การลดความเหลื่อมล้ำในสังคม


ความเหลื่อมล้ำทางรายได้

       การพัฒนาประเทศตามแนวเศรษฐกิจทุนนิยมของประเทศไทยทำให้ความยากจนของประชาชนลดลง แม้ว่ารายได้เฉลี่ยต่อหัวจะสูงขึ้น แต่ยังมีความเหลื่อมล้ำที่สูงอยู่ทั้งด้านรายได้และทรัพย์สิน

         ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ ต้องทำให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างทั่วถึง ด้วยการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น เพื่อให้ท้องถิ่นกำหนดแนวทางการพัฒนาตามความต้องการของตนเอง รวมถึงการกระจายด้านสุขภาพและการศึกษา และต้องเพื่อความสามารถในการเข้าถึงบริการด้านการเงินไม่เฉพาะสินเชื่อ แต่รวมถึงการบริการด้านการออมประกันสังคม และที่ต้องให้ความสำคัญคือ ระบบบำนาญ ทั้งนี้เพราะสังคมไทยกำลัง เข้าสู่สังคมวัยชราหากแรงงานในวันนี้ที่ยังสามารถทำงานได้ต้องปลดเกษียณออกไปจะไม่มีรายได้รองรับ ในที่สุดจะกลายเป็นคนจน ยิ่งทำเหลื่อมล้ำมากยิ่งขึ้น ดังนั้นต้องเร่งให้ความสำคัญในการพัฒนาด้านเทคโนโลยีด้านการเกษตร การแก้ไขความยากจนของประชาชน ต้องแก้ไขให้ตรงจุด ช่วยเหลือโดยกรให้เครื่องมือในการพัฒนาตนเอง

        การปฏิรูปการศึกษาทั่งประเทศให้มีมาตราฐานเดียวกัน ลดช่องว่างทางความรู้เพื่อเปิดโอกาสให้คนในสังคมได้พ้นจากความยากจน จัดให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินมากขึ้น เพื่อวางแผนทางการเงิน มีความรู้ด้านการลงทุนเพื่อรับผลตอบแทนที่เท่าเทียมกัน

หมายเลขบันทึก: 457193เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2011 11:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณค่ะ..อยากเห็นทุกภาคส่วนองค์กรช่วยกันขับเคลื่อนให้เกิดรูปธรรมในแนวคิดเช่นนี้ ซึ่งจะเป็นหัวใจของการปฏิรูปประเทศไทยค่ะ..

ในฐานะที่ไม่ได้เข้าเรียนวันนั้น

ขอให้เข้าไปอ่านใบงานหมายเลข ๔ อีกครั้งหนึ่งนะครับ

จะได้นำกลับมาปรับปรุงได้

(ไม่ใช่การเขียนบันทึกทั่วไปอีกแล้วครับ แต่เป็นเขียนบทความวิชาการเลย)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท