การประเมินเสริมพลัง: แนวทางประยุกต์ใช้


รูปแบบการพัฒนาครูด้านการประเมินการเรียนรู้ตามแนวคิดการประเมินแบบเสริมพลังอำนาจที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542

         การประยุกต์ใช้การประเมินเสริมพลังทางการศึกษาขอนำเสนอรายงานวิจัยเรื่อง รูปแบบการพัฒนาครูด้านการประเมินการเรียนรู้ตามแนวคิดการประเมินแบบเสริมพลังอำนาจที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พุทธศักราช  2542  (กฤติยา วงศ์ก้อม, 2547)  ซึ่งเป็นวิทยานิพนธ์ สาขาการวัดและประเมินผลการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

          งานวิจัยดังกล่าวใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนาแสวงหาคำตอบ โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูด้านการประเมินการเรียนรู้ตามแนวคิดการประเมินแบบเสริมพลังอำนาจที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พุทธศักราช  2542  งานวิจัยเล่มนี้ใช้คำว่า "การประเมินแบบเสริมพลังอำนาจ" มีการพัฒนารูปแบบ ที่ผ่านการสร้าง ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ ทดลองใช้ในบริบทจริงทั้งโรงเรียนเอกชน โรงเรียนรัฐบาล ผลการวิจัยที่จะนำเสนอเพื่อให้เกิดการประยุกต์ใช้ในแนวทางอื่น ดิฉันขอนำเสนอรูปแบบที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 

           การกำหนดองค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาครูด้านการประเมินการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ได้จากการผลการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นตอนการประเมินการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ผลการวิเคราะห์แนวคิดการประเมินแบบเสริมพลังอำนาจ และแนวทางการพัฒนาครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน มาทำการสังเคราะห์รวมโดยใช้หลักความสอดคล้องและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และกำหนดรูปแบบการพัฒนาครูด้านการประเมินการเรียนรู้ตามแนวคิดการประเมินแบบเสริมพลังอำนาจที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ซึ่งมีรายละเอียดในแต่ละองค์ประกอบประกอบด้วยส่วนประกอบดังนี้
 1.  การสำรวจสภาพก่อนการพัฒนา
 2.  การกำหนดเป้าหมายการพัฒนา
 3.  การกำหนดวิธีการฝึกอบรม
 4.  การกำหนดหลักสูตรการฝึกอบรม
 5.  การกำหนดแผนการให้คำปรึกษาและการอำนวยความสะดวก
 6.  การฝึกอบรมแนวคิดและขั้นตอนการประเมินการเรียนรู้
 7.  การให้คำปรึกษาและการอำนวยความสะดวก
 8.  การเก็บรวบรวมข้อมูลการพัฒนาครู
 9.  การประมวลผลข้อมูลการพัฒนาครู
10. การสรุปผลการประเมินการพัฒนาครู
            โครงสร้างของรูปแบบการพัฒนาครูด้านการประเมินการเรียนรู้ตามแนวคิดการประเมินแบบเสริมพลังอำนาจที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ใช้แนวคิดเชิงระบบทั่วไปในการออกแบบทำให้ได้โครงสร้างของรูปแบบดังแผนภาพที่ 1 ซึ่งมี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ การวางแผนการพัฒนาครู การปฏิบัติการพัฒนาครู และผลการประเมินการพัฒนาครู ซึ่งแต่ละองค์ประกอบมีส่วนประกอบที่สัมพันธ์กันดังนี้
1. การวางแผนการพัฒนาครู ประกอบด้วย
    1.1 การสำรวจสภาพก่อนการพัฒนา
    1.2 การกำหนดเป้าหมายการพัฒนา
    1.3 การกำหนดวิธีการฝึกอบรม
    1.4 การกำหนดหลักสูตรการฝึกอบรม
    1.5 การกำหนดแผนการให้คำปรึกษาและการอำนวยความสะดวก
2. การปฏิบัติการพัฒนาครู ประกอบด้วย
    2.1 การฝึกอบรมแนวคิดและขั้นตอนการประเมินการเรียนรู้
    2.2 การให้คำปรึกษาและการอำนวยความสะดวก*
3. ผลการประเมินการพัฒนาครู ประกอบด้วย
    3.1 การเก็บรวบรวมข้อมูล
    3.2 การประมวลผล
    3.3 การสรุปผลการประเมิน

        *การให้คำปรึกษาและการอำนวยความสะดวก ใช้แนวคิดการประเมินแบบเสริมพลังอำนาจออกแบบทำให้ให้โครงสร้างของรูปแบบการประเมินการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ที่มีเป้าหมายเพื่อให้ได้ผลการประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนและเพื่อให้ครูเกิดทักษะการประเมินโดยผ่านการปฏิบัติการประเมินการเรียนรู้ที่มีผู้วิจัยเป็นผู้ให้คำปรึกษาและอำนวยความสะดวก มี 4 องค์ประกอบ ออกแบบร่างรูปแบบการประเมินการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ได้ดังแผนภาพที่ 2 แต่ละองค์ประกอบย่อยมีส่วนประกอบที่สัมพันธ์กัน ดังนี้
1. การรวบรวมข้อมูล (taking stock) ประกอบด้วย
   1.1 การสำรวจสภาพผลการเรียนรู้ก่อนการประเมินนักเรียน
   1.2 การวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของนักเรียน
2. การกำหนดเป้าหมาย (setting goals) ประกอบด้วย
    2.1 การวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
    2.2 การกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้
    2.3 การกำหนดสิ่งที่จะประเมิน
3. การพัฒนากลยุทธ์และปฏิบัติตามกลยุทธ์ (developing strategies)
    การพัฒนากลยุทธ์ ประกอบด้วย
    3.1 การกำหนดภาระงานและกิจกรรมส่งเสริมการปฏิบัติภาระงาน
    3.2 การกำหนดวิธีการ/เครื่องมือ
    3.3 การกำหนดผู้ประเมิน
    3.4 การหลอมรวมแผนการประเมินสู่แผนการเรียนรู้
    3.5 การสร้างเครื่องมือหรือ/และการสร้างเกณฑ์การให้คะแนน
    การปฏิบัติตามกลยุทธ์ ประกอบด้วย
    3.6 การเก็บรวบรวมข้อมูล
    3.7 การประมวลผลข้อมูล
    3.8 การสรุปผลการประเมิน
4. การนำเสนอหลักฐานแสดงความก้าวหน้า (documenting progress)
    ประกอบด้วย
    4.1 การนำเสนอผลการประเมินการเรียนรู้
    4.2 การนำผลการประเมินไปใช้

       
        การประเมินผลเพื่อสร้างเสริมพลังอำนาจ (Empowerment Evaluation : EE) เป็นการนำเอานวัตกรรมทางการบริหารมาใช้ในการประเมิน รูปแบบการประเมิน EEถูกนำมาใช้ในการประเมินการดำเนินงานของอุดมศึกษา รัฐบาล การจัดการศึกษาของการปกครองระดับท้องถิ่น องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร และมูลนิธิ ตลอดจนประเทศสหรัฐอเมริกา  และประเทศต่างๆ  นอกจากนี้ EE ยังถูกใช้ในการประเมินโครงการต่างๆ และการดำเนินงานขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย  เช่น  การป้องกันการทำทารุณกรรม การป้องกันการติดเชื้อเอดส์ การป้องกันอาชญากรรม  การปฏิรูประบบสังคมสงเคราะห์ บ้านพักสตรีที่ถูกทารุณ การเกษตรและพัฒนาชนบท  การคุมประพฤติ  การป้องกันการตั้งท้องในวัยรุ่น  การร่วมมือจากชนเผ่าพื้นเมืองเกี่ยวกับสารเสพติด การให้คนไร้ความสามารถตัดตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง  โครงการศึกษาระดับปริญญาเอก และโรงเรียนเร่งพัฒนา (Accelerated schools: จัดหาแนวทางที่ทำให้เด็กได้รู้พัฒนาการและศักยภาพของตนเอง)รายละเอียดการใช้การประเมินผลเพื่อสร้างเสริมพลังอำนาจอธิบายไว้ในหนังสือ Knowledge and Tools for Self-assessment and Accountability (Fetterman, Kaftarian, and Wandersman 1996).  ซึ่งหนังสือเล่มนี้คือ “การประเมินเพื่อสร้างเสริมพลังอำนาจ”อยู่ในระหว่างพิมพ์ Fettermanจะเพิ่มรายละเอียดในวิธีการประเมินแนวใหม่เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินการประชุมปฏิบัติการ รวมถึงแผนการอบรมสมาชิกที่อยู่ในทีม การมีส่วนร่วมในการประเมิน การพัฒนาแผนการปฏิบัติ นอกจากนี้ยังได้รับการบรรจุไว้ในสมาคมการประเมินผของอเมริกา และมุ่งมั่นที่จะพัฒนาให้ได้มาตรฐานโดยคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการประเมิน (Fetterman 1995b; Joint Committee, 1994)...  

 

Author by:      David Fetterman

ที่มา        :        American Journal of Evaluation. 1994; 15: 1-15 

แปลโดย  นางเบญจมาภรณ์  เสนารัตน์

นิสิตปริญญาเอก  สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 

 http://senarat.multiply.com/journal/item/55

หมายเลขบันทึก: 455476เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2011 15:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 19:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท