นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร
นาง เพ็ญพร นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร รัชชะ

โครงการการพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกยางพารา


โครงการการพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกยางพารา

โครงการการพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกยางพารา

 

เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม  2554  ณ หอประชุมหมู่บ้าน  หมู่ที่ 5  ตำบลอิปัน  อำเภอพระแสง  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  ดิฉันได้ดำเนินการถอดองค์ความรู้เรื่องยางพารา  โดยมีประเด็น  คือ โรครากขาวยางพารา ซึ่งมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ  จำนวน  20  คน  เริ่มด้วยอาการที่แสดงให้เห็นว่าเป็นโรค  เกษตรกรได้จำแนกเป็นข้อๆ  ดังนี้

  1. ใบเริ่มเหลือง
  2. ไม่มีน้ำยาง,ยืนตาย
  3. เปลือกร่น
  4. โคนเน่าเปื่อย
  5. ต้นล้ม

เมื่อเจออาการดังกล่าวเกษตรกรได้ทำการรักษาและป้องกัน  ดังนี้

  1. ขุดเป็นร่องเนื้อป้องกันการลุกลามไปยังต้นอื่นๆ
  2. ใช้ปูนขาวโรย

แต่การดำเนินการดังกล่าวนั้นเกษตรกร กล่าวว่า  ก็ยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร  ยังมีการเกิดโรครา

ขาวขึ้นอีก  จึงได้แนะนำการป้องกันกำจัดโรครากขาวตามคำแนะนำของกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง เพื่อให้เกษตรกรลองนำไปปฏิบัติ  คือ

  1. การเตรียมพื้นที่ปลูก ควรทำลายตอไม้เก่าออกให้หมด  ไถพลิกดินตากแดด  เพื่อกำจัดเชื้อรา
  2. ในแหล่งที่มีโรคระบาด  ใช้กำมะถันผง 240 กรัม ผสมดินในหลุมปลูก  เพื่อปรับสภาพ PH  ดินให้เป็นกรด ไม่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของเชื้อ  และสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อได้ 
  3. การใช้สารเคมี  ชนิดไดก็ได้ดังต่อไปนี้  ราดโคนต้นที่เป็นโรค

3.1      ไตรเดอร์มอร์ฟ  (คาลิกซิล)  อัตรา  10-20  ซีซี ต่อน้ำ 2 ลิตร/ต้น

3.2      ไซโพรโคนาโซล (อัลโต)  อัตรา  10-20  ซีซี  ต่อน้ำ 2 ลิตร/ต้น

3.3      โพรพิโคนาโซล (ทิลท์)  อัตรา  30  ซีซี ต่อน้ำ 3 ลิตร/ต้น

3.4      เฟนิโคลนิล  (เบเรต์)  อัตรา  4-8  กรัม  ต่อน้ำ  3  ลิตร/ต้น

หมายเลขบันทึก: 455662เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2011 15:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท