การศึกษาเพื่อปวงชน


การประชุมระดับสูงว่าด้วยการศึกษาเพื่อปวงชน ครั้งที่ 10

การศึกษาเพื่อปวงชน
  เมื่อวันที่  22  มีนาคม 2554 ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพประชุมครั้งนี้ มีเหตุผลเนื่องมาจากประเทศไทยเป็นต้นกำเนิดวาระการศึกษาเพื่อปวงชน  โดยการเป็นเจ้าภาพการประชุมระดับโลกว่าด้วยการศึกษาเพื่อปวงชน เมื่อปี 2533 ดังนั้นในปี 2544 จึงถือเป็นการครบรอบการรับรองปฏิญญาจอมเทียนว่าด้วยการศึกษาเพื่อปวงชน
    สาระสำคัญของแถลงการณ์ในการประชุมครั้งนี้ ได้สะท้อนให้เห็นถึงเจตนารมณ์ร่วมกันของผู้นำด้านการศึกษาจากทั่วโลก ในการตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาที่จะส่งผลต่อการพัฒนาในทุกมิติ ดังนั้นการประกาศเจตนารมณ์ดังกล่าว ถือเป็นการเร่งรัดให้เกิดการกำเนินการพัฒนาการศึกษาให้บรรลุตามเป้าหมายให้ได้มากที่สุด โดยจะดำเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้
    1. การเข้าถึงการศึกาาควบคู่ไปการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยการจัดสรรงบประมาณไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15-20 ของงบประมาณประเทศ
    2. ความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนาด้วยการทำให้เกิดพลังในการขับเคลื่อนการศึกษาด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน

วัตถุประสงค์ของการประชุมครั้งนี้ คือ เพื่อทบทวนสภาพการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสสวรรษของสหประชาชาติ (UN Millennium Development Goals -MDGs) ซึ่งมีทั้งหมด 8  เป้าหมาย  เป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ได้แก่ เป้าหมายที่ 2 คือ ให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาระดับประถมศึกษา ซึ่งประเทศไทยบรรลุเป้าหมายดังกล่าว และมีการหารือกันใน 3  เรื่อง 1. การศึกษากับการขจัดความยากจน 2. การศึกษากับสุขอนามัย 3. การศึกษากับการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยท้ายสุดได้มีการพิจารณาเสนอนโยบายที่สำคัญสำหรับภูมิภาคเอเชียนและแปซิฟิก ซึ่งมีจุดเน้นที่สำคัญคือ การสร้างหุ้นส่วนการทำงาน การเพิ่มงบประมาณเพื่อการศึกษา

หมายเลขบันทึก: 454575เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2011 11:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2012 23:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท