KM....ใต้แสงเทียน


ท่องเที่ยวชุมชน...เครื่องมือสร้างการเรียนรู้ร่วมกันของคนสามวัยบ้านแม่ละนา

KM...ใต้แสงเทียน         

 ท่องเที่ยวชุมชน...เครื่องมือสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน

จากเช้าจรดเย็นของวันที่ 14 สิงหาคม หลังจากกลุ่มเพื่อนเรียนรู้เพื่อการพัฒนา ชักชวนภาคี อย่าง อบต.ปางมะผ้า เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน  มาเล่าถึงบทบาทหน้าที่และการทำงานที่เชื่อมโยงกันอย่างไรกับงานพัฒนาที่กลุ่มเพื่อนเรียนรู้ฯทำอยู่  ภาพที่เห็นโดยรวม อบต.ไหนเข้าใจก็ให้การสนับสนุนด้วยดี แต่มีไม่น้อยที่ยังไม่เข้าใจและยึดติดกับอำนาจเข้าไม่ถึงความต้องการที่แท้จริงของชุมชน  แนวโน้มเป็นไปด้วยดี  ฝ่ายเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร(ที่ปางมะผ้ามีคนเดียว) ก็ให้การสนับสนุนด้วยดีเพราะถือเป็นการทำงานร่วมกัน ชุมชนก็ได้ประโยชน์เกษตรก็ได้ผลงานตามภารกิจ 

ตกเย็น...ไปพักโฮมสเตย์บ้านแม่ละนา พร้อมกับสายฝนกระหน่ำ เสียงฟ้าคำรามนานนับชั่วโมง และที่สำคัญ "ไฟดับ" ซึ่งเป็นเรื่องปกติของที่นี่ดับทีบางครั้งก็สองสามวัน  พี่หนาน (จำเริญ  วงศ์จันทร์) เจ้าของบ้านที่พักแรมในคืนนี้ บอกว่าถ้าฝนตกหนักอย่างนี้หลาย ๆ ชั่วโมงก็น่าเป็นห่วงว่าประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย

<p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">เพราะในช่วงเดียวกันของปีก่อน หมู่บ้านบริเวณนี้ถูกกระแสหน้าป่าทะลักลงมาทำลายบ้านเรือนริมน้ำและท่วมทั้งหมู่บ้าน  จนหลายครอบครัวย้ายไปอยู่บนที่สูง และยังปรากฎซากความเสียหายให้เห็นอยู่ รวมทั้งบ้านพี่หนาน และพี่เทียนทอง ประธานกลุ่มท่องเที่ยวฯด้วย</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"></p>

บ้านพี่หนานเป็นหนึ่งในจำนวนมากกว่า 20 หลังคาเรือน ของโฮมสเตย์บ้านแม่ละนา ที่ชุมชนจัดการกันเอง โดยมีบรรดาผู้เฒ่า (ชมรมผู้สูงอายุ) คอยให้คำแนะนำในการจัดการท่องเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยวที่มาโดยเฉพาะกิจกรรมเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณี ว่า อันไหนเป็นการละเล่นที่สามารถจัดให้นักท่องเที่ยวได้  อันไหนเป็นประเพณีที่ต้องถือปฎิบัติอย่างเคร่งครัด ไม่ใช่เอามาจัดแสดงกันได้ทุกโอกาส  เรียกง่าย ๆ ว่ากิจกรรมท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นล้วนต้องผ่านความเห็นชอบเห็นเหมาะเห็นควรจาก ผู้เฒ่าเสียก่อน เพื่อรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมของชุมชน  และกว่าจะมาถึงจุดนี้เขาผ่านประสบการณ์ทำจริง เรียนถูกเรียนผิดมา 7 ปี จึงเกิดผลของการจัดการอย่างเป็นระบบในปัจจุบัน และเป็นลักษณะวงจรเรียนรู้ของคนในชุมชนที่มีความหลากหลายชาติพันธ์ หลายกลุ่มกิจกรรม ทุกเรื่องล้วนเชื่อมโยงกันโดยมีผู้สูงอายุเป็นศูนย์กลาง เป็นแหล่งความรู้ ที่พวกเขาสอบทานกันจนเกิดองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ ของชุมชนที่ตระหนักกันว่าต้องอนุรักษ์ ฟื้นฟู  และสืบทอด   ส่วนการท่องเที่ยวเป็นกิจกรรมหนึ่งของการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และสืบทอด รวมทั้งอธิบายกับคนภายนอก(นักท่องเที่ยว)ให้เข้าใจ ตัวตนของชุมชน และปฏิบัติตัวได้อย่างสอดคล้องกับกฎระเบียบของชุมชนที่ต้องรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรท่องเที่ยว และทรัพยากรชีวิต (วิถีชีวิต) เป็นการท่องเที่ยวเพื่อแลกเปลี่ยนและเรียนรู้กัน

</span></span>

คำสำคัญ (Tags): #ร่องรอย
หมายเลขบันทึก: 45849เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2006 19:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท