“7 Hurdles” กลไกขับเคลื่อน PBB


“7 Hurdles” กลไกขับเคลื่อน PBB

7 Hurdlesกลไกขับเคลื่อน PBB

มาตรฐานการจัดการทางการเงิน

การจัดทำงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน  จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพนั้น  สถานศึกษาต้องมีกลไกขับเคลื่อนไปในทิศทางที่ถูกต้องโดยอาศัยแนวทางการพัฒนาตามมาตรฐานการจัดการทางการเงิน 7 ด้าน  หรือที่เรียกว่า  7 Hurdles ดังนี้

1.  การวางแผนงบประมาณ  (Budgeting Planning) เริ่มต้นจากการวางแผนกลยุทธ์ของหน่วยงานประกอบด้วย  วิสัยทัศน์  พันธกิจ  เป้าประสงค์  ผลผลิตหลัก  กลยุทธ์  โครงสร้างแผนงาน  ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ  ของผลงานและการวางแผนงบประมาณระยะปานกลาง  (MTEF)

2.  การกำหนดผลผลิตและการคำนวณต้นทุน  (Output Specification and Costing) ในขั้นนี้เป็นการคำนวณต้นทุนในแต่ละผลผลิตที่ได้กำหนดมาแล้วว่าจะใช้ต้นทุนต่อหน่วยงานผลผลิตเท่าไร  ซึ่งมีการคิดทั้งต้นทุนทางตรงและต้นทุนทางอ้อม

3.  การจัดระบบการจัดซื้อจัดจ้าง  (Procurement Management) เป็นการพัฒนาระบบการจัดซื้อจัดจ้างให้มีประสิทธิภาพ  การจัดซื้อเน้นความคุ้มค่าของการใช้จ่ายเงิน

4.  การบริหารทางการเงินและการควบคุมงบประมาณ  (Financial Management / Fund Control) หน่วยงานจำเป็นต้องกำหนดรายการและโครงสร้างทางบัญชี  เอกสารหลักฐานที่จำเป็น  การปรับระบบบัญชีจากเกณฑ์เงินสดไปสู่ระบบเกณฑ์คงค้าง  มีระบบการควบคุมการเบิกจ่าย  และบริหารจัดการงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ

5.  การรายงานทางการเงินและผลดำเนินงาน  (Financial and Performance Reporting) ในกระบวนการรายงานต้องมีการกำหนดดัชนีชี้วัด  กรอบและโครงสร้างการประเมิน  และรายงานผลที่ชัดเจนและมีการรายงานทั้งการเงินและผลการดำเนินงาน

6.  การบริหารสินทรัพย์  (Asset Management) หน่วยงานมีระบบบริหารสินทรัพย์ที่มีประสิทธิภาพ  แสดงให้เห็นถึงการบริหารสินทรัพย์

7.  การตรวจสอบภายใน  (Internal Audit) หน่วยงานต้องมีฝ่ายที่รับผิดชอบในการตรวจสอบภายใน  มีอิสระในการดำเนินงาน  มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจน  การตรวจสอบเน้นการตรวจสอบทางการเงิน  และการตรวจสอบผลการดำเนินงาน 

มาตรฐานการจัดการทางการเงิน

การจัดทำงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน  จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพนั้น  สถานศึกษาต้องมีกลไกขับเคลื่อนไปในทิศทางที่ถูกต้องโดยอาศัยแนวทางการพัฒนาตามมาตรฐานการจัดการทางการเงิน 7 ด้าน  หรือที่เรียกว่า  7 Hurdles ดังนี้

1.  การวางแผนงบประมาณ  (Budgeting Planning) เริ่มต้นจากการวางแผนกลยุทธ์ของหน่วยงานประกอบด้วย  วิสัยทัศน์  พันธกิจ  เป้าประสงค์  ผลผลิตหลัก  กลยุทธ์  โครงสร้างแผนงาน  ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ  ของผลงานและการวางแผนงบประมาณระยะปานกลาง  (MTEF)

2.  การกำหนดผลผลิตและการคำนวณต้นทุน  (Output Specification and Costing) ในขั้นนี้เป็นการคำนวณต้นทุนในแต่ละผลผลิตที่ได้กำหนดมาแล้วว่าจะใช้ต้นทุนต่อหน่วยงานผลผลิตเท่าไร  ซึ่งมีการคิดทั้งต้นทุนทางตรงและต้นทุนทางอ้อม

3.  การจัดระบบการจัดซื้อจัดจ้าง  (Procurement Management) เป็นการพัฒนาระบบการจัดซื้อจัดจ้างให้มีประสิทธิภาพ  การจัดซื้อเน้นความคุ้มค่าของการใช้จ่ายเงิน

4.  การบริหารทางการเงินและการควบคุมงบประมาณ  (Financial Management / Fund Control) หน่วยงานจำเป็นต้องกำหนดรายการและโครงสร้างทางบัญชี  เอกสารหลักฐานที่จำเป็น  การปรับระบบบัญชีจากเกณฑ์เงินสดไปสู่ระบบเกณฑ์คงค้าง  มีระบบการควบคุมการเบิกจ่าย  และบริหารจัดการงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ

5.  การรายงานทางการเงินและผลดำเนินงาน  (Financial and Performance Reporting) ในกระบวนการรายงานต้องมีการกำหนดดัชนีชี้วัด  กรอบและโครงสร้างการประเมิน  และรายงานผลที่ชัดเจนและมีการรายงานทั้งการเงินและผลการดำเนินงาน

6.  การบริหารสินทรัพย์  (Asset Management) หน่วยงานมีระบบบริหารสินทรัพย์ที่มีประสิทธิภาพ  แสดงให้เห็นถึงการบริหารสินทรัพย์

7.  การตรวจสอบภายใน  (Internal Audit) หน่วยงานต้องมีฝ่ายที่รับผิดชอบในการตรวจสอบภายใน  มีอิสระในการดำเนินงาน  มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจน  การตรวจสอบเน้นการตรวจสอบทางการเงิน  และการตรวจสอบผลการดำเนินงาน

.....................................................

หมายเลขบันทึก: 458379เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2011 15:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท