การพัฒนาภาวะผู้นำของหัวหน้างานสมัยใหม่


การพัฒนาภาวะผู้นำของหัวหน้างานสมัยใหม่

ปัจจุบันองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน  ต่างก็มีการปรับตัวกันอย่างขนานใหญ่  และแน่นอนว่าย่อมมีการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร  ไม่ว่าจะเป็นการปรับโครงสร้างของสายงาน  ปรับลดจำนวนพนักงาน  ปรับหน้าที่ความรับผิดชอบงาน  มีการตื่นตัวในเรื่องของการใช้เครื่องมือในการบริหารและวัดผลในหลาย ๆ แบบ  มีการกำหนดแผนงานและเป้าหมายของการทำงานแต่ละฝ่ายงานไปจนถึงแต่ละบุคคล  ไปจนถึงการใช้ระบบการจ่ายผลตอบแทนแบบ Pay for performance เป็นต้น   การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีผลกระทบต่อพนักงานในองค์กรทุกระดับ  โดยเฉพาะในแง่ของความรู้สึกถึงความมั่นคงในอาชีพงานที่ทำอยู่  จนบางครั้งเกิดความไม่แน่ใจ  เกิดความเครียด  มีการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงทั้งต่อหน้าและลับหลัง  ขาดความร่วมมือฯลฯ   สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ย่อมส่งผลเสียหายต่อองค์กรเป็นอย่างยิ่ง  ความจำเป็นของผู้บริหารหรือหัวหน้างานในทุกระดับ  จึงมีบทบาทที่สำคัญที่จะนำทีมงานของตนเองไปสู่ความสำเร็จ  ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น  และนี่คือความท้าทายในอนาคตของผู้นำที่จะต้องเผชิญ...

วัตถุประสงค์ของบทความนี้

          ผู้เขียนตั้งใจว่าจะให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงแนวคิดและบทบาทของหน้าที่ผู้นำ  ได้พัฒนาด้านทักษะการสื่อสารกับ “คน” ในเรื่องของ

- ทัศนคติเชิงบวก (Positive attitude)

- การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Chang Management)

- การจูงใจ (Motivation)

- การบริหารทีม (Team Management)

- การจัดการความขัดแย้ง (Conflict Management)

- การสอนงาน (Coaching)

- การมอบหมายงาน (Delegation)

- การรับรู้ถึงผลย้อนกลับ (Feedback)

          แต่การพัฒนาภาวะผู้นำของหัวหน้างานถ้าจะให้ได้ผลจริงๆ  จะต้องมีการทำ Workshop เพื่อละลายพฤติกรรม มี Role Play  เพื่อให้พบกับสถานการณ์จำลอง ปรับทัศนคติและแนวทางปฏิบัติ  ซึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ถึง 3 วัน  ดังนั้นบทความนี้จึงเป็นได้แค่เพียงเล่าสู่กันฟัง  เพื่อให้เกิดแนวคิดและปัญญา  กลับมามองตนเองหรือมองไปรอบ ๆ ตัว  เพื่อที่จะได้เข้าใจถึงบทบาทที่ควรจะเป็น  และปรับปรุงตนเองให้อยู่ในจุดที่สมดุล  ไม่ยึดติดกับแนวคิดและวิธีการเก่าๆ  เพราะความสำเร็จในอดีต  มันอาจจะไม่ใช่เป็นสิ่งที่ถูกต้องสำหรับอนาคต  แม้จะอ่านมามากแค่ไหน  แต่ก็ไม่มีอะไรดีกว่าที่ได้ลองลงมือปฏิบัติจริง  ดังนั้นการสัมมนาเชิงปฏิบัติจึงมีความจำเป็นสำหรับหลักสูตร Leadership Development ที่ได้ผล

 

คำคม คำคน

Charles Handy: คุณไม่สามารถมองอนาคตว่า เป็นความต่อเนื่องจากอดีต เพราะว่าอนาคตจะแตกต่างออกไป และเราต้องเลิกเรียนรู้วิธีการที่เราจัดการในอดีตเพื่อจัดการกับอนาคต

Peter Senge: เราต้องยุติความพยายามที่จะคาดคะเนถึงสิ่งที่จะทำ  ด้วยการดูในสิ่งที่เราทำมาแล้ว

Michael Hammer: ถ้าคุณคิดว่าคุณทำดีอยู่แล้วคุณจะตายได้  ความสำเร็จในอดีตมิได้เป็นนัยสำคัญสำหรับความสำเร็จในอนาคต สูตรสำเร็จของเมื่อวานนี้เป็นแค่การรับประกันถึงความล้มเหลวในวันพรุ่งนี้

 

 

ความท้าทายของผู้นำในวันนี้

  • §         ลักษณะงานเปลี่ยนไปหลายๆคนขาดทักษะและความรู้ในการทำงานแบบใหม่
  • §         การต่อต้านจากวัฒนธรรม วิธีปฏิบัติ แนวคิด แบบเดิม
  • §         ความเครียดของลูกน้อง ที่เกรงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง
  • §         ลูกน้องที่รับเข้ามาใหม่ ๆ มีการศึกษาสูงขึ้น มีความมั่นใจในตัวเองสูง
  • §         ลูกน้องต้องการทำงานที่มีความท้าทายมากขึ้น
  • §         ลูกน้องต้องการมีส่วนร่วมในการทำงานมากขึ้น
หมายเลขบันทึก: 458564เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2011 09:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 เมษายน 2012 17:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท