นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร
นาย สิทธิโชค นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร บุญคง

โครงการการพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกยางพารา


โครงการการพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกยางพารา

 

                    เมื่อวันที่  8  สิงหาคม 2554  ณ. บ้านบางเตา หมู่ที่ 10 ตำบลบางสวรรค์   อำเภอพระแสง  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  ข้าพเจ้านายสิทธิโชค  บุญคง  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ  ได้ถอดองค์ความรู้เพื่อจัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบการผลิตและการจัดการสวนยางพารา โดยสรุปผลจากการประชุมกลุ่มย่อย  ดังนี้

                    1.  เรื่องระบบการกรีดของเกษตรกรบ้านบางเตา  ส่วนใหญ่ประมาณ 80-90 เปอร์เซ็นต์  ที่เกษตรกรใช้ระบบการกรีด 1/3  กรีด 3 วัน เว้น 1 วัน  เนื่องจากสะดวกกับการกรีด  ความยาวของหน้ากรีดเหมาะสมกับเกษตรกร เพราะเกษตรกรแต่ละรายต้องกรีดยาวหลายร้อยต้น  เพราะถ้าหากกรีด ½  กรีด 1 วัน เว้น 1 วัน  ตามระบบนั้นสามารถกรีดได้  400-500  ต้น/คน  จึงไม่เหมาะกับเกษตรกรกับสภาพพื้นที่ควนเขา และยางพาราที่มีอายุหลายปี

                    2.  เรื่องโรครากขาว  เกษตรกรส่วนใหญ่ในที่ประชุมไม่สามารถแก้ไขและป้องกันได้ในปัจจุบัน  แต่มีเกษตรกรผู้หนึ่งเล่าให้ฟังว่าได้ฟังจากวิทยุของกรมประชาสัมพันธ์ว่า  ถ้าหากต้นใดเป็นให้ขุดเผาทำลายแล้วใช้ยาฆ่าหญ้าประเภทดูดซึมฉีดทำลายเชื้อราที่ทำให้เกิดโรครากขาวได้

หมายเลขบันทึก: 455657เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2011 14:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท