ระเบียบวิธีวิจัย


ระดับความเชื่อมั่นของการทดสอบ (The level of Significance)

ระดับความเชื่อมั่นของการทดสอบ (The level of Significance)

    การตั้งสมมุติฐานในการวิจัยนั้นมักมีความคิดว่าได้ตั้งในทางที่ถูกเท่าที่ปัญญาและความสามารถจะทำได้ จึงไม่นิยมตั้งสมมุติฐานให้ผิดนอกจากเป็นความบังเอิญหรือ เพราะขาดความรู้ เมื่อการตั้งสมมุติฐานไม่แน่ใจว่าถูกต้อง100% จึงต้องมีการทดสอบสมมุติฐานขึ้นเมื่อค่าข้อเท็จจริงจากกลุ่ใตัวอย่าง (Sanple Facts) ดังนั้นจึงตั้งช่องของความบังเอิญที่กล่าวว่าไม่ยอมรับสมมุติฐาน ( Reject Ho) ไว้น้อยๆและระดับความเชื่อมั่นที่นิยมตั้งเพื่อใช้ในการทดสอบก็คือ 5 ใน 100 ครั้ง หรือ 1 ใน 100 ครั้งและถ้าหาก Sample Facts ยังตกอยู่ในช่วงที่ตั้งน้อยๆแล้วเราก็จะไม่ยอมรับว่าสมมุติฐานที่ตั้งไว้นั้นไม่เป็นความจริง และช่วงที่ตั้งไว้น้อยๆนั้นเรียกว่าระดับความเชื่อมั่น (The level of Significance) โดยมากพูดในรูปของความน่าจะเป็น และในสัญญาลักษณ์แทนด้วย α (Alpha) หรือ "p" และเขียนแทนด้วย σ=.01 หรือ α =.05 ทั้งนี้โดยถือว่าเหตุการที่เกิดขึ้นทั้งหมดเป็น 1.00 นั่นเอง

     ในการทดสอบสมมุติฐานทางสถิตินั้น จะต้องแปลงสมมุติฐานการวิจัยที่เขียนขึ้นนั้นให้เป็น Null Hypothesis (Ho) เสียก่อนเสมอ เพื่อสะดวกในการทดสอบ ถ้าหากเราไม่ยอมรับ(Reject Ho) สมมุติฐานที่เป็นกลางในการทดสอบ นั่นก็คือเราจะไปรับ (Accept)สมมุติฐานการวิจัย (ก่อนที่เราจะแปลงมาใช้ในการทดสอบ)แต่ถ้าเรายอมรับ (Accept Ho) สมมุติฐานที่เป็นกลางแล้วก็สรุปได้เลย ข้อที่ควรระวังก็คือ ถ้าหาก Reject ตอนแรกนั้นเป็นการไม่ยอมรับ Ho การแปลผลจึงต้องระมัดนะวังให้มากขึ้น

หมายเลขบันทึก: 457249เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2011 14:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท