วิวัฒนาการของ "ศิลปะ" ในพระพุทธรูป และพระเครื่องของไทย


ศิลปะที่ใช้ในการสร้างพระพุทธรูปและพระเครื่องต่างๆของไทยได้มีจุดก่อกำเนิดจากวิธีคิด ความเชื่อต่างๆ หลักฐานทางโบราณคดี จนเกิดกลุ่มของศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง และแผ่อิทธิพลออกไปตามกระแสทางสังคม การเมือง การปกครอง ตั้งแต่ยุคทวาราวดีจถึงยุคปัจจุบัน

ผมได้ใช้เวลารวบรวมความรู้ความเข้าใจด้านพุทธศิลป์ เป็นเวลาหลายปี

  • ตั้งแต่เริ่มคลำหาทางด้วยตัวเอง อย่างยากลำบาก
  • ต้องหาทางหลบหลีกพระโรงงานสารพัดระดับฝีมือ
  • หาที่ไปที่มาของพระกรุต่างๆ
  • วิเคราะห์รูปแบบของศิลปะ
  • ดูให้ออก
  • จับทางให้ได้

กว่าจะได้ข้อสรุป ณ วันนี้ ว่า แท้ที่จริงศิลปะของการสร้างพระพุทธรูปของไทยนั้นได้มีการพัฒนาการและวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง

จนเป็นกลุ่มศิลปะของไทยอย่างแท้จริง ไม่มีใครเหมือน และไม่เหมือนใคร

อย่างน้อยที่สุด ก็ตั้งแต่ยุคทวาราวดี เป็นต้นมา

จากหลักฐานและข้อมูลทางประวัติศาสตร์

  • ตำรา ผลงานของอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม
  • พระพุทธรูปที่พบตามสถานที่ และตามยุคต่างๆที่ผมพยายามเดินทางไปดูสถานที่จริง และเยี่ยมชม
  • ข้อมูลแหล่งโบราณคดี เกือบทุกแห่งทั่วประเทศไทย

ได้นำข้อมูลดังกล่าวมาร้อยเรียงให้เห็นความสัมพันธ์ของงานศิลปะที่ผ่านการสร้างพระพุทธรูปของไทย

และนำผลการวิเคราะห์ของผู้รู้ท่านอื่นๆ ที่ศึกษาและบันทึกไว้ เท่าที่พอจะหาได้

ได้พบสาระสำคัญ ประการหนึ่งก็คือ

  • วิวัฒนาการของ "ศิลปะ" ในพระพุทธรูป และพระเครื่องของไทย
  • ศิลปะที่ใช้ในการสร้างพระพุทธรูปและพระเครื่องต่างๆของไทยได้มีจุดก่อกำเนิดจากวิธีคิด ความเชื่อต่างๆ หลักฐานทางโบราณคดี
  • จนเกิดกลุ่มของศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง
  • และแผ่อิทธิพลออกไปตามกระแสทางสังคม การเมือง การปกครอง
  • ตั้งแต่ยุคทวาราวดีจถึงยุคปัจจุบัน

โดยเริ่มจากจินตนาการและความเชื่อของคนในท้องถิ่น ผสมผสานกับการบอกเล่าของผู้เผยแพร่ศาสนา ที่มีความชัดเจนตั้งแต่

พระเปิดโลก กรุดงแม่นางเมือง บรรพตพิสัย นครสวรรค์

เป็นศิลปะทวาราวดียุคแรกๆ

  • ยุคแรกสุดนั้น มีการสร้างพระพุทธรูปในรูปแบบของ "รูปสักการะ" เป็นแบบตุ๊กตา หรือ "ผี" ตามความเชื่อและจินตนาการ มากกว่าที่จะเป็นรูปของคน หรือพระพุทธเจ้า อย่างที่เห็นในปัจจุบัน
  • จนเกิดพัฒนาการทางความเชื่อดั้งเดิมและศิลปะในพื้นที่
  • ที่น่าจะเริ่มจากการนำรูปวาด ความทรงจำของนักเดินทาง และคำบอกเล่าของผู้เผยแพร่ศาสนามาเสริมแต่งตามจินตนาการของช่าง
  • สร้างสรร ออกมาเป็นงานศิลปะรุ่นแรกๆ โดยเฉพาะ ศิลปะ "คุปตะ" และ "ปาละ" ที่ต่อมาเป็น "อมราวดี"  พระกรุหนองหลอด อุดรธานี ศิลปะทวาราวดีที่เริ่มปรับตัว
  • ที่มีพัฒนาแต่งเติมรายละเอียด และมีความอ่อนช้อยมากขึ้นตามลำดับ

ดังนั้น ถ้าพยายามเรียงลำดับวิวัฒนาการของศิลปะ ที่ผมพอจะมีข้อมูล และตัวอย่างของศิลปะพระกรุ ก็จะพบว่า

  • ในกรณีของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ก็จะมีพระกรุดงแม่นางเมือง อำเภอบรรพตพิสัย นครสวรรค์ ที่มีรูปลักษณ์แบบนี้
  •  พระกรุพระธาตุนาดูน ศิลปะทวาราวดี ยุคคุปตะ 
  •   
    • ที่มีความหลากหลายของการพัฒนาการ หลายยุค หลายสมัย ต่อเนื่องกันมา อย่างน่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง
  • ในกรณีของเแหล่งโบราณคดีของที่ราบสูงโคราช ก็จะพบพระกรุพระธาตุนาดูน ที่อำเภอนาดูน มหาสารคาม เก่าแก่โบราณที่สุด ตามมาด้วย กรุกันทรวิชัย กรุฟ้าแดด และกรุเมืองไพร ตามลำดับ
  • พระกรุกันทรวิชัย ศิลปะทวาราวดี ยุคคุปตะ
  •    
    • โดยมีโครงสร้างพื้นฐานของศิลปะ ที่สำคัญคือ
      • องค์พระประทับใต้ต้นโพธิ์ บนฐานบัว หรือ ปางนาคปรก นาคเจ็ดเศียรบนฐานบัว ปางปฐมเทศนา ปางเปิดโลกหรือปางเสด็จจากดาวดึงส์ และปางลีลา
      • พระปรกโพธิ์ จากกรุดงแม่นางเมือง ที่เป็นศิลปะ "ปาละ" มีความอ่อนช้อยและรายละเอียดมากขึ้น
      • ที่มีองค์ประกอบตามความเชื่อและผลจากการบอกเล่าของผู้เผยแพร่ศาสนา ที่เป็นลักษณะโดยรวมเรียกว่า "ศิลปะทวาราวดี"

 

พระศิลปะทวาราวดีตอนปลาย ต่อเชื่อมกับลพบุรีตอนต้น

ยุคการพัฒนาต่อจากนั้น

ก็เริ่มนำความเชื่อของการนับถือ "เทพเจ้า" ของศาสนาอื่นๆ ที่แผ่อิทธิพลเข้ามาทั้งทางลุ่มน้ำภาคกลาง

  • มีศูนย์กลางอยูที่ลพบุรี และทางที่ราบสูงมีศูนย์กลางที่อำเภอพิมาย นครราชสีมา และทางภาคใต้ที่อำเภอไชยา สุราษฎร์ธานี
  • โดยมีการนำหลักการของ "สมมติเทพ" แต่งองค์ทรงเครื่องอย่างอลังการแบบ "กษัตริย์" ทั้งของขอม และแบบชวา เข้ามาผสมผสาน
  •  
    • ทั้งชฎา หรือ หมวกแบบต่างๆ สร้อยสังวาลย์ กำไลแขน รัดพระองค์หรือเข็มขัด ผ้านุ่งแบบตกแต่งลวดลาย และองค์ประกอบรอบๆ สวยงาม ละเอียดละออ
    • ลักษณะของศิลปะต่างๆ ในรูปแบบนี้ เรียกว่า "ศิลปะลพบุรี" หรือ "ศิลปะศรีวิชัย" ก็แล้วแต่พื้นที่
    • พระร่วงหลังลายผ้า ศิลปะลพบุรี
    • พระอวโลกิเตศวร กรุพระบรมธาติไชยา ศิลปะศรีวิชัย
    • แต่ในตอนปลายของยุคลพบุรีก็มีการนำศิลปะทวาราวดีมาปรับใช้ใหม่อย่างผสมกลมกลึนกับศิลปะลพบุรี เป็นกลุ่มศิลปะกลุ่มพระ "ลำพูน" และแผ่ต่อไปทางตอนเหนือในบริเวณนั้น รวมถึง ศิลปะ "เชียงแสน" ในยุคต่อๆมา
    • พระคง กลุ่มศิลปะลำพูน ที่มีฐานมาจากศิลปะทวาราวดี ยุคคุปตะ

หลังจากการล่มสลายของยุคขอม หรือยุคลพบุรี ก็เริ่มมีการพัฒนาการของศิลปะท้องถิ่น ที่สืบทอดมาจากความเชื่อดั้งเดิม ผสานกับการแผ่อิทธิพลทางศิลปะ และการปกครอง

  • ทำให้เกิดกลุ่มศิลปะเด่นๆ ได้แก่ ศิลปะอู่ทอง และ ศิลปะเชียงแสน ที่นิยมชมชอบและนำไปพัฒนาต่อเนื่องไปอีกหลายกลุ่มศิลปะ

พอเข้ายุคสุโขทัยก็เริ่มมีการพัฒนากลุ่มศิลปะของตัวเอง แบบละเอียดอ่อนช้อย

  • โดยยุคแรกๆ จะนำศิลปะอู่ทองมาเป็นพื้นฐาน แล้วนำศิลปะเชียงแสนเข้ามาผสมจนลงตัว พัฒนาเป็น "ศิลปะสุโขทัย"พระพุทธชินราชใบเสมา ศิลปะอู่ทอง ที่สร้างสมัยสุโทัย
  • ในขณะเดียงกันก็ได้มีการนำศิลปะท้องถิ่นของเมืองพิษณุโลกมาประยุกต์ใช้จาก พระกรุจุฬามณี "หน้าฤๅษีหลังนาง"
    • โดยใช้หน้าฤๅษีมาพัฒนาผสานกับศิลปะสุโขทัยเป็นพระที่สวยงามที่สุดในเมืองไทย "พระพุทธชินราช" จังหวัดพิษณุโลก

แต่ "หลังนาง" นั้น ได้นำมาเป็นต้นแบบ "พระนางพญา" ในยุคกลางอยุธยา

 

ในขณะที่สุโขทัยยังมีอิทธิพลอยู่นั้น ก็มีการพัฒนากลุ่ม "ศิลปะกำแพง" โดยผสมผสานระหว่าง ศิลปะเชียงแสน และสุโขทัยเข้าด้วยกัน ที่มีความงดงามอ่อนช้อย แต่มีเอกลักษณ์ใหม่ขึ้นมาคือ "ซุ้มกอ" ที่มีลักษณะพิเศษดูเหมือน ก ไก่ ในพระกำแพงซุ้มกอ

หลังจากยุคสุโขทัย ก็พัฒนาต่อมาเป็นยุคอยุธยา ทีอิงศิลปะหลักๆจาก "ศิลปะอู่ทอง" ที่มีศูนย์กลางที่จังหวัดสุพรรณบุรี มีความขึงขัง อิ่มเอิบ และอลังการแบบอู่ทอง ที่พัฒนาต่อมาเป็นพระตระกูล "ขุนแผน" ทั้งหลาย

พระผงสุพรรณ ศิลปะอู่ทอง ที่น่าจะเป็นต้นแบบของพระตระกูลขุนแผน

ฉะนั้น ในระยะต่อๆมา ก็มีการนำศิลปะ "แม่แบบ" เหล่านี้มาผสมผสาน จนเป็นศิลปะเฉพาะตนขึ้นมาอย่างหลากหลายเป็นร้อยๆแบบ ที่ยากเกินกว่าจะบรรยายได้หมด

แต่ถ้าวิเคราะห์ลึกลงไป ก็จะเห็นศิลปะแม่แบบเหล่านี้อย่างชัดเจน

เช่น

พระสมเด็จวัดระฆัง ของท่านพุฒาจารย์โต เป็นกรณีตัวอย่างนะครับ

ซุ้ม ลำพระองค์ และวงพระกร ท่านใช้ลักษณะของ "ศิลปะกำแพง" ซุ้มกอ

  • เกศ และพระพักตร์
  • ใช้ศิลปะสุโขทัยในพิมพ์ใหญ่ ศิลปะเชียงแสนในพิมพ์ทรงเจดีย์ และเกศบัวตูม และศิลปะอู่ทองในฐานแซม ผสมผสานในพิมพ์ปรกโพธิ์

ฐาน ๓ ชั้น และผ้าทิพย์ ศิลปะจากพระรอดมหาวัน "ศิลปะลำพูน" ที่น่าจะสะท้อนหลักพุทธศาสตร์ ที่มักจะประกอบด้วย "สาม" เสมอ เช่น ศีล สมาธิ ปัญญา หรือ ปริยัคิ ปฎิบัติ ปฏิเวธ หรือ ทาน ศีล ภาวนา ฯลฯ เป็นต้น

ที่ถือว่าเป็นพระเครื่องที่ รวมจุดเด่นของศิลปะดังๆ ของไทยไว้ในองค์เดียว

ที่อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้พระสมเด็จวัดระฆังได้รับความนิยมว่าเป็นพระเครื่องที่สวยงามอลังการ เป็นสง่าและน่าใช้

ผมวิเคราะห์จากการเรียนรู้ของผมมาได้ประมาณนี้ครับ เพื่อเป็นแนวทางของนักศึกษาประวัติศาสตร์ และนักส่องพระ ในเชิงศิลปะ ที่ว่า ศิลปะได้ พิมพ์ถูก นั้นน่าจะเริ่มคิด และพิจารณาอย่างไร

นอกเหนือจากการดู "เนื้อ" ให้เก่า ถึงยุคเสียก่อน

มีอะไร วันหลังจะมาเพิ่มเติมครับ

สวัสดีครับ

 

หมายเลขบันทึก: 456003เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2011 10:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

Would/Could you so kind to show pictures and point out the 'paradigm' changes from one 'epoch' to another?

ได้ครับ กำลังเอารูปขึ้นพอดีครับ ใช้เวลานิดหน่อยครับ เดี๋ยวจะแต่งไปเรื่อยๆครับ งานนี้เก็บความรู้มานานมากครับ

สวยๆทุกองค์ครับ อาจารย์ ขอขอบคุณอาจารย์แสวง มากนะครับ พี่ได้แบ่งปันความรู้ครับ

Thank you.

The pictures are quite good and suggest that perhaps (casting) 'wooden molds' (carved out negative figures used to re-produce the positive figures -- not fungus molds) and fired ceramic molds were used in the olden days.

Have any of the molds been discovered and kept (perhaps in some 'wats')?

ส่วนใหญ่พบแม่พิมพ์เก่าอยู่ในกรุครับ แต่มักถูกนำไปใช้ต่ออย่างไม่ถูกต้อง จนเสื่อมสภาพไปครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท