หนังสือเสิรมประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย


หนังสือเสริมประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย

     หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๔๖ กำหนดหลักการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยอายุ ๓-๕ ปี เพื่อพัฒนาเด็กเป็นองค์รวมอย่างต่อเนื่อง ในรูปแบบบูรณาการไม่สอนเป็นรายวิชา ยึดหลักการบูรณาการที่ว่าหนึ่งแนวคิดเด็กสามารถเรียนรู้ได้หลายกิจกรรม หนึ่งกิจกรรมเด็กสามารถเรียนรู้ได้หลายทักษะและหลายประสบการณ์สำคัญ การที่เด็กมีโอกาสได้เลือกอ่านหนังสือบ่อย ๆ จะทำให้เด็กคุ้นเคยกับการใช้หนังสือและคุ้นเคยกับตัวหนังสือ สิ่งสำคัญที่ควรตระหนัก คือ หากเด็กมีประสบการณ์ที่ดีและมีความสุขในการใช้หนังสือจะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยปลูกฝังให้เด็กมีนิสัยรักการอ่านได้อย่างดียิ่ง

. คุณสมบัติหนังสือเสริมประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย สิ่งที่ควรคำนึงถึง

     ๑.๑ สอดคล้องกับหลักการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย

     ๑.๒ ตรงกับจุดมุ่งหมายและเรื่องที่สอน ให้ประสบการณ์พื้นฐานที่สอดคล้องต่อการเรียนรู้ของเด็กเมื่อเข้าสู่วัยที่สูงขึ้น

     ๑.๓ เหมาะสมกับวัยและความสามารถของเด็กอายุ ๔-๕ ปี เด็กวัยนี้เป็นวัยที่อยากรู้อยากเห็น  ต้องการที่จะรู้ว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้มาจากไหน ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เช่นนี้ ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น อย่างนี้สิ่งนี้มีความเป็นมาอย่างไร วันนี้เริ่มจะเข้าใจข้อแตกต่างระหว่างความจริงและเรื่องสมมติ นิทานที่เหมาะสำหรับเด็กวัยนี้ ควรจะเป็นเรื่องสั้น เข้าใจง่าย มีตัวละครตัวเอกเพียงตัวเดียว และตัวละครร่วมอีก ๒-๓ ตัว เรื่องที่ส่งเสริมจินตนาการและอิงความจริงอยู่บ้างอายุ ๕-๖ ปี เด็กวัยนี้เริ่มสนใจโลกของความเป็นจริง แยกอดีตปัจจุบันได้ รู้จักสิ่งแวดล้อมที่ห่างตัวมากขึ้น เริ่มเข้าใจว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่เป็นศูนย์กลางของทุกสิ่งทุกอย่างเช่นแต่ก่อน เนื้อหาของเรื่องควรส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาด้วย จะเป็นเรื่องจริงในปัจจุบัน หรือเป็นเรื่องประเภทวีรบุรุษทั้งหลายก็ได้

     ๑.๔ เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นที่เด็กอยู่

     ๑.๕ วิธีการใช้ง่าย และนำไปใช้ได้หลายกิจกรรม

     ๑.๖ หลากหลายประเภท หลากหลายผู้แต่ง และผู้วาดภาพประกอบ  เช่น

          (๑) หนังสือภาพที่ไม่มีข้อความหรือตัวหนังสือ

          (๒) หนังสือที่สามารถคาดเดาเหตุการณ์หรือเนื้อหาได้ล่วงหน้า

          (๓) หนังสือที่เป็นเรื่องราวมีข้อความบรรยาย

          (๔) หนังสือกลอนหรือคำคล้องจอง

          (๕) นิทานอีสป (ควรเป็นหนังสืออีสปที่จบโดยไม่ต้องมีข้อสรุป  แต่ส่งเสริมให้เด็กหาข้อสรุปเอง และผู้ใหญ่หรือผู้สอนเป็นผู้กระตุ้นให้เด็กคิดในทางบวกและตามความเป็นจริง

          (๖) วรรณกรรมสำหรับเด็ก

          (๗) นิทานชาดกซึ่งสอนคุณธรรมในด้านความดีและความไม่ดี

          (๘) สารานุกรมภาพสำหรับเด็ก

          (๙) เรื่องที่อธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก เช่น สัตว์ พืชบุคคล

          (๑๐) เรื่องที่มีตัวเอกเป็นวีรบุรุษ หรือวีรสตรี ประวัติชีวิตบุคคล

          (๑๑) เทพนิยายที่มีคติสอนใจ ตำนาน

          (๑๒) เรื่องที่แต่งขึ้นใกล้เคียงกับการใช้ชีวิตจริงของเด็ก(๑๓) เรื่องราวในประวัติศาสตร์หนังสือที่ถ่ายทอดเรื่องราวทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย

          (๑๔) หนังสือที่แสดงวิธีการทำหรือประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ

          (๑๕) นิตยสารสำหรับเด็ก

          (๑๖) หนังสือเสริมประสบการณ์รอบตัว

          (๑๗) หนังสือภาพสามมิติ

          (๑๘) หนังสือที่มีเสียงประกอบ หนังสือพลาสติก หนังสือผ้า  หนังสือที่ผลิตจากวัสดุอื่นที่ไม่เป็นอันตราย หนังสือรูปทรง  ขนาด ผิวสัมผัสที่แตกต่างกันทำให้เกิดการเปรียบเทียบจัดหมวดหมู่ฯลฯ

     ๑.๗ ภาพชัดเจนเหมาะสมกับวัยเด็ก ออกแบบรูปภาพอย่างเรียบง่ายให้เรื่องราวต่อเนื่อง และต้องไม่เป็นภาพที่ทำให้เด็กเกิดความหวาดกลัว สีถนอมสายตาและไม่ใช้สีสะท้อนแสง มีช่องว่างพักสายตาขนาดเหมาะสม

     ๑.๘ เนื้อเรื่องไม่ยากเกินไป ไม่สลับซับซ้อน ไม่สับสนวกวน

     ๑.๙ ภาษาที่ใช้ควรมีลักษณะดังเช่นภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ภาษาสัญลักษณ์ส่งเสริมให้เด็กมีจินตนาการ ภาษาที่มีคำคล้องจองเพราะเด็กจะสร้างรูปแบบในสมอง ฯลฯ

     ๑.๑๐ จำนวนหน้าและจำนวนคำศัพท์เหมาะสมกับวัย

     ๑.๑๑ ขนาด

          (๑) ขนาดรูปเล่มมีลักษณะจูงใจให้เด็กเกิดความสนใจ เหมาะสมกับวัยของเด็ก

          (๒) ขนาดของตัวอักษรเหมาะสมกับขนาดของรูปเล่ม๑.๑๒ ชนิดของกระดาษควรเป็นกระดาษชนิดดีเช่น กระดาษปอนด์  กระดาษอาร์ต ฯลฯ

     ๑.๑๒ ชนิดของกระดาษควรเป็นกระดาษชนิดดี เช่น กระดาษปอนด์กระดาษอาร์ต ฯลฯ

     ๑.๑๓ วิธีการนำเสนอส่งเสริมให้เด็กมีโอกาสฝึกคิดเป็น ทำเป็น และกล้าแสดงความคิดเห็นด้วยความมั่นใจ

. แนวทางการเลือกหนังสือเสริมประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย

     ๒.๑ เลือกจากตัวอย่างหนังสือนิทานที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย จำนวน ๔๖๕ รายการ ซึ่งได้รวบรวมจากการพิจารณาคัดเลือกของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จำนวน ๙ แห่ง หรือ

     ๒.๒ เลือกจากรายชื่อหนังสือเสริมประสบการณ์เล่มอื่น ๆ ที่มีคุณสมบัติส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๔๖ และคุณสมบัติหนังสือเสริมประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยที่เสนอแนะในข้อ ๑

. ข้อเสนอแนะ

     ๓.๑ ควรเลือกหนังสือเสริมประสบการณ์ที่หลากหลายประเภทมีความหลากหลายในด้านของผู้แต่ง ผู้วาดภาพประกอบและเนื้อหาการเรียนรู้เพราะจะช่วยให้เด็กมีโอกาสอ่านหนังสือเสริมประสบการณ์ที่หลากหลายและเกิดการเรียนรู้ได้มากที่สุด

     ๓.๒ จำนวนหนังสือเสริมประสบการณ์ควรเพียงพอกับจำนวนเด็ก

 

อ้างอิงจาก  :  แหล่งที่มา

http://thainews.prd.go.th/small_head/ourthaigov/pic/free.pdf

หมายเลขบันทึก: 458777เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2011 22:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท