia, การลดลงของระดับ insulin ใน plasma และการลด total cholesterol, LDL, triglyceride
- ยานี้ไม่ทำให้เกิด hyperglycemia
ข. Thiazolidinedione แต่ละชนิดมี range of pharmacologic action และ adverse effects ที่แตกต่างกัน
- กลไกคือ 1. เพิ่ม insulin sensitivity ที่ target tissue
2. ลด hepatic gluconeogenesis, มีผลต่อ lipid metabolism โดยลด free fatty acid
3. ลด insulin resistance โดยการเพิ่ม glucose uptake และเพิ่ม metabolism ในกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อไขมัน
4. chronic effect ต่อ transcription ของ gene ที่เกี่ยวข้องกับ metabolism ของ glucoseและไขมัน โดยผ่านทาง peroxisome proliferator-activated receptor, gamma nuclear receptor
5. เพิ่ม glucose transporter expression (GLUT 1 และ GLUT 4)
- ยานี้ทำให้เกิด redistribution ของ body fat โดยการลดลงของ visceral fat และเพิ่ม differentiation ของ peripheral small adipocytes ไปเป็น adipocyte ทำให้ไขมันในชั้น subcutaneous เพิ่มขึ้น แต่โดยรวมแล้วไม่ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
- ยานี้ไม่ทำให้เกิด hypoglycemia 
- การรักษาในระยะยาวทำให้ TG ลดลง และ HDL, LDL เพิ่มขึ้นเล็กน้อย

3. Alpha-glucosidase inhibitors
- กลไกคือ 1. เป็น competitive inhibitors ของ Alpha-glucosidase (sucrase, maltase, glycosamylase, dextranase, isomaltase) ที่ brushborder ของลำไส้เล็ก ซึ่ง Alpha-glucosidase เป็น enzyme ที่ย่อย complex starch, oligosaccharide, disaccharide ดังนั้น ยานี้จึงทำให้ลดการย่อยและการดูดซึมที่ลำไส้เล็กส่วนต้น
2. เปลี่ยนแปลง postprandial digestion และ absorption ของแป้งและน้ำตาล โมเลกุลคู่
3. ลดระดับ glucose หลังรับประทานอาหาร (postprandial glucose) 45-60 mg/dl โดยมีผลเล็กน้อยต่อระดับ fasting plasma glucose 
- monotherapy ทำให้ HbAlc ลดลง 0.5-1% และระดับ glucose ลดลง 20-25 mg/dl 

 


http://www.geocities.ws/amolayas/8.html

หมายเลขบันทึก: 459223เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2011 00:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 21:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท