โขงเจียม กับบทบาท นักวิจัยธุรกิจท่องเที่ยว ครั้งที่ 1


วิจัย ท่องเที่ยวโขงเจียม

เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2554 ทีมวิจัยได้จัดประชุมกลุ่มย่อยเพื่อ Focus Group กับเจ้าของผู้ประกอบการธุรกิจที่พัก และนำเที่ยว ใน อ.โขงเจียม  จ.อุบลราชธานี ประกอบไปด้วยตัวแทนธุรกิจที่พัก 9 ราย ตัวแทนร้านอาหารจำนวน 1 ราย ซึ่งการจัดประชุมกลุ่มย่อยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ตัวแทนธุรกิจท่องเที่ยวแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแบบร่างของเว็บไซต์ 5ภาษา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเรื่อง  การพัฒนาระบบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกิจท่องเที่ยว SMEs :  กรณีศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดศรีสะเกษ  ซึ่งได้รับทุนวิจัยจาก สกอ. ปี 2554 ซึ่งผู้ประกอบการให้ความสนใจ และความร่วมมือในการแสดงความคิดเห็น เพราะตระหนักในพฤติกรรมของลูกค้าที่มีการใช้เว็บไซต์ในการสืบค้นข้อมูล และจองที่พัก ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตมากขึ้น โดยมีข้อมูลเบื้องต้นดังนี้

1. ผู้ประกอบการส่วนมากเปิดธุรกิจมามากกว่า 5 ปี

2. กลุ่มลูกค้าหลัก ๆ คือ 1. ลูกค้าทั่วไป 2. กลุ่มลูกค้าทัวร์ 3. กลุ่มลูกค้าประชุมสัมมนา

3. ลูกค้าชาวไทยประมาณ 80% และลูกค้าชาวต่างชาติประมาณ 20%

4. ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง โดยมีเว็บไซต์อื่นนำข้อมูลไปแสดง

5. ปัญหาของการไม่มีเว็บไซต์ คือ ไม่มีความรู้  คิดว่าเป็นธุรกิจขนาดเล็กการจ้างพนักงานเฉพาะทางถือเป็นค่าใช้จ่าย ระบบอินเทอร์เน็ตไม่เสถียร

ข้อมูลดังกล่าวเบื้องต้น เป็นเพียงข้อมูลภาพรวมที่สะท้อนให้เห็นถึง แนวคิดของผู้ประกอบการที่ตระหนักในความสำคัญ และพร้อมใช้ระบบ ICT เพื่อประยุกต์ในองค์กร โดยเฉพาะเว็บไซต์ของทีมพัฒนาที่มีความสามารถให้ลูกค้าจองที่พักออนไลน์ ชำระเงินออนไลน์ ในรูปแบบ 5 ภาษาหลัก ได้แก่ ไทย อังกฤษ ลาว กัมพูชา และเวียดนาม

ในการประชุมครั้งนี้ ผู้ประกอบการเสนอให้เว็บไซต์จากแบบจำลอง ว่าควรปรับปรุงในเรื่องดังต่อไปนี้

1. ควรมีการระบุกิจกรรมของที่พักเพิ่ม เช่น พายเรือ ร่องเรือ หรือ ปั่นจักรยาน ในระหว่างพัก

2. ควรมีเส้นทางหรือ Route ของการเยี่ยมชุมสถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง

3. ควรมีรายละเอียดการเดินทางไปเมืองปากเซ ประเทศลาว ในรูปแบบ ไป-กลับ ไม่ว่าจะเป็นระยะวลา และข้อมูลอื่นที่ใช้ประกอบการตัดสินใจแบบเที่ยวต่างประเทศ แบบไปกลับ แล้วกลับมาพักที่อุบลฯ

3. ควรมีโครงสร้างพื้นฐาน เช่น สถานีน้ำมันที่ได้มาตรฐาน ปัจจุบันที่มีอยู่ ลูกค้าบางรายไม่กล้าใช้บริการเพราะคิดว่าเป็นนำมันปลอมปน

 จากข้อคิดเห็นดังกล่าว ช่วยทำให้ทีมวิจัยได้รูปแบบที่คาดว่าจะเป็นประโยชน์มากขึ้น ซึ่งการประชุมกลุ่มย่อยครั้งต่อไปคือ จังหวัดศรีสะเกษ และ อ.เมือง จ.อุบลฯ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวมีส่วนร่วมมากที่สุด

สิ่งที่น่าสนใจ ที่ทีมวิจัยสังเกตมี 2 ประเด็นคือ

1. ที่พักในโขงเจียม ถึงแม้ว่า อ.โขงเจียม ที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นอำเภอตะวันออกสุดของสยาม ซึ่งมีระยะทางไกลจาก อ.เมือง ประมาณ 90 กม. อาจจะมองว่าลูกค้าไม่สะดวก ในการเดินทาง และราคาห้องพักบางรายสูง (ประมาณ 2,000 บาทขึ้นไป ในขณะราคาที่พักอื่นๆ ใกล้เคียงประมาณ ไม่เกิน 1,000 บาท) ซึ่งในความเป็นจริง  ถึงแม้จะเป็นช่วงฤดูฝน และเป็นเย็นอาทิตย์ ลูกค้ายังให้ความสนใจมาใช้บริการเต็ม เกือบ 100% ทุกวัน นั่นสะท้อนให้เห็นว่า ยังมีกลุ่มลูกค้าที่มีความสามารถในการจ่าย หรือพร้อมที่จ่าย เพื่อการพักผ่อนที่โขงเจียม ดังนั้นผู้ประกอบการต้องมีความชัดเจนในการกำหนดกลุ่มเป้าหมายว่าลูกค้าจะเป็นกลุ่มใด เช่น ระดับพรีเมี่ยม หรือ กลาง หรือ ระดับล่าง

2.  ร้านอาหารในโขงเจียม เฉกเช่นเดียวกับที่พัก ยังมีร้านอาหารที่อยู่รอดเกิน 4 ปี ถึงแม้บางรายจะบอกว่าอาหารแพง แต่ด้วยเจ้าของบอกว่า เน้น กลุ่มลูกค้าที่พร้อมจ่าย และสามารถยืนยันได้ว่า เน้นรสชาติ และวัตถุดิบที่ดี ซึ่งนอกจากจะได้ลูกค้าที่มาพักในโรงแรมละแวก อ.โขงเจียม แล้ว ยังมีกลุ่มลูกค้าที่มาเพื่อพักผ่อน ทานอาหารในโอกาสพิเศษกับบรรยากาศธรรมชาติ  โดยเดินทางแบบไป-กลับ ซึ่งทำให้มีลูกค้าเข้ามาใช้บริการได้ตลอดทั้งปี 

จากประเด็นทั้งสอง ทำให้เห็นได้ว่าการกำหนดราคาผลิตภัณฑ์ที่พัก และอาหารในระดับต่ำ หรือ ถูก ของ ธุรกิจใน อ.โขงเจียม ไม่ใช่ว่าจะทำให้ลูกค้าสนใจเสมอไป

 

หมายเลขบันทึก: 457406เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2011 09:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 15:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท