พิษณุโลก....เมืองสองแคว


ท่องเที่ยวพิษณุโลก....เมืองสองแคว

วันนี้เป็นวันแรกนะค่ะ ที่ดิฉัน ได้ลองเขียน บันทึก ในเว็บ gotoknow ดิฉันขอนำเสนอสถานที่ท่องเที่ยวประจำจังหวัดดิฉัน นั่นคือ "จังหวัดพิษณุโลก....เมืองสองแคว"

ก่อนอื่นนะค่ะ เรามารู้จักคำขวัญประจำจังหวัดก่อนเลยนะค่ะ 

 

พระพุทธชินราชงามเลิศ
ถิ่นกำเนิดพระนเรศวร
สองฝั่งน่านล้วนเรือนแพ
หวานฉ่ำแท้กล้วยตาก
ถ้ำและน้ำตกหลากตระการตา

 

จากนั้นนะค่ะ.......ดิฉันจะพาทุกท่านไปเที่ยวตามคำขวัญกันนะค่ะ.....ไปกันเลย

 

“พระพุทธชินราชงามเลิศ”

พระพุทธชินราชนะค่ะ.....ไม่เพียงเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ หากแต่ยังมีพุทธลักษณะอันงดงาม กระทั่งเชื่อกันว่าเทวดาจุติลงมาสร้าง

 

พระพุทธชินราชพระพุทธชินราชพระพุทธชินราชพระพุทธชินราช

พระพุทธชินราชประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) ในตัวเมืองพิษณุโลก เป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัยศิลปะสุโขทัย หน้าตักกว้าง 5 ศอก 1 คืบ 5 นิ้ว (กว้าง = 2.9 ม.) สูง 7 ศอก (สูง = 3.5 ม.) มีพุทธลักษณะงดงามดั่งมหาบุรุษผู้มีบุญญาธิการของอินเดีย กล่าวคือ มีพระวรกายอ่อนช้อย พระพักตร์ยาวรี พระขนงโก่ง พระเนตรหลับพริ้ม พระนาสิกโด่งงองุ้ม พระโอษฐ์เป็นรูปกระจับ พระเกตุมาลาเป็นเปลวเพลิง ชายผ้าสังฆาฏิแยกเป็นเขี้ยวตะขาบ ปลายนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกัน

ตามพระราชพงศาวดารเหนือกล่าวว่า พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก (พญาลิไท) โปรดให้สร้างพระพุทธรูปขึ้น 3 องค์ในคราวเดียวกัน คือ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา การสร้างแล้วเสร็จเพียง 2 องค์ ส่วนพระพุทธชินราชนั้นสร้างอย่างไรก็ไม่สำเร็จ เนื่องจากทองไม่แล่นติดเต็มองค์ พญาลิไทจึงตั้งจิตอธิษฐานขอให้เทพยดาช่วยดลบันดาลให้การสร้างพระพุทธชินราช สำเร็จลุล่วง ปรากฏว่ามีชีปะขาวตนหนึ่งมาช่วยหล่อพระพุทธรูปอย่างแข็งขันจนแล้วเสร็จ จากนั้นก็หายตัวไป ทุกคนต่างเชื่อกันว่าชีปะขาวคือเทวดาแปลงกายลงมาช่วยหล่อพระพุทธชินราชให้สำเร็จ

ใครที่ไปพิษณุโลก....ต้องไปกราบไหว้พระพุทธชินราชที่วัดใหญ่นะค่ะ ถึงจะถือว่าไปมาเยือนเมืองพิษณุโลก


 

“ถิ่นกำเนิดพระนเรศวร”

สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นกษัตริย์นักรบผู้ยิ่งใหญ่ พระองค์ประสูติที่วังจันทน์ริมฝั่งแม่น้ำน่านในเมืองสองแควหรือเมืองพิษณุโลกปัจจุบัน ทั้งยังเคยดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชครองเมืองสองแควอีกด้วย

พระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในศาลสมเด็จพระนเรศวร วังจันทร์ ที่ประสูติและที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวร ขณะเป้นพระมหาอุปราชครองเมืองสองแคว

สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาและพระวิสุทธิกษัตรี ประสูติเมื่อปีเถาะ พ.ศ. 2098 ที่วังจันทน์ เมืองสองแคว ขณะพระราชบิดาทรงครองเมืองนี้ในฐานะเมืองลูกหลวงของกรุงศรีอยุธยา จดหมายเหตุที่ชาวตะวันตกบันทึกเกี่ยวกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้นเอ่ยถึงพระองค์ว่า The Black Prince หรือพระองค์ดำ

ระหว่างที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2091-2111) หรือพระอัยกาในสมเด็จพระนเรศวรครองกรุงศรีอยุธยาอยู่นั้น พระเจ้าบุเรงนอง เจ้ากรุงหงสาวดี ทรงขอช้างเผือกจากสมเด็จพระมหาจักรพรรดิแต่ทรงปฏิเสธ จนเกิดเป็นสงครามช้างเผือกขึ้นอยุธยาเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ต้องส่งสมเด็จพระนเรศวร ไปเป็นพระราชบุตรบุญธรรมของพระเจ้าบุเรงนองตั้งแต่พระชันษา 9 ปี กระทั่งพระเจ้าบุเรงนองเข้าตีกรุงศรีอยุธยาอีกครั้งอยุธยาพ่ายแพ้เสียกรุง ครั้งที่ 1 ในปี 2112 ในครั้งนั้นพระเจ้าบุเรงนองแต่งตั้งให้สมเด็จพระมหาธรรมราชาทรงครองกรุง ศรีอยุธยา สมเด็จพระมหาธรรมราชาถวายพระราชธิดาคือพระสุพรรณกัลยาพระภคินีในสมเด็จพระ นเรศวร ให้เป็นพระชายาของพระเจ้าบุเรงนอง พระเจ้าบุเรงนองจึงส่งสมเด็จพระนเรศวรกลับมายังกรุงศรีอยุธยาในปี 2113 ขณะพระชันษาได้ 15 ปี ในปีถัดมาสมเด็จพระมหาธรรมราชาโปรดให้สมเด็จพระนเรศวรขึ้นไปครองเมืองสองแคว บังคับบัญชาหัวเมืองเหนือทั้งหมด

พ.ศ. 2126 กรุงอังวะซึ่งเป็นเมืองขึ้นของกรุงหงสาวดีแข็งเมือง พระเจ้านันทบุเรงแห่งกรุงหงสาวดีจึงให้หัวเมืองประเทศราชต่างๆ รวมทั้งอยุธยาด้วย นำกำลังทหารมาสมทบกับทัพหลวงหงสาวดีเพื่อเข้าตีอังวะ สมเด็จพระมหาธรรมราชาส่งสมเด็จพระนเรศวรเป็นผู้นำทัพไปสมทบ ทว่าไปถึงล่าช้ากว่าทัพอื่น พระเจ้านันทบุเรงหวาดระแวงว่าไทยไปร่วมกับพระเจ้าอังวะ จึงวางแผนกำจัดสมเด็จพระนเรศวร เมื่อสมเด็จพระนเรศวรล่วงรู้ถึงแผนการดังกล่าวจึงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง ไม่ขึ้นกับกรุงหงสาวดีอีกต่อไป ปี 2133 พระองค์เสด็จขึ้นครองกรุงศรีอยุธยาขณะพระชนมายุ 35 พรรษา

ปัจจุบันมีศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราชตั้งอยู่ในบริเวณพระราชวังจันทน์ ใกล้ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลกนะคร้า......หาไม่ยากเลยค่ะ 



“สองฝั่งน่านล้วนเรือนแพ”

พิษณุโลกเป็นหนึ่งในไม่กี่จังหวัดที่ยังคงมีเรือนแพซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของชาวบ้านลอยอยู่ในลำน้ำ

เรือนแพ สัญลักษณ์ของเมืองพิษณุโลกเรือนแพ สัญลักษณ์ของเมืองพิษณุโลกเรือนแพ สัญลักษณ์ของเมืองพิษณุโลก

ในอดีตแม่น้ำน่านเป็นเส้นทางสัญจรที่สำคัญ สองฟากฝั่งแม่น้ำน่านในเมืองพิษณุโลกมีเรือนแพซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยอยู่มาก มาย เช่น หน้าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร หน้าโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี หน้าศาลากลางจังหวัด เป็นต้น

ปัจจุบันเรือนแพได้ลดจำนวนลงไปจนเหลือเพียง 40 หลังเท่านั้น โดยบางส่วนได้กลายเป็นร้านอาหาร นอกจากเป็นเพราะชาวบ้านย้ายขึ้นมาอยู่บนบกเนื่องจาก สะดวกสบายกว่าแล้ว ทางจังหวัดยังเข้ามาควบคุมจำนวนเรือนแพ ด้วยมองว่าเป็นต้นเหตุให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสียจากการปล่อยสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอยลงแม่น้ำ 

ปัจจุบันนี้นะค่ะ....ถ้ายังคงมีบ้านเรือนแพอยู่นะค่ะ



“หวานฉ่ำแท้กล้วยตาก”

ด้วยลักษณะเฉพาะของกล้วยน้ำว้าพันธุ์ท้องถิ่นซึ่งมีรสหวานและกลิ่นหอม ผนวกกับฝีมือการทำกล้วยตากของชาวบางกระทุ่ม กล้วยตากเมืองพิษณุโลกจึงมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วประเทศ

แหล่งผลิตกล้วยตากใน อ. บางกระทุ่ม กล้วยตาก ของฝากเลื่องชื่อของเมืองพิษณุโลก

อ. บางกระทุ่มเป็นต้นตำรับการผลิตกล้วยตากของ จ. พิษณุโลก โดยเฉพาะที่บ้านเกาะคู ต. บางกระทุ่ม แหล่งกล้วยพันธุ์มะลิอ่องซึ่งเป็นวัตถุดิบในการทำกล้วยตาก

กล้วยพันธุ์มะลิอ่องมีผลขนาดกำลังเหมาะ ไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป จุกกล้วยมีขนาดเล็ก เปลือกบาง เมื่อสุกจะมีรสชาติหวานหอม เนื้อละเอียด นำมาทำกล้วยตากได้รสชาติหอมหวานตามธรรมชาติ ช่วงฤดูหนาวตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนไปจนถึงเดือนมกราคม กล้วยพันธุ์มะลิอ่องจะมีรสหวานอร่อยที่สุด เพราะเป็นช่วงแดดดีและอากาศเย็น เหมาะแก่การเจริญเติบโต 

เมื่อท่านไปที่วัดใหญ่ก็จะมีของดีจังหวัดพิษณุโลกอยู่มากมายนะค่ะ

...รวมทั้งกล้วยตาก....


“ถ้ำและน้ำตกหลากตระการตา”

พิษณุโลกเป็นจังหวัดที่รุ่มรวยธรรมชาติ มีป่าและขุนเขาอันเป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติที่มีชื่อเสียง เช่น อช. น้ำตกชาติตระการ อช. แก่งเจ็ดแคว และเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาท่าพล เป็นต้น

                 น้ำตกแก่งซอง น้ำตกแก่งโสภา หินงอกหินย้อยอันสวยงามภายในถ้ำลอด

ภูมิประเทศของพิษณุโลกจำแนกได้เป็น 2 ลักษณะใหญ่คือ เขตที่ราบสูง และที่ราบลุ่มแม่น้ำ

เขตที่ราบสูงมีลักษณะเป็นภูเขาและที่ราบหุบเขา ภูเขาสำคัญคือ ภูสอยดาว ภูหินร่องกล้า และเขาค้อ ทอดตัวเชื่อมต่อกันเป็นแนวพรมแดนระหว่างจ. พิษณุโลก จ. เพชรบูรณ์ จ. เลย กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ภูเขาเหล่านี้ยังเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำสายสำคัญ เช่น แม่น้ำวังทอง (ลำน้ำเข็ก) และแม่น้ำแควน้อยอีกด้วย

เส้นทางสายพิษณุโลก-หล่มสักถูกขนานนามว่าเป็น 'เส้นทางสายน้ำตก' ด้วยเป็นที่ตั้งของน้ำตกหลายแห่ง ได้แก่ น้ำตกแก่งโสภา น้ำตกสกุโณทยาน (น้ำตกวังนกแอ่น) น้ำตกปอย และน้ำตกแก่งซอง นอกจากนี้ยังมีน้ำตกอื่นตั้งอยู่ในอำเภอต่างๆ อีกกว่า 20 แห่ง เช่น น้ำตกชาติตระการ น้ำตกหมันแดง เป็นต้น

  บนเส้นทางพิษณุโลก-หล่มสัก ยังมีถ้ำที่ยังคงมีการก่อตัวของหินงอกหินย้อยสวยงามอยู่ในเขต อช. ทุ่งแสลงหลวงให้เที่ยวชม คือ ถ้ำเดือน ถ้ำดาว และถ้ำวังแดง ใน อ. เนินมะปรางก็มีถ้ำอยู่ถึง 5 แห่งตั้งอยู่ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาท่าพล ประกอบด้วยถ้ำนเรศวร ถ้ำเรือ ถ้ำเต่า ถ้ำลอด และถ้ำผาแดง

 

ดิฉันในฐานะประชาชน...คนพิดโลก ขอเชิญชวนทุกท่านมาเที่ยวจังหวัดพิษณุโลกกันนะคร้า


พิษณุโลก....ยังมีสถมนที่ท่องเที่ยวอีกมากมายให้ท่านได้ค้นหา

รับรองไม่ผิดหวังคร้า

หมายเลขบันทึก: 457725เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2011 12:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 14:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ถ้าเราไปแล้วพาเที่ยวด้วยนะจร้า

เห็นภาพรวมแล้วน่าไปเยือนยิ่งนัก ผมเคยไปแถว อ. เนินมะปรางเมื่อหลายปีก่อน แถว แก่งโสภา น้ำเย็นดียิ่งนัก

ได้เลยคร้า..เดี๋ยวจะทำตัวเป็นเจ้าบ้านที่ดี....ตอนรับเต็มที่

มาเยี่ยมและให้กำลังใจสมาชิกใหม่ของบ้าน G2K ค่ะ ^_^

พิษณุโลกน่าอยู่จริงๆ ไปอยู่มา 1 ปี คิดถึงมากมาย ^^

  • ยินดีต้อนรับสู่ G2K ครับ
  • อยู่ไม่ไกลจากพิษณุโลกแต่ที่แนะนำมายังไปไม่ทั่วครับ
  • หมั่นเขียนบันทึกมาแลกเปลี่ยนกันนะครับ

สวัสดีค่ะ

แวะมาอ่านบันทึกนี้ค่ะ

เป็นบันทึกที่น่าประทับใจมากค่ะ

เมืองสองแควเป็นเมืองที่สวยงามมากค่ะ

และยังมีที่ท่องเที่ยวที่น่าเที่ยวทุกที่ค่ะ

ขอบคุณสำหรับบันทึกที่น่าประทับใจบันทึกนี้นะคะ

ขอบคุณค่ะ^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท