ผู้ใหญ่อย่างเรา...รู้หรือเปล่า...สิทธิเด็ก คืออะไร ?


สิทธิเด็กคืออะไร...เขาควรได้รับสิทธิ์ในเรื่องไหนบ้าง....ผู้ใหญ่อย่างเราควรหันกลับไปมอง....

ข้าพเจ้ามีโอกาสเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ จัดเตรียมแหล่งเรียนรู้/ห้องเรียนเพื่อการเรียนรู้อาเซียน โรงเรียนผู้นำ ICT โรงเรียนในฝัน และโรงเรียนเครือข่าย วันที่ 5-7 กันยายน 2554 ณ โรงแรมชลพฤกษ์รีสอร์ท จังหวัดนครนายก มีการประชุมครูและนักเรียนแกนนำ ในการทำ Work shop การเตรียมการรับการก้าวสู่ ASEAN และหนึ่งในนั้นมีการพูดถึงสิทธิเด็ก (Child's Right )  ข้าพเจ้าจึงได้สืบค้นข้อมูลเพื่อความเข้าใจจึงเก็บอาสาระสิทธิเด็กมาฝาก

    

                              สิทธิเด็ก

เด็กทุกคนที่เกิดมาต้องการความรักและความเอาใจใส่จากพ่อแม่และผู้ใหญ่ในสังคม นอกจากนี้พ่อแม่ผู้ใหญ่ก็จะต้องปฏิบัติต่อเด็กในฐานะที่เป็นมนุษย์ด้วยกัน
ต้องไม่ดูถูกเหยียดหยามเด็กที่มีเชื้อชาติ หรือสีผิว หรือมีฐานะแตกต่างไปจากตน ไม่ว่าจะใช้ความรุนแรงรูปแบบต่างๆ ต่อเด็กพ่อแม่หรือผู้ใหญ่ต้องทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีและกระทำในสิ่งที่จะเป็นประโยชน์ต่อเด็ก ทั้งนี้เพื่อทำให้เด็กอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขและเติบโตเป็นคนดีของสังคม

สิทธิขั้นพื้นฐานของเด็ก

เด็กทุกคนไม่ว่าจะเป็นเด็กที่ด้อยโอกาสในลักษณะใดก็ตามเช่น เด็กพิการ เด็กที่ถูกทอดทิ้ง เด็กเร่ร่อน เด็กถูกทารุณกรรมเด็กที่ถูกใช้แรงงานอย่างผิดกฎหมาย และโสเภณีเด็ก จะต้องได้รับสิทธิพื้นฐาน 4 ประการ ดังนี้

1.สิทธิในการมีชีวิต
เด็กทุกคนเมื่อเกิดมาแล้วจะมีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ไม่ว่าจะเกิดมามีร่างกายที่สมบูรณ์หรือไม่ก็ตาม โดยเด็กที่เกิดมาต้องได้รับการจดทะเบียนการเกิด มีสิทธิที่จะได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีที่สุด ทั้งด้านสุขภาพร่างกาย จิตใจ ที่พักอาศัย โภชนาการและการบริการทางการแพทย์เมื่อป่วยไข้ โดยบิดา มารดา ญาติพี่น้องหรือรัฐ เพื่อให้อยู่รอดและเจริญเติบโต สิทธิในการมีชีวิต เช่น สิทธิรับวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ สิทธิที่จะได้รับอาหารในปริมาณที่เพียงพอและสะอาด สิทธิที่จะได้รับปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค เป็นต้น

2. สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองจากกฎหมาย เป็นสิทธิที่เด็กได้รับปกป้องคุ้มครองจากการทารุณกรรมทุกรูปแบบ เช่น

- การทารุณกรรมทางร่างกาย
เป็นการกระทำต่อร่างกายเด็กที่เกิดจากการถูกทำโทษที่รุนแรงเกินไปทำให้เด็กได้รับความเจ็บปวด เกิดบาดแผล หรือรอยฟกซ้ำ เช่น เฆี่ยนตี ตบ เตะ ต่อย กระชาก กักขัง จับมัด เป็นต้น

- การทารุณกรรมทางด้านจิตใจ
เป็นการกระทำที่แสดงด้วยวาจาหรือท่าทาง ทำให้เด็กรู้สึกขาดความรัก น้อยใจ เสียใจ เกิดความหวาดระแวง เกิดความรู้สึกไม่ดีต่อตนเอง เช่น การดุด่า ตะคอก ประจาน เป็นต้น ซึ่งการกระทำดังกล่าวมีความรุนcรงมากกว่าการว่ากล่าวตักเตือนหรือสั่งสอนโดยปกติ

- การล่วงเกินทางเพศ
เป็นการกระทำที่หาประโยชน์ทางเพศกับเด็กโดยที่เด็กไม่รู้สึกว่าเดือดร้อนเพราะไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นแต่จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาการทางบุคลิกภาพที่ผิดปกติ เช่นการแอบดูเด็กขณะที่อาบน้ำ การมีเพศสัมพันธ์กับเด็ก เป็นต้น

- การใช้แรงงานเด็ก
เป็นการแสวงหาผลประโยชน์จากการทำงานของเด็ก ทำให้เด็กขาดการเรียนรู้ การศึกษาการพัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจ ศีลธรรมและสังคมของเด็กในปัจจุบันกฎหมายแรงงานของไทยกำหนดตามพระราชบัญญัติ

3.สิทธิในด้านพัฒนาการ เด็กทุกคนจะได้รับสิทธิให้มีสภาพความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับพัฒนาการด้านร่างกาย จิตใจ สังคม รวมถึงความต้องการ ความพึงพอใจ และความสุขของเด็ก ได้แก่การมีส่วนร่วมในกิจกรรมครอบครัว ของโรงเรียน และสังคมที่เด็กอยู่ได้อย่างมีความสุขได้มีโอกาสเล่น พักผ่อน ได้รับข้อมูลข่าวสาร มีอิสระในการคิดและการแสดงออกได้รับการกล่อมเกลาทางด้านจิตใจ ความรู้ ความคิดที่เหมาะสมกับวัย ที่สำคัญที่สุดเด็กทุกคนต้องได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี

4.
สิทธิในการมีส่วนร่วม

เป็นสิทธิที่ให้ความสำคัญกับการแสดงออกทั้งในด้านความคิดและการกระทำของเด็กในการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่อาศัยอยู่รวมทั้งสิทธิในการปกป้องเรียกร้องผลกระทบที่เกิดกับชีวิตความเป็นอยู่ของเด็กด้วยการอนุญาตให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องกับตนเองและสามารถแสดงความคิดเห็นโดยไม่กระทบสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น


แนวทางการแก้ไขการละเมิดสิทฺธิเด็ก

1. การสร้างความรักความอบอุ่นให้เกิดในครอบครัว

2. การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้ทุกในสังคม

3. ช่วยกันแจ้งเบาะแสการทารุณเด็กให้เจ้าหน้าที่ทราบ

4. ผู้ใหญ่ควรเป็นแบบอย่างที่ดี พูดจาอ่อนโยนไม่ทอดทิ้งพร้อมยืนเคียงข้าง ให้กำลังใจเด็กที่ประสบปัญหา

หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือเด็ก

หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือเด็กมีดังนี้

1. มูลนิธิคุ้มครองเด็ก จัดตั้งเพื่อให้การป้องกัน คุ้มครอง ช่วยเหลือ ฟื้นฟู
และพัฒนาเด็กไทยที่ประสบภาวะทุกข์ยาก ถูกทอดทิ้งในสังคม

2. มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก เป็นโครงการหนึ่งของมูลนิธิเด็กจนกระทั่งได้ก่อตั้งเป็นมูลนิธิศูนย์พิทักษ์เด็ก เมื่อ พ.ศ. 2540 มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือ ปกป้องคุ้มครองเด็กที่ถูกละเมิดสิทธิตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 18 ปี เช่นการถูกทำร้ายร่างกาย การถูกละเมิดล่วงเกินทางเพศ การล่อล่วงบังคับให้ค้าประเวณี การใช้แรงงานเด็กอย่างไม่เป็นธรรม เป็นต้น

3. มูลนิธิปวีณา หงสกุล เป็นมูลนิธิที่จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ด้อยโอกาสที่ถูกละเมิดสิทธิ ถูกทารุณกรรมในรูปแบบต่างๆ ตลอดจนการฟื้นฟูด้านร่างกายและจิตใจ

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเด็ก

บทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเด็กที่ได้กำหนดไว้เพื่อคุ้มครองเด็กในประเทศไทย ที่สำคัญ ได้แก่

1.บทบัญญัติเกี่ยวกับการพิทักษ์คุ้มครองสิทธิเด็ก
บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้กำหนดเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเด็กไว้มากมาย ซึ่งรวมทั้งเด็กปกติ เด็กพิการ ทุพพลภาพ และเด็กด้อยโอกาสในสังคม

2. อนุสัญญาสิทธิเด็ก
ซึ่งประเทศไทยให้การรับรองไว้ใน พ.ศ. 2535

3.กฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิเด็กโดยทั่วไป เช่น กฎหมายแรงงานและพระราชบัญญัติการปราบปรามการค้าประเวณี มีบทบัญญัติไม่ให้ใช้บริการต่อเด็กหรือผู้เยาว์โดยมีโทษตามกฎหมาย


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.maceducation.com/e-knowledge/2363104100/02.htm

 

คำสำคัญ (Tags): #สิทธิเด็ก ASEAN
หมายเลขบันทึก: 458939เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2011 14:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 16:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • ตามมาอ่านคุณครูหายไปนาน
  • สบายดีไหมครับ

สวัสดีค่ะ อ.ขจิต

ต้องขอโทษที่หายไปนาน ด้วยภาระหน้าที่

เพราะเลี้ยงลูกคนเดียว สามีไปบรรจุโรงเรียนอื่นก็เลย ขาดหายไป

ขอบคุณอาจารย์มากๆนะคะทีทักทย ถามข่าวครวมาค่ะ

มาสนับสนุนบันทึกนี้คะ

เป็นกำลังใจให้ครับคุณครู

ขอบคุณทุกท่านนะคะที่แวะมามักมาย ให้กำลังใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท