วิธีสอนแบบแสดงบทบาท (Role Playing Method)


การแสดงบทบาทจะสร้างความเข้าใจและความรู้สึกให้เกิดกับนักเรียนได้ดี

วิธีสอนแบบแสดงบทบาทเป็นวิธีสอนที่ใช้การแสดงบทบาทสมมุติ หรือการเทียบเคียงสถานการณ์ที่เป็นจริงมาเป็นเครื่องมือในการสอน โดยที่ครูสร้างสถานการณ์สมมุติและบทบาทขึ้นมาให้นักเรียนได้แสดงออกตามที่ตนคิดว่าควรจะเป็น การแสดงบทบาทอาจกระทำได้ทั้งทางด้านความรู้ความคิด และพฤติกรรมของผู้แสดง วิธีการนี้จะสร้างความเข้าใจและความรู้สึกให้เกิดกับนักเรียนได้ดี  (ทิศนา แขมมณี, 2545, 2547, 2548, 2550, 2551)

ความมุ่งหมายของวิธีสอนแบบแสดงบทบาท

1. เพื่อฝึกให้นักเรียนทำงานร่วมกันเป็นทีม

2. เพื่อให้นักเรียนกล้าแสดงออกซึ่งความรู้สึก ความคิด และพฤติกรรม

3. เพื่อฝึกทักษะการแก้ปัญหา

ขั้นตอนของวิธีสอนแบบแสดงบทบาท

1. เลือกปัญหาที่นักเรียนทำความเข้าใจยาก จำยากสับสน หรือกล่าวตามสภาพจริงไม่ได้มาเป็นเรื่องที่จะแสดงบทบาท

2. ให้นักเรียนร่วมกันกำหนดตัวบุคคลให้เหมาะสมกับบทบาทนั้นๆ เท่าที่ลักษณะของบุคคลจะเอื้ออำนวยให้กับสภาพความเป็นจริง

ข้อดีของวิธีสอนแบบแสดงบทบาท

1. นักเรียนได้เรียนพร้อมกับความสนุกสนานเพลิดเพลิน

2. สามารถเข้าใจเรื่องราวได้ง่าย และจดจำได้ดี

3. ช่วยพัฒนาการทางอารมณ์และสังคม

4. ส่งเสริมการสร้างความร่วมมือร่วมใจกันในการทำงาน

ข้อสังเกตของวิธีสอนแบบบทบาท

1. ครูผู้สอนต้องมีภาระในการเตรียมสอนมากขึ้น และการแสดงบทบาทบางครั้งใช้เวลามาก

ทั้งในการแสดงจริงและการฝึกซ้อม

2. การแสดงบทบาทบางครั้งต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย

3. การกำหนดเรื่องที่นำมาแสดงบทบาทต้องมีสาระสอดคล้องกับจุดประสงค์ที่กำหนดไว้

ทิศนา แขมมณี .   (2545).   ศาสตร์การสอน:  องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.  กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

                          .   (2547).   ศาสตร์การสอน:  องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.  พิมพ์ครั้งที่  3  (ฉบับปรับปรุง).  กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

                     .   (2548).   ศาสตร์การสอน:  องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.  พิมพ์ครั้งที่  4  (ฉบับปรับปรุง).  กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

                     .   (2550).   ศาสตร์การสอน:  องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.  พิมพ์ครั้งที่ 5  (ฉบับปรับปรุง).  กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

                    .   (2551).   ศาสตร์การสอน:  องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.   พิมพ์ครั้งที่ 7 (ฉบับพิมพ์เพิ่มเติม).  กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

หมายเลขบันทึก: 457177เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2011 11:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มีนาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท