การพัฒนาระบบการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์


RBM

การพัฒนาระบบการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์
ขั้นตอนที่ 1
การวิเคราะห์วิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กรเพื่อให้รู้ทิศทางขององค์ในอนาคตและวัตถุประสงค์ขององค์กร
ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จหรือปัจจัยสำคัญต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กร
ขั้นตอนที่ 3 การกำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลัก เพื่อวัดความก้าวหน้าของปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ เมื่อได้ปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จและตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักแล้ว
ขั้นตอนที่ 4 เป็นการกำหนดแหล่งข้อมูล เพื่อให้รู้ว่าข้อมูลของผลการปฏิบัติงาน ตามตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักมีอยู่ที่หน่วยงานใดภายในองค์กรและจัดเก็บ อยู่ในรูปแบบของแฟ้มข้อมูล รายงานประจำเดือน หรือระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
ขั้นตอนที่ 5 ผู้บริหารระดับสูงขององค์การจะเป็นผู้กำหนดเป้าหมายของตัวชี้วัดผลการดำเนิน การหลัก เพื่อเป็นเกณฑ์เทียบว่าผลการปฏิบัติงานดีพอหรือไม่เพียงใด
ขั้นตอนที่ 6 การรวบรวมข้อมูลองค์กรดำเนินการรวบรวมข้อมูลผลการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัดผล การดำเนินงานหลัก ในรอบระยะเวลาที่กำหนด เช่น ทุก 1 เดือน ทุก 3 เดือน ทุก 6 เดือน หรือ ทุก 1 ปี เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 7 การบันทึกและการอนุมัติข้อมูล เป็นการทำงานบน Web – based ของระบบการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์
ขั้นตอนที่ 8 การวิเคราะห์ผล เพื่อพิจารณาผลการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นจริงเทียบกับเป้าหมายที่กำหนด แล้ววิเคราะห์หาสาเหตุที่ผลการปฏิบัติงานต่ำหรือสูงกว่าเป้าหมายเกินไป เพื่อเสนอทางเลือกต่อผู้บริหารเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของงาน
ขั้นตอนที่ 9 การรายงานผล ผู้บริหารสามารถเรียกดูข้อมูลผลการปฏิบัติงานขององค์กรผ่านอินเตอร์เน็ตได้ ด้วยตนเองโดยใช้ระบบงานประยุกต์ของการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์

ปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ (Critical Success Facter : CSF)
                     ปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ คือ ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการบรรลุวิสัยทัศน์องค์กร มีปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานทุกระดับให้มุ่งไปใน ทิศทางเดียวกัน ทำให้เจ้าหน้าที่และผู้บริหารขององค์กรรู้ว่าต้องทำสิ่งใดบ้างเพื่อให้เกิด ผลสัมฤทธิ์ขององค์กรและบรรลุวิสัยทัศน์
ปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ กำหนดจากวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กร ไม่จำเป็นต้องวัดผลได้ แต่จะทำหน้าที่ชี้นำหรือเป็นหลักเกณฑ์การกำหนดสำคัญต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ ประกอบด้วย
1. มุ่งความสำคัญไปที่ผลผลิตและผลลัพธ์
2. มีความเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์ขององค์กร
3. มีความหมายที่เฉพาะเจาะจงและสามารถเข้าใจได้ง่าย
4. ผู้บริหารให้การยอมรับ
5. องค์กรสามารถควบคุมให้เกิดขึ้นได้ในทางปฏิบัติ

ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลัก (Key Performance Indicators : KPI)
              ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลัก เป็นการวัดความก้าวหน้าของการบรรลุปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จขององค์กร เป็นการวัดผลการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นจริงเทียบกับมาตรฐานหรือเป้าหมายที่ ตกลงกันไว้ องค์กรสามารถใช้ผลของการวัดเพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติงานขององค์กร
             ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักที่ดี ต้องมีความถูกต้อง เหมาะสม สามารถที่จะโน้มนาวให้ทุกคนในองค์กรและผู้มีส่วนได้เสียประโยชน์ ตลอดจนสาธารณชน เชื่อถือผลงานที่วัดจากตัวชี้วัด
              ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลัก จะต้องเชื่อมโยงกับปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จมากที่สุดเท่าที่จะ ทำได้ องค์กรกำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักเพื่อวัดความก้าวหน้าของปัจจัยแห่งความสำเร็จ
คุณลักษณะของตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักที่ดีจะต้อง “SMART” มีดังนี้
1. Specific
ความเฉพาะเจาะจงตัวชี้วัดควรมีความชัดเจนและมีความหมายมุ่งไปยังสิ่งที่วัด ควรกำหนดตัวชี้วัดให้ชัดเจน ไม่กำกวม เพื่อมิให้เกิดการตีความผิด และเพื่อสื่อสารความเข้าใจให้ตรงกันทั้งองค์การ
2. Measurable เป็นตัวชี้วัดที่สามารถนำไปวัดผลการปฏิบัติงานได้จริง ข้อมูลที่ได้จากการวัดสามารถนำไปเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ได้จากตัวชี้วัด อื่น และใช้การวิเคราะห์ความหมายทางสถิติ
3. Attainable (Aachievable) สามารถบรรลุผลสำเร็จได้ มีความสมเหตุสมผล องค์กรไม่ควรใช้ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักที่ผลการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัด ที่กำหนดขึ้น ไม่ได้เกิดจากการปฏิบัติงานขององค์กรโดยตรง
4. Realistic สอดคล้องกับความเป็นจริง ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักมีความเหมาะสมกับองค์กร และไม่ใช้ต้นทุนการวัดที่สูงเกินไป
5. Timely สามารถใช้วัดผลการปฏิบัติงานได้ตามช่วงเวลาที่กำหนด
ค่าตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักแสดงเป็นตัวเลขในลักษณะของร้อยละ อัตราส่วน สัดส่วน จำนวน ค่าเฉลี่ย

หมายเลขบันทึก: 458372เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2011 15:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 20:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท