การประชุมปฏิบัติการต่อยอดการพัฒนาสู่ประชมคมอาเซียนของโรงเรียน Sister School, Buffer School และโรงเรียนคู่พัฒนาไทย-อินโดนีเซีย ตอนที่ 1:กลุ่มแกนนำการพัฒนา ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558


ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ความสนใจในการพัฒนาโครงการของศูนย์อาเซียนโรงเรียน Sister School, Buffer School และโรงเรียนคู่พัฒนาไทย-อินโดนีเซีย และพยายามจัดสรรงบประมาณมาสนับสนุนในการดำเนินการพัฒนาของโรงเรียนเหล่านี้

สำนักวิชาการและมาตรการศึกษาได้ดำเนินกิจกรรมโครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน : Spirit of ASEAN โดยจัดตั้งศูนย์อาเซียนเป็นแหล่งศึกษาการเรียนรู้ เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน  จัดทำหลักสูตรและจัดการเรียนรู้ ที่เน้นอาเซียน กิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนให้แก่ ครู-นักเรียน และบุคลากรทางการศึกษาที่จัดตั้งเป็นศูนย์อาเซียน จำนวน 54 โรงเรียนทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาจากทุกภูมิภาค ทั่วประเทศพร้อมทั้งโรงเรียนในเครือข่ายจำนวน 9 โรงเรียน   รวมทั้งประสานความร่วมมือกับศูนย์ SEAMOLEC พัฒนาโรงเรียนมัธยมศึกษาจากทั่วภูมิภาคจำนวน 23 โรงเรียน เป็นโรงเรียนคู่พัฒนาระหว่างโรงเรียนมัธยมศึกษาของประเทศไทยและสาธารณรัฐอินโดนีเซีย เพื่อสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาและพัฒนาคุณภาพการศึกษาผ่านการเรียนรู้ร่วมกัน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้
   
            

 

การประชุมปฏิบัติการครั้งนี้  มีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 300 คน  กิจกรรมโดยรวมประกอบด้วย การบรรยายให้ความรู้  การอภิปราย แลกเปลี่ยนเรียนรู้และประชุมสรุปผลการดำเนินงาน รวมทั้งการสรรหา Best Practice  ของกลุ่มผู้บริหาร กลุ่มศึกษานิเทศก์  กลุ่มครูของศูนย์อาเซียนโรงเรียน Sister School / Buffer School และโรงเรียนคู่พัฒนาไทย-อินโดนีเซีย เพื่อนำไปเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติต่อยอดการพัฒนา ในการขับเคลื่อนเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 

ดร. อ่องจิต เมธยะประภาส ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผน สพฐ.   ให้เกียรติเป็นประธานพิธีเปิดและบรรยายพิเศษ เรื่องนโยบาย สพฐ.กับการขับเคลื่อนสู่ประชาคมอาเซียน 2558  สรุปความว่า
   

 

ดร.ชินภัทร  ภูมิรัตน์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ให้ความสนใจในการพัฒนาโครงการของศูนย์อาเซียนโรงเรียน Sister School, Buffer School และโรงเรียนคู่พัฒนาไทย-อินโดนีเซีย และพยายามจัดสรรงบประมาณมาสนับสนุนในการดำเนินการพัฒนาของโรงเรียนเหล่านี้  ดังนั้นจึงต้องส่งแผนดำเนินงานและสรุปผลรายงานเพื่อกำหนดแนวทางดำเนินการพัฒนาต่อไป 


                                                         

 

            
                         
 
     

มีการเน้นความกระชับสัมพันธ์ในกลุ่มของประเทศอาเซียน  ต้องรู้เขา-รู้เรา  เพื่อที่จะขับเคลื่อนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม  สามารถใช้ภาษาอังกฤษสิ่อสารและภาษาของประเทศในกลุ่มอาเซียน รวมทั้งความสามารถในการใช้เทคโนโลยีด้านไอที   

นโยบายการบริหารจัดการเพื่อเตรียมการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน   

 ด้านโรงเรียน : ต้องกำหนดวิสัยทัศน์ของโรงเรียน  กำหนดหลักสูตรและพันธกิจ เพื่อพัฒนาไปสู่มาตรฐานสากล  เน้นภาษาเพื่อการสื่อสาร  เป็นหุ้นส่วนใน ๓ เสาหลักของประชาคมอาเซียน   หลักสูตร ๕๑  ค่อนข้างแข็งตัว ทำอย่างไรให้ยืดหยุ่น  สามารถส่งเสริมศักยภาพของจังหวัดที่ตั้งอยู่   หลักสูตรจะทำอย่างไรให้โรงเรียนมีความเข้มแข็ง  มีกลยุทธ์-วิสัยทัศน์ ในการพัฒนาโดยได้รับความร่วมมือ-ร่วมใจจากชุมชน มาสนับสนุนทรัพยากรและด้านความคิด-การส่งเสริมอาชีพ ไม่ใช่มุ่งไปสู่สังคมมหาวิทยาลัยอย่างเดียว   ต้องเน้นด้านวิชาชีพด้วย ต้องมีแผนพัฒนาเติมเต็มความต้องการและศักยภาพของนักเรียน โดยบูรณาการทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ให้มีเจตคติที่ดี  

ด้านผู้บริหาร : ผู้บริหารต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน  ครูเป็นกลจักรสำคัญ จึงต้องพัฒนาครู...  แม้ครูที่ไม่ได้รับผิดชอบโดยตรง  ก็ต้องรับรู้  ให้ครูได้เรียนรู้และอบรมพัฒนา  ทั้งด้านการแลกเปลี่ยนและการศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศ  ทุกคนต้องรับรู้และสามารถตอบคำถามได้  และส่งเสริมแหล่งเรียนรู้
 
ด้านครู
: ครูทุกคนสามารถใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารได้  อยากเห็นความร่วมมือในการประชุมอาเซียนและอยากให้ผู้บริการเครือข่ายได้มีโอกาสเข้าร่วมด้วย  ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ต้องมีแหล่งเรียนรู้เกื้อกูลกัน  การใช้ห้องเรียน ต้องมีสื่อในด้านการเรียนการสอน  ที่มีคุณภาพสื่อถึงการแสดงออก  ไม่ใช่มีแต่โต๊ะ  เก้าอี้   ควรมีผลงานนักเรียนติดอยู่ในห้อง อาจเป็นความรู้เรื่องภาษาหรือวัฒนธรรม  แต่ต้องรักและหวงแหน วัฒนธรรมของไทยด้วย

       

 

                                         มุมมองและข้อเสนอแนะจากนักวิชาการ ( โดยสรุป)


ศน. เสถียร  เที่ยงธรรม สพม.เขต 20

การเตรียมตัว ขับเคลื่อนเข้าสู่ประชมคมอาเซียนเป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญ  มีโรงเรียนอยู่สามหมื่นกว่าโรงเรียน   แต่ปัจจุบันมีโรงเรียนแกนนำ Sister School /Buffer School เพียงแค่ 54 โรงเรียนและโรงเรียนคู่พัฒนาไทย-อินโดอีก  23 โรงเรียน เหลือระยะเวลาแค่  3 ปีกว่า   ดังนั้นอีก 3 หมื่นกว่าโรงเรียนจะขับเคลื่อนทันไหม   ควรต้องรีบเร่ง และก้าวต่อไป  ตนเองเริ่มเข้าร่วมโครงการฯตั้งแต่ปลายปี 2552 มีการจัดตั้ง  Sister School /Buffer  School เกิดประโยชน์ส่วนหนึ่ง หากผู้บริหารสนับสนุน   และครูผู้ประสานงาน ขับเคลื่อน จะไปได้ดี  เช่นโรงเรียนอุดรพิทยานุกูล  โรงเรียนอนุบาลอุดร  เขามีความพร้อมที่จะให้บริการ  เขตพื้นที่ฯ  คงจะขอความช่วยเหลือจาก ผู้ประสานงานศูนย์/ เจ้าหน้าที่ศูนย์ต่อไป จริงๆ อยากจะขอเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ไปไว้ที่เขตพื้นที่ 

ข้อควรปฏิบัติ
1. ทุกคนมีส่วนร่วม
2. ทุกคนต้องปฏิบัติ
3. จัดหางบประมาณ ที่จะสนับสนุนในการขับเคลื่อนต่อไป  

 

    

                              ศน.ดร.วัชรี เหล่มตระกูล /ศน. เสถียร เที่ยงธรรม/  ดร. วิมลรัตน์  ศรีสุข 
 

ศน.ดร. วัชรี  เหล่มตระกูล  สปพ.ลำปาง 

เรื่องข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอาเซียนดำเนินการไปด้วยดี  แต่การสื่อสารระหว่างโรงเรียนคู่พัฒนาที่จะปรึกษา-เรียนรู้ ยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร  ควรมีเวปไซต์  กลางที่จะติดต่อสื่อสารเพื่อให้  บุคลากรได้รับรู้-รับทราบ  ขับเคลื่อนไปด้วยกัน  เช่น  หลักสูตรสถานศึกษา   พยายามนำทุกเรื่อง/ทุกโครงการ  มาอยู่ในหลักสูตรของสถานศึกษา 

ข้อเสนอแนะ
1. ขั้นตอนการเบิกจ่ายงบประมาณ   ไม่คล่องตัว 
2. ควรพัฒนาครูทั้งโรงเรียน 
3. พัฒนาหลักสูตร
4. การติดตามผล นิเทศ/ติดตาม
5. การประกันคุณภาพภายใน
เน้นผลของการพัฒนา ติดตาม การใช้หลักสูตร/ พัฒนาผู้เรียน

 

                                                       ดร.ชยพร  กระต่ายทอง



ดร.ชยพร  กระต่ายทอง สำนักวิชาการและมาตรการศึกษา 


ชี้แจงว่าในปี พ.ศ. 2552-2553 ได้งบประมาณ ในการสนับสนุนการจัดกิจกรรมเป็นจำนวนมาก  นำไปให้กับศูนย์อาเซียนโรงเรียน Sister School /Buffer Schoolและจ้างครู- ไปที่เขตพื้นที่ เพื่อติดตามและประเมินผลมากกว่า 54 โรงเรียน  ซึ่งเป็นเรื่องใหม่  จึงต้องสร้างต้นแบบและขยายผลต่อไปโรงเรียนอื่นๆ สำหรับโรงเรียนคู่พัฒนาไทย- อินโด เพิ่งนำเข้าร่วมโครงการในช่วงปี 2554 นี้เอง

เรื่องงบประมาณ: มีการโอนเงินจากส่วนกลางออกไปให้ตั้งแต่ต้นๆ ปีงบประมาณ  เช่น งบประมาณปี  2554  สั่งจ่ายตั้งแต่ปลายปี 2553
งบประมาณแต่ละปีจะต่างกัน  ลดน้อยลงมาเรื่อยๆ คงจะมีการลดกิจกรรมในการประชุม และสื่ออุปกรณ์ลง  เพื่อนำงบประมาณไปเพิ่มให้ศูนย์/โรงเรียนฯ จัดกิจกรรมขยายเครือข่ายเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการขับเคลื่อนสู่ประชาคมอาเซียน

สื่อความรู้- อุปกรณ์ : นับว่าเป็นสิ่งที่ดีที่หน่วยงานอื่นๆ มีการขับเคลื่อน เรื่องอาเซียน ได้ดำเนินการขอข้อมูลเกี่ยวกับอาเซียน จากหน่วยงานและแหล่งต่างๆ มาให้กับ Sister School /Buffer School  ซึ่งยังมีไม่มาก  ส่วนคู่มือดำเนินการ  /การขับเคลื่อนสู่ประชาคมอาเซียน   การสร้างค่านิยมร่วม   เมื่อเครือข่ายดำเนินการแล้วเสร็จจะนำลงเผยแพร่ทางเวปไซต์  

           

                                                          ดร. วิมลรัตน์  ศรีสุข 


              ดร. วิมลรัตน์  ศรีสุข  ครูโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม


แนวทางการพัฒนา : โครงการนี้ สพฐ. ช่วยให้ความรู้ /งบประมาณ  แก่ โรงเรียนแกนนำ -โรงเรียนคู่พัฒนามากมาย  จึงควรดำเนินการให้บรรลุผล ให้เห็นงานมากกว่าโรงเรียนที่ไม่ได้งบประมาณสนับสนุน การพัฒนานั้นอาจไม่ต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก ควรฝึกสมรรถนะให้ครูสามารถขับเคลื่อนได้โดยนำไปบูรณาการกับ 8 กลุ่มสาระฯ  เพื่อสร้างให้นักเรียนมีจิตสำนึกและตระหนักในสิ่งเหล่านี้ 

ประเด็นสำคัญในการขับเคลื่อน : ข้อมูล-ข่าวสาร มีความจำเป็นต่อการเรียนรู้  เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนการพัฒนางานได้อย่างถูกทิศทาง 

 

                            *** ข้อสังเกตจุดเน้นการเปลี่ยนแปลง ***

ภาษาในการสื่อสาร :ภาษาอังกฤษและภาษากลุ่มประเทศอาเซียน เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี 

การค้าขาย :     มีการเปิดเสรีในการลงทุน เปิดการค้าเสรี   ความมั่นคงทางทรัพย์สินปัญญา  ปัจจุบันจีนเป็นประเทศหลักในการส่งออก  มีการส่งเสริมการแข่งขันอย่างเป็นธรรม  โดยใช้กฎบัตรอาเซียนกำกับ-ควบคุม  ยกเลิกมาตรการภาษี  ลดภาษีนำเข้าสินค้าจากอาเซียน  

การคมนาคม :  มีการตัดถนนหลายสายเป็นเอเซียนไฮเวย์




                               ***  ขอขอบคุณผู้เข้ามาเยี่ยมชมทุกท่านนะคะ ***


ศึกษาเรื่องกฏบัตรอาเซียน

ศึกษาเกี่ยวกับ สมาคมอาเซียน - ประเทศไทย

หมายเลขบันทึก: 458371เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2011 15:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • ที่รร.อ.พอล คงพร้อมแล้ว..ก่อนปี 58 นะคะ
  • มีความสุขกับงานค่ะ

Ico48 อาจารย์ติ๋มคะ

      ***  วาดฝันไว้ว่า...ทั้งองค์กรและหน่วยงานอื่นๆ คงจะเตรียมพร้อมกับการก้าวสู่สังคมอาเซียน  รวมทั้งบุคลากรของโรงเรียนต่างๆ คงจะช่วยกันพัฒนาเยาวชนให้ก้าวไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนได้ทันปี พ.ศ. 2558 นี้นะคะ...เป็นกำลังใจให้เสมอ....ยินดีร่วมด้วยช่วยกันค่ะ  " ขอบคุณอาจารย์ติ๋มนะคะ "   *** 
    


                                                         

***  ขอขอบคุณสำหรับกำลังใจจาก  " คุณอุดมพันธ์ " นะคะ... เคยไปสุราฏร์ธานี 3 ครั้ง....ชอบทะเล...อุดมไปด้วยเกาะสวยงาม ผู้คนก็จิตใจงดงาม ค่ะ ! ***



                                           Ico256

                                               

My dear Paully,

Thanks a lot for touching base. You're unbelievable!!

Miss you,

Ico48My Dear P'Kai,
 
      *** Thanks for all your best Encouragement ! that  always makes me FEEL SO HAPPY na Kahhhh!  ***   


                                                                  

 

  • ถ้าเราเตรียมตัวไม่พร้อม เป็นประชาคมอาเซียนเมื่อใด จะเสียประโยชน์ทันที เพราะแข่งขันสู้เขาไม่ได้..
  • ขอบคุณความรู้ครับอาจารย์

Ico48 อาจารย์ธนิตย์คะ
  
      ***  ประเทศไทย อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรที่สามารถดำรงชีพได้อย่างสะดวก-สบาย  บวกกับสภาพอุณหภูมิที่เหมาะสมกับสุขภาพกาย- สุขภาพจิต ห่างไกลจากภัยธรรมชาติที่รุนแรง  จึงกลายเป็นดินแดนที่หลายชนชาติใฝ่ฝันมาตั้งรกราก-อาศัยแบบถาวร  .....น่าเป็นห่วงจริงๆ หากเยาวชนไทยยังมัวแต่สนใจแต่สิ่งบันเทิงใจ- หลงใหลได้ปลื้มกับความสนุกสนาน   ใช้ชีวิตแบบฟุ้งเฟ้อไม่คุ้มค่าไปวันๆ จะดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับสังคมอาเซียนได้อย่างไรกัน  .... คงต้องฝากให้ช่วยกันดูแลและเตรียมความพร้อม...สร้างเกราะคุ้มกันให้พวกเขามีที่ยืนหายใจ- สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมั่นคง  ขอบคุณ..." อาจารย์ธนิตย์ "  เช่นกันนะคะ   ***


                                                                

คิดถึงอาจารย์จังเลยค่ะ เห็นอาจารย์ทีไร โลกสดใสมากๆ เป็นกำลังใจในการทำงานนะคะ/ฝน เจ้าหน้าที่ศูนย์อาเซียน อุดรพิทยานุกูล อุดรธานี

Ico48คุณฝนจ๊ะ

   *** ช่วงนี้งานเยอะมาก(ทั้งปี)....เครียดพอสมควร....ได้กำลังใจจากคุณฝน...น้องสาวผู้น่ารักคนนี้....ทำให้หัวใจพองโตขึ้นมากมาย....ขอบใจนะจ๊ะ ***  

                                                                                                           
                                                       

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท