เทคนิคการสุ่มตัวอย่าง


เทคนิคการสุ่มตัวอย่าง

เทคนิคการสุ่มตัวอย่าง

     มีเทคนิคดังนี้

     การสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เหมาะกับประชากรที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน วิธการสุ่มอย่างง่ายนิยมใช้การจับฉลากและการใช้ตารางเลขสุ่ม

             การจับสลาก  ใช้วิธีการกำหนดหมายเลขให้กับสมาชิกเขียนหมายเลขใส่กระดาษที่จะจับใหเครบตามจำนวนสมาชิกแล้วนำมาคละเคล้ากัน แล้วจับขึ้นมาทีละอันครบตามจำนวนที่ต้องการ วิธีการนี้เรียกว่าจับแล้วไม่ใส่คืน เป็นวิธีที่นิยมปฏิบัติซึ่งเป็นการอนุโลม โดยทฤษฎีจับสลากแล้วใส่คืนจึงจะทำให้สมาชิกทุกคนมีโอกาสถูกเลือกเท่ากันทุกครั้ง  เช่น มีครู 20คน ต้องการกลุ่มตัวอย่างครู 5 คน ถ้าจับแบบไม่ใส่คืน คนแรกที่ถูกสุ่มมีโอกาส =1/20 คนที่ 2 มีฌอกาส 1/19 คนที่ 3 มีโอกาส 1/18 คนที่ 4 มีโอกาส 1/17 คนที่ 5 มีโอกาส 1/16 นั่นเป็นโอกาสของคนถัดไปที่จะมีโอกาสในการถูกสุ่มมาเป็นกลุ่มตัวอย่างมากกว่าคนแรก แต่ถ้าสุ่มแบบใส่สลากคืน โอกาส ของทุกคนจะมีโอกาสในการถูกสุ่ม =1/20 แต่ปัญหาอาจจะมีการเลือกหยิบหมายเลขเดิมขึ้นมาซ้ำแล้วต้องมีการหยิบใหม่

           การใช้ตารางเลขสุ่ม (Random Number Table) ตารางเลขสุ่มเป็นตารางที่บรรจุตัวเลขที่เกิดจากสมการทางคณิตศาสตร์ ทำให้ได้ตัวเลขที่เกิดมาอย่างไม่เป็นระบบจำนวนมาก ตัวเลขในตารางเลขสุ่มได้ผ่านกระบวนการตรวจสอบแล้วว่ามีความเป็นตัวเลขสุ่มจริง แม้ตารางเลขสุ่มจะผลิตโดยมีที่มาต่างกันแต่ก็มีคุณสมบัติเท่าเทียมกัน

หมายเลขบันทึก: 457721เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2011 11:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท