ข้อวิจารณ์นโยบายรัฐบาลยิ่งลักษณ์
มีทั้งหมด 16 ข้อ ผมยอมรับว่าไม่ได้ฟัง และยังไม่ได้อ่านรายละเอียด แต่แม้ฟังเพียงหลักการหยาบๆก็น่าจะพอวิจารณ์ได้เล็กน้อย
1.8.2 เพิ่มรายได้รายวันสำหรับแรงงานเป็นวันละ 300 บาท
และรายเดือนของผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า
15,000 บาท
อันนี้แม้ถูกโจมตีมากแต่ผมเห็นด้วยนะ ผมว่าขึ้นน้อยไปด้วยซ้ำ อยากให้ขึ้นมากกว่านี้ เป็นสัก 600 บาทด้วยซ้ำ โดยต้องตรึงราคาสินค้าไม่ให้ขึ้นเกินไปด้วย มันมีสูตรคำนวณอยู่ (ค่าแรงไทยยังอยู่ต่ำกว่าจุดดีที่สุดไปมาก ผมเคยคำนวณคร่าวๆว่า ค่าแรงขั้นต่ำที่ดีที่สุดควรเป็น 1000 บาท โดยต้องตรึงราคาก๋วยเตี๋ยวไว้ที่ 50 บาทด้วยนะ) อีกทั้งต้องมีมาตรการช่วยเหลือนักธุรกิจสัญชาติไทยที่ผลิตสินค้าส่งขายต่างประเทศประเภท Labor intensive มิฉะนั้นจะแข่งขันสู้ต่างชาติลำบากมากขึ้น ส่วนพวกที่ไม่ใช้แรงงานมาก ก็ช่วยน้อยลงตามลำดับ ส่วนต่างชาตินั้นไม่ต้องไปช่วย
1.9 ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้เหลือร้อยละ 23 ในปี
2555 และลดลงร้อยละ 20 ในปี 2556
เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน
ข้อนี้ไม่เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง เพราะ ประโยชน์ตนซ้อนทับประโยชน์ชาติอย่างรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ชาติไทย การลดแบบนี้ธุรกิจตน ญาติ พวกพ้อง ก็ได้รับประโยชน์เต็มๆ ส่วนชาติจะเสียหายมาก เงินรายได้จะลดลงมหาศาล กล่าวคือขณะนี้รัฐเก็บภาษีจากนิติบุคคลได้ประมาณปีละ 3.9 แสนล้านบาท ถ้าลดจากปัจจุบันในอัตรา 30 ไปเหลือ 20 รัฐจะสูญเสียรายได้ภาษีส่วนนี้ไปประมาณ 1.3 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นเงินไม่น้อย เกือบ 10% ของรายได้รัฐบาล
รัฐบาลสัญญาประชานิยมไว้มาก ต้องใช้จ่ายมากขึ้น แล้วยังลดรายได้ลงแบบนี้ เงินส่วนที่เหลือก็คงต้องกู้มาแน่นอน หรือไม่ก็ไปตัดเงินส่วนอื่นๆ เช่น การศึกษาวิจัย
คุณยิ่งลักษณ์คงยังไม่รู้ว่า ประเทศไทยนั้นเป็นประเทศที่เก็บภาษีได้น้อยที่สุดในโลกประเทศหนึ่งเมื่อคิดเทียบเป็นร้อยละของรายได้ประชาชาติ (GDP) คือประมาณ 16% เท่านั้นเอง แล้วพอลดแบบนี้ก็ยิ่งน้อยลงไปอีก ที่เก็บได้น้อยเป็นสองเหตุผลคือ หนึ่งโกงภาษี สอง gdp ของเรา 70% มาจากบริษัทต่างชาติ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่เสียภาษีเพราะได้รับการยกเว้นจาก boi
จริงอยู่การลดภาษีนิติบุคคล จะทำให้บริษัทแข่งขันได้ดีขึ้น แต่ถามว่าใครแข่งขันกับใคร เพราะเชื่อว่ารายได้ส่วนนี้ส่วนใหญ่มาจากบริษัทต่างชาติที่เสียภาษี (เพราะหมดช่วงยกเว้น boi แล้ว) ซึ่งบริษัทพวกนี้ครองตลาดแบบผูกขาดหมดแล้ว เช่น กระดาษชำระ สบู่ ยาสีฟัน ยานยนต์ เครื่องอีเล็กทรอนิกส์
อีกทั้งการค้าของไทยยังมีลักษณะผูกขาด มีการฮั้วราคากันดังนั้นกำไรที่เพิ่มขึ้นของธุรกิจในส่วนนี้อาจไม่ส่งผลให้ราคาสิ้นค้าลดลง ไม่เชื่อก็คอยดูสิว่าก๋วยเตี๋ยวข้าวแกงจะลดราคาลงไหม เพราะถ้าแข่งขันกันจริงราคาวัตถุดิบทำก๋วยเตี่ยวต้องถูกลง ส่งผลมาถึงราคาชามก๋วยเตี๋ยวถูกลงด้วย แล้วลองคอยดูว่าราคาค่าโดยสารรถโดยสารจะถูกลงไหม
ดังนั้นทฤษฎีที่ว่าสินค้าจะถูกลงยอดขายสูงขึ้น แล้วทำให้มีการลงทุนมากขึ้นจนเก็บภาษีได้มากขึ้นจึงไม่น่าเป็นความจริง แต่ที่เป็นความจริงแน่ๆ คือ บริษัทรวยๆ กำไรงามๆ หลายรายจะยิ่งรวยอู้ฟู่มากขึ้น และประเทศไทยจะต้องกู้หนี้มาทำโครงการประชานิยมมากขึ้น
1.10.3 จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้วงเงินประมาณ 1 พันล้านบาทต่อสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมโครงการ
อันนี้ดีนะเห็นด้วยอย่างยิ่งเลย แต่ควรมีเงื่อนไขว่า ต้องทำธุรกิจที่เป็นนวัตกรรมจากการคิดค้นของคณาจารย์ในมหาลัยนั้นๆ และให้มหาลัยค้ำประกันเงินกู้ด้วย ซึ่งหมายความว่ามหาลัยต้องพิถีพิถันในการเลือกการลงทุน ไม่งั้นอาจต้องใช้คืนเงินกู้
...คนถางทาง (๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๔)
ช่วยกันรณรงค์ต่อต้านคอรัปชั่นด้วยกันนะครับ
ตอนนี้ลุกลามถึง หมื่นกว่าล้านซื้อสส.ได้แล้วค่อนสภา
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2554
ผลการพิจารณากลั่นกรองอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2554 ของคณะกรรมการค่าจ้างฯ*
ปรับขึ้น 8 บาท 7 จังหวัด
1 พะเยา 151 159
2 ศรีสะเกษ 152 160
3 อำนาจเจริญ 155 163
4 นครสวรรค์ 158 166
5 เพชรบูรณ์ 158 166
6 อุทัยธานี 160 168
7 ประจวบคีรีขันธ์ 164 172
ปรับขึ้น 9 บาท 24 จังหวัด
1 น่าน 152 161
2 ตาก 153 162
3 สุรินทร์ 153 162
4 มหาสารคาม 154 163
5 นครพนม 155 164
6 ชัยภูมิ 156 165
7 ลำปาง 156 165
8 หนองบัวลำภู 156 165
9 เชียงราย 157 166
10 บุรีรัมย์ 157 166
11 ร้อยเอ็ด 157 166
12 ยโสธร 157 166
13 สกลนคร 157 166
14 ชัยนาท 158 167
15 สุพรรณบุรี 158 167
16 ตราด 160 169
17 ลำพูน 160 169
18 สมุทรสงคราม 163 172
19 อ่างทอง 165 174
20 เชียงใหม่ 171 180
21 พระนครศรีอยุธยา 181 190
22 สระบุรี 184 193
23 สมุทรปราการ 206 215
24 กรุงเทพฯ 206 215
ปรับขึ้น 10 บาท 16 จังหวัด
1 พิษณุโลก 153 163
2 แม่ฮ่องสอน 153 163
3 อุตรดิสถ์ 153 163
4 มุกดาหาร 155 165
5 กาฬสินธุ์ 157 167
6 ขอนแก่น 157 167
7 กำแพงเพชร 158 168
8 หนองคาย 159 169
9 นครนายก 160 170
10 เลย 163 173
11 สระแก้ว 163 173
12 นครราชสีมา 173 183
13 นนทบุรี 205 215
14 นครปฐม 205 215
15 ปทุมธานี 205 215
16 สมุทรสาคร 205 215
ปรับขึ้น 11 บาท 6 จังหวัด
1 ปัตตานี 159 170
2 นราธิวาส 160 171
3 อุบลราชธานี 160 171
4 สิงห์บุรี 165 176
5 เพชรบุรี 168 179
6 ระยอง 178 189
ปรับขึ้น 12 บาท 10 จังหวัด
1 แพร่ 151 163
2 พิจิตร 151 163
3 สุโขทัย 153 165
4 อุดรธานี 159 171
5 ยะลา 160 172
6 จันทบุรี 167 179
7 กาญจนบุรี 169 181
8 ลพบุรี 170 182
9 ระนอง 173 185
10 ชลบุรี 184 196
ปรับขึ้น 13 บาท 7 จังหวัด
1 สุราษฎร์ธานี 159 172
2 ชุมพร 160 173
3 ตรัง 162 175
4 ราชบุรี 167 180
5 พังงา 173 186
6 ฉะเชิงเทรา 180 193
7 ปราจีนบุรี 170 183
ปรับขึ้น 14 บาท 3 จังหวัด
1 พัทลุง 159 173
2 สตูล 159 173
3 กระบี่ 170 184
ปรับขึ้น 15 บาท 2 จังหวัด
1 นครศรีธรรมราช 159 174
2 สงขลา 161 176
ปรับขึ้น 17 บาท 1 จังหวัด
1 ภูเก็ต 204 221
* สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน สำนักเศรษฐกิจการแรงงาน สำนักงานคณะกรรมการค่าจ้าง
http://th.wikipedia.org/wiki/ค่าแรงขั้นต่ำ
(หน้านี้แก้ไขล่าสุดเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2554 เวลา 20:06 น.)
ตารางด้านล่างนี้เป็นการสรุปการยกเหตุผลสนับสนุนของผู้ที่เห็นด้วยและคัดค้านกฎหมายค่าแรงขั้นต่ำ
เหตุผลที่เห็นด้วยกับกฎหมายค่าแรงขั้นต่ำ
ยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของชนชั้นที่ยากจนที่สุดและอ่อนแอที่สุดในสังคมและเพิ่มค่าแรงเฉลี่ย[1]
กระตุ้นและสนบัสนุนให้ลูกจ้างทำงานหนักขึ้น ไม่เหมือนกับโครงการสวัสดิการและการโอนเงินอื่น[20]
กระตุ้นการบริโภค โดยการเพิ่มเงินในมือของผู้ที่มีรายได้ต่ำผู้ใช้จ่ายเช็คค่าจ้างทั้งหมด[1]
เพิ่มจริยธรรมด้านการทำงานแก่ผู้ที่มีรายได้น้อย เมื่อนายจ้างต้องการการทำงานตอบแทนมากขึ้นจากค่าจ้างลูกจ้างเหล่านี้ที่เพิ่มขึ้น[1]
ลดค่าใช้จ่ายโครงการสวัสดิการสังคมของรัฐบาลโดยการเพิ่มรายได้ของผู้ที่ได้รับค่าแรงต่ำสุด[1]
กระตุ้นให้ประชากรเข้าสู่ระบบแรงงานมากกว่าจะไปแสวงหาเงินด้วยวิธีที่ผิดกฎหมาย เช่น การขายยาเสพติด[21][22]
กระตุ้นประสิทธิภาพและการใช้เครื่องจักรในอุตสาหกรรม[23]
เหตุผลคัดค้านกฎหมายค่าแรงขั้นต่ำ
ส่งผลเสียต่อธุรกิจขนาดเล็กมากกว่าธุรกิจขนาดใหญ่[24]
ลดความต้องการจำนวนแรงงาน โดยผ่านการลดจำนวนชั่วโมงของแรงงานหนึ่งคน หรือผ่านการลดจำนวนตำแหน่งงาน[25][26]
อาจทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ เมื่อธุรกิจพยายามชดเชยรายได้ด้วยการขึ้นราคาขายสินค้า[27][28] ***
เป็นประโยชน์แก่แรงงานบางส่วน ขณะที่แรงงานที่ยากจนและมีผลิตภาพน้อยที่สุด[29]
อาจส่งผลให้แรงงานบางกลุ่มในระบบถูกตัดออกจากระบบ[30]
มีประสิทธฺภาพน้อยกว่าวิธีอื่นในการลดความยากจน และสร้างความเสียหายแก่ธุรกิจมากกว่าวิธีอื่น[31]
เหนี่ยวรั้งมิให้แรงงานที่ยากจนได้รับการศึกษาเพิ่มเติม เพราะเป็นการล่อใจให้เข้าสู่ตลาดอาชีพ[31]
"...อาจทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ เมื่อธุรกิจพยายามชดเชยรายได้ด้วยการขึ้นราคาขายสินค้า..."
Let us see the race between "minimum wage rise" and "price rise".
My bet is on "price rise". By at least 6 months -- more likely 24 months. Sigh!
Time to be more 'local' and support our local community: grow local, buy local, ..., marry locals ... die local!
บิ๊กแบล็คเหรอ แดกกันเข้าไป ยังไงก็ไม่พ้นน้ำท่วมกรุงอยู่ดี
รัฐบาลควายแท้ๆ