การบริหารจัดการองค์กรอย่างเหนือชั้น


การบริหารจัดการองค์กรอย่างเหนือชั้น
การบริหารจัดการองค์กรอย่างเหนือชั้น

การจัดทำเอกสารระบบงานเเละมาตรฐานการปฏิบัติงานของสำนักวิทยบริการ

 

 

1. ชื่อโครงการ สัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำเอกสารระบบงานและมาตรฐานการปฏิบัติงานของสำนักวิทยบริการ
2. ผู้รับผิดชอบ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
3. หลักการและเหตุผล
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้กำหนดกระบวนงานหลักของหน่วยงานไว้ 4 กระบวนงาน ได้แก่ 1. กระบวนการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ 2. กระบวนการจัดเตรียมและนำทรัพยากรสารสนเทศออกให้บริการ 3.กระบวนการบริการพื้นฐาน 4. กระบวนการบริการพิเศษ ซึ่งกระบวนงานหลักข้างต้นยังไม่มีคู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงาน (WP/WI) ของ 4 กระบวนงานหลัก เพื่อให้การปฏิบัติงานตามกระบวนงานหลักเป็นมาตรฐานเดียวกัน และผู้รับบริการมั่นใจได้ว่าบริการต่างๆ ที่ได้รับมีคุณภาพดี นำมาซึ่งความพอใจในการรับบริการจากสำนักวิทยบริการ
4. วัตถุประสงค์
เพื่อให้ได้เอกสารระบบงาน (Work System) และมาตรฐานการปฏิบัติงาน (Work Instruction) ตามกระบวนงานหลักของสำนักวิทยบริการ

 

หลายคนคงไม่รู้ว่า 3 ดีประกอบด้วยอะไรบ้างที่ทำให้ห้องสมุดพัฒนาก้าวไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพที่แท้จริง ต้องประกอบด้วย 
ดี 1 หนังสือดี Good Media
หมายถึงหนังสือที่สร้างสรรค์ปัญญาตรงใจผู้อ่านและเนื้อหาถูกต้องไม่มีพิษภัย
หมายถึง ห้องสมุดที่อบอวลด้วยมิตรภาพ สะอาด
ร่มรื่น ปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และสะท้อน
เอกลักษณ์ชุมชน   

  ดี 2
2. บรรยากาศดี  Good Environment

ดี 3 ทำงาน
ระดับมืออาชีพ ทันสมัย และส่งเสริมการเรียนรู้

 

โครงการนี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจมากสำหรับ IFP THAN (International fellowship programme of alumni network)
มูลนิธิทุนElsevier ขณะนี้กำลังรับคำร้องขอคำร้องขอทุนต่างเพื่อที่จะสนับสนุนความพยายามของห้องสมุดและองค์กรผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศต่างๆ
นโยบายการขอทุนเพื่อนการปรับปรุงห้องสมุดในแผนงานการพัฒนานานาประเทศ
มูลนิธิ Elsevier สนับสนุนความพยายามของห้องสมุดต่างๆ ในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตแก่หลายๆประเทศที่กำลังพัฒนา โดยการพัฒนาความรู้ในด้าน วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และการแพทย์ โดยที่มูลนิธินั้น จัดสรรทุน 1 ปี 2 ปี และ3 ปี ให้แก่ห้องสมุดในประเทศที่กำหลังพัฒนาและเพื่อการสนับสนุนองค์กรต่างๆ ได้แก่

แผนงานต่างๆเพื่อการส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานของห้องสมุด เทคโนโลยี และการบริการ โดยหลากหลายวิธีการที่จะแผ่ขยายความสามารถอย่างยิ่งยวด เพื่อที่จะทำให้ STM information (ข้อมูลข่าวสารในด้านสังคมศาสตร์ วิชาช่าง และการแพทย์) ให้แก่ผู้ที่ต้องการนั้นสามารถใช้งานได้ ซึ่งก็ได้แก่ นักวิจัย แพทย์ และบุคคลผู้สนใจทั่วไป
แผนงานที่แผ่ขยายแหล่งข้อมูลข่าวสารห้องสมุดในการพัฒนาโลกผ่านภาษาคอมพิวเตอร์ หรือการคงไว้ของข้อมูล ซึ่งส่งเสริมในด้าน วิทยาศาสตร์ สุขภาพ สิ่งแวดล้อม และภูมิปัญญาท้องถิ่น
แผนงานการศึกษาและการฝึกฝนสำหรับบุคลากรห้องสมุด นักศึกษา หรือนักวิจัย ที่มีส่วนร่วมในการแก้ไขความยั่งยืน ในวิสัยของห้องสมุด เพื่อการจัดสรร ข้อมูลข่าวสารในด้านสังคมศาสตร์ วิชาช่าง และการแพทย์ [...]

 

เมื่อวันที่  24-25 มิถุนายน 2553 ผู้บริหารให้ติดตามไปร่วมงานสัมมนาวิชาการ Pulinet  ครั้งที่ 1ในหัวข้อ ”Creative Library”  โดยมี สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นเจ้าภาพ ณ โรงแรมเมธาวลัย ชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี   ซึ่ง concept ของงานคือ การนำเสนอผลงานวิชาการด้วยวาจา หรือโปสเตอร์  ที่เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ในห้องสมุด
                ของเราก็มีส่วนร่วมอยู่จี๊ดหนึ่ง ในผลงานที่มีชื่อว่า “การค้นหาบทความวิจัยที่ได้รับการอ้างอิงของอาจารย์และนักวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น” …ซึ่ง ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ มข. นางสุดใจ ธนไพศาล เป็นผู้นำเสนอ ผลงานนี้ยังมีผู้ร่วมงานที่สำคัญอีกคน คือ นางวิลาวัณย์ โต๊ะเอี่ยม  และมีผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากฝ่ายต่างๆ อีกหลายคน
               นอกจากนั้นยังมีงานอีก 2 ชิ้น ที่นางนายิกา เดิดขุนทดและคณะ ได้นำเสนอด้วยวาจาในเรื่อง การลดขั้นตอนบริการรับ-ส่งทรัพยากรสารสเนทศภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น และนวัตกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภูมิปัญญาอีสาน

 
 

เจ้าของผลงาน/กลุ่มภารกิจ   ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ กลุ่มภารกิจจัดการสารสนเทศสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
หัวข้อ การเพิ่มความพึงพอใจของผู้รับบริการ
1.       ความเป็นมาความสำคัญ หรือสภาพปัญหา ในการพัฒนาผลงาน
        ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นแหล่งจัดเก็บหนังสือ วารสารและโสตทัศนวัสดุนานมากกว่า 30 ปี จึงมีหนังสือและวารสารเก่าจำนวนมาก ทำให้เกิดกลิ่นอับชื้นขึ้นภายในบริเวณชั้นหนังสือ วารสารและบริเวณใกล้เคียง ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ห้องสมุดฯ จึงได้หาวิธีการแก้ไขด้วยการนำถ่านไม้มาวางในบริเวณชั้นหนังสือ วารสารและบริเวณใกล้เคียง เนื่องจากถ่านไม้สามารถดูดซับกลิ่นได้ ช่วยลดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์เป็นอย่างดี รวมทั้งเป็นวัสดุที่หาง่ายและราคาถูก เหมาะต่อการนำมาประยุกต์เพื่อใช้งาน
2.       วัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายของการดำเนินงาน
                เพื่อให้ห้องสมุดฯ มีบรรยากาศที่ดี  ปราศจากกลิ่นอับชื้น ทำให้ผู้ใช้บริการและบุคลากรห้องสมุดเกิดความพึงพอใจในการเข้าใช้บริการห้องสมุด
3.       กระบวนการหรือขั้นตอนการดำเนินงาน
1.  ศึกษาคุณสมบัติของถ่านไม้
2.  ออกแบบผลิตภัณฑ์ (ห่อถ่านไม้) โดยประยุกต์ถ่านไม้เพื่อการใช้งานตามวัตถุประสงค์
3.  สำรวจบริเวณที่มีกลิ่นอับ เพื่อให้ทราบจำนวนผลิตภัณฑ์ที่ต้องการใช้
4.  จัดหาอุปกรณ์เพื่อจัดทำผลิตภัณฑ์ (ห่อถ่านไม้) ตามแบบที่กำหนด ได้แก่ ถ่านไม้ กระดาษแข็ง (จากกล่องใส่หนังสือ) ถุงพลาสติก หนังยางรัดของ กรรไกร ริบบิ้นผ้า และ ผ้าลูกไม้สีสวยงาม
5.  จัดทำผลิตภัณฑ์ (ห่อถ่านไม้) โดยตัดกระดาษแข็งเป็นวงกลม เส้นผ่าศูนย์ประมาณ

คำสำคัญ (Tags): #บรืหาร 5
หมายเลขบันทึก: 456328เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2011 20:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 09:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท