การเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม


การเก็บรวบรวมข้อมูลทั่วไปมี 3 วิธี คือ การสังเกต (observation) การสัมภาษณ์ (interview) และการใช้แบบสอบถาม (questionnaire)

การเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม

  หากผู้วิจัยมีความประสงค์ที่จะได้ข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็น  ทัศนคติ และข้อมูลทางด้านคุณภาพ การเก็บข้อมูลภาคสนาม  เป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่เป็นจริงมากที่สุด  โดยวิธีที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลทั่วไปมี 3 วิธี คือ การสังเกต (observation) การสัมภาษณ์ (interview) และการใช้แบบสอบถาม (questionnaire)  ซึ่งแต่ละวิธีมีเทคนิคแตกต่างกันออกไป  ทั้งนี้เพื่อจะช่วยให้ได้ข้อมูลสนามตรงตามความประสงค์ของผู้วิจัยมากที่สุดเท่าที่สามารถจะทำได้  กล่าวคือ

 1.)  การสังเกต

          การสังเกต  คือ การศึกษาให้ทราบถึงลักษณะปัจจัยหรือความแปรเปลี่ยนของสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นประเด็นเกี่ยวข้องกับปัญหาในการวิจัยหรือเรื่องที่จะวิจัย กล่าวโดยย่อ การสังเกต คือ การพิจารณาปรากฏการณ์ต่าง ๆนั่นเอง

2.)  การสัมภาษณ์

           การสัมภาษณ์เป็นวิธีการที่มีระเบียบแบบแผนอย่างหนึ่ง  ที่จะนำไปใช้ในการสำรวจข้อเท็จจริงจากภาวะความเป็นอยู่ในสังคม  โดยการพบปะสนทนาโดยมีจุดมุ่งหมายระหว่างผู้ที่ต้องการทราบเรื่องราวซึ่งเรียกว่า ผู้สัมภาษณ์ (interviewer) กับผู้ให้เรื่องราวซึ่งเรียกว่า ผู้ให้สัมภาษณ์ (interviewer) การสัมภาษณ์เป็นกระบวนการสื่อสารระหว่างบุคคล  2 คน ด้วยวิธีการพบปะกับผู้ให้ข่าวโดยตรง (face to face) ฉะนั้น การใช้วิธีสัมภาษณ์ได้ยินเสียง  ได้อยูใกล้ชิดและได้ซักไซร้ ผู้ให้สัมภาษณ์  ทำให้ได้ความกระจ่างในประเด็นต่าง ๆของข้อมูลเพิ่มขึ้น

3.) การใช้แบบสอบถาม

            การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามส่งไปให้กลุ่มตัวอย่างตอบ เป็นวิธีที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเพราะเป็นวิธีที่ทำได้ง่าย  ไม่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก  ประหยัดเวลา  แรงงาน  และค่าใช้จ่ายมากกว่า  การสังเกตหรือการสัมภาษณ์   มีรัศมีทำการไกล  กว้างขวาง  เป็นแบบเดียวกัน  สะดวกต่อการวิเคราะห์และการเก็บไว้เป็นหลักฐานได้นาน  นอกจากนี้  ในวงการวิจัยยังใช้แบบสอบถามเป็นแนวในการสัมภาษณ์  หรือสัมภาษณ์ตามแบบสอบถาม  ซึ่งทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องเพิ่มขึ้นอีก  หรือใช้เป็นแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต  ทำให้ได้ข้อมูลกว้างขวางละเอียดลึกลงไปในสิ่งที่ต้องทราบ

หมายเลขบันทึก: 458782เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2011 22:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 12:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท