จิตสำนึกของผู้นำ


จิตสำนึกของผู้นำ

การจะเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ หรือ เป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จได้ นอกจากเป็นที่รัก และยอมรับของกลุ่ม เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถแล้ว ยังจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเป็นผู้ที่มีจิตสำนึกของความเป็นผู้นำอยู่ในส่วนลึกของจิตใจอีกด้วย ซึ่งกล้าตัดสินใจ และรับผิดชอบในการตัดสินใจนั้น ซึ่งเรื่องการปลูกผังจิตสำนึกนี้เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นจะต้องปลูกฝังกันตั้งแต่ยังเป็นเด็กหรือในช่วงวัยเด็ก โดยเฉพาะในช่วงวัยที่นักจิตวิทยาเรียก”crucial period” ของชีวิตเป็นช่วงปลูกฝังความเป็นมนุษย์ที่มีคุณภาพ ซึ่งอยู่ในระยะ 1-6 ปีแรกของชีวิต ในช่วงนี้เป็นช่วงที่ภาระตามขั้นพัฒนาตามวัย มีสำคัญซึ่งจะต้องได้รับการเสริมขั้นการพัฒนาเพื่อพัฒนาปลูกฝังลงลึกไว้ในจิตใจสำหรับเป็นมาตรการใช้ควบคุมการกระทำพฤติกรรม เมื่อเติบโตขึ้น เพราะนั้นจึงเป็นหน้าที่สำคัญของครอบครัว คือพ่อ แม่ สถาบันการศึกษาคือ ครูอาจารย์ ที่จะต้องช่วยกันเสริมสร้างและสนับสนุนให้ภาระตามขั้นพัฒนาดังกล่าว ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ เพราะนอกจากจะเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกที่สำคัญ แล้วยังมีผลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคลนั้น เมื่อเติบโตขึ้น ทำบุคคลนั้น ๆ  เติบโตขึ้นมาเป็นบุคคลที่มีคุณภาพของสังคม นักจิวิทยายอมรับว่า ภาระตามขั้นพัฒนาในช่วงอายุ 1-6 ปี เป็นช่วงสำคัญยิ่งของชีวิตมนุษย์ เพราะเป็นช่วงสร้างและเป็นช่วงปลูกฝังลักษณะบุคลิกภาพที่สำคัญของชีวิตมนุษย์ อันได้แก่

  1. ความเชื่อมั่นในตัวเอง ความเป็นตัวของตัวเองไม่ขึ้นกับผู้อื่น ความมีอิสระในตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นด้านการกระทำหรือมีอิสระในการตัดสินใจ กล้าตัดสินใจ และรับผิดชอบในกาตัดสินใจนั้น ซึ่งจะอยู่ในช่วงอาจยุ 0-1 ปี แรกของชีวิต

  2. ช่วงปลูกฝังการรับรู้สิ่งถูกสิ่งผิด การรับรู้ว่าสิ่งใดควรสิ่งใดไม่ควร การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ช่วงการพัฒนานี้จะอยู่ในช่วงอายุ 1-2 ปี

  3. ช่วงปลูกฝังความมีเหตุมีผล มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความมีระเบียบ ความมีวินัย ความรับผิดชอบ (ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นคุณลักษณะของนักประชาธิปไตย ที่มีคุณภาพที่สังคมต้องการในปัจจุบัน ช่วงการพัฒนาอยู่ในช่วงอายุ 2-3 ปี

  4. ช่วงการปลูกฝังการยอมรับบทบาทหน้าที่ที่พึ่งปฏิบัติในสังคม การยอมรับหน้าที่บทบาทความเป็นชาย-หญิง บทบาทความเป็นพี่-เป็นน้อง ฯลฯ การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ตนครองอยู่ เป็นต้น เกี่ยวกับจิสำนึกของการเป็นผู้นำนั้น ได้มีผู้ทำการศึกษาไว้มากมาย อาทิเช่น เบอร์นาร์ด (Bernard : 1961) โคล์ดแมน (Coleman : 1995) ไอเซ็กค์ (Eysenck : 1994) วากเนอร์ (Wagner : 1987) แม็คเคลแลนด์(Mc clelland : 1998) และ คูเปอร์ (Cooper : 1998 )ล้วนแล้วแต่ยอมรับความสำคัญของการเสริมสร้างขั้นพัฒนาในช่วง “crucial period“ หรือช่วงการปลูกฝังความเป็นมนุษย์ที่มีคุณภาพอันจะนำไปสู่การมีจิตสำนึกของการเป็นผู้นำที่ดี ซึ่งครอบคลุมไปถึงด้านบุคลิกภาพและลักษณะนิสัยพอจะนำมาประมวลสรุปได้ดังต่อไปนี้ คือ

    1. มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความหนักแน่น ไม่อ่อนไหว สามารถแสดงบทบาทการเป็นผู้นำได้อย่างเสมอต้นเสมอปลาย

    2. รู้จักตนเอง-ยอมรับตัวเอง ยอมรับข้อบกพร่องของตนเอง และของผู้อื่น

    3. รู้สิ่งที่ถูก และสิ่งที่ผิดมีคุณธรรม มีจริยธรรม มีความละอายต่อการกระทำที่ผิดศีลธรรมอันดีงาม และสังคมไม่ยอมรับ

    4. มีสุขภาพดี ไม่หวั่นไหว เมื่อเผชิญปัญหาสามารถเผชิญปัญหาได้ด้วยเหตุผลไม่ใช้อารมณ์ มองลกในแง่ดี

    5. มีความกระตือรือร้น รับผิดชอบต่อตนเองต่อลูกน้อง และต้องหน้าที่การงาน กล้าที่จะตัดสอนใจ และรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้กระทำลงไป เป็นต้น นักประชาธิปไตย มีเหตุมีผล ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น เคารพกฎระเบียบ มีกติกาในชีวิต

    6. สามารถควบคุมตัวเองได้ เป็นตัวของตัวเอง เป็นอิสระในตนเอง ไม่ขึ้นกับอิทธิพลของผู้ใด

    7. มีจิตใจเข้มแข็ง อดกลั้น อดทน มานะ พยายาม

    8. เป็นผู้ที่เฉลียวฉลาด มีความรู้ มีสติปัญญาสูง รู้จักฟัง รู้จักคิด และคิดในทางสร้างสรรค์

    9. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความจริงใจ รู้จักเลือกบุคคลตามความสามารถเหมาะสมซึ่งไม่จำเป็นจะต้องมีจำนวนมาก

10.  เป็นผู้ที่ยืดหยุ่นเป็น ไม่ยึดถือมั่นผ่อนปรนเป็น

11.  มีความสามารถในการจูงใจบุคคลอื่น ให้เกิดความเลื่อมใสร่วมมือใจกันปฏิบัติงาน

อย่างไรก็ตาม มิได้หมายความว่า ผู้นำทุกคนจำเป็นจะต้องมีคุณสมบัติครบตามที่ได้ระบุมา

เหมือนกันหมด แต่ควรพยายามพัฒนาให้มีคุณสมบัติดังกล่าวมากที่สุดที่จะมากได้ ความเป็นผู้นำนอกจากจะต้องพัฒนากันในระยะยาวด้วยการปลูกฝังบุคลิกภาพ ลักษณะนิสัย ปลูกฝังจิตสำนึก ตั้งแต่ในวัยเด็ก ตามที่ได้กล่าวมาแล้วก็ตาม การพัฒนาบุคคลให้เป็นผู้นำก็ยังสามารถพัฒนาในระยะสั่นได้ด้วยการ “ปลูกจิตสำนึก” ได้เกิดขึ้นใหม่ ยอมรับ แก้ไข พัฒนาบุคลิกภาพ และลักษณะนิสัย ที่เป็นอุปสรรคต่อกรเป็นผู้นำที่ดี อันประกอบด้วย

  1. ใช้อารมณ์เป็นหลัก  ขาดเหตุผล ขาดการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

  2. ลืมตัว หลงอำนาจ

  3. ขาดคุณธรรม จริยธรรม ขาดการรู้ว่าสิ่งใดควรปฏิบัติ ขาดความยุติธรรม

  4. ไม่เป็นตัวของตัวเอง ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่กล้าตัดสินใจ

  5. ขาดความรับผิดชอบ

  6. ขาดความเป็นนักประชาธิปไตย ชอบใช้อำนาจ เป็นต้น

สรุป  การจะพัฒนาบุคคลให้เป็นผู้นำที่มีจิตสำนึกได้นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง เลือกสรรบุคคลที่พร้อมจะรับการพัฒนา ในเวลาเดียวกันจะต้องพิจารณา ระดับสติปัญญา ลักษณะบุคลิกภาพ ลักษณะนิสัย และระดับจิตสำนึกพื้นฐานที่ได้รับการปลูกฝังมา นอกจากนี้ยังจะต้องเป็นผู้ที่จะยอมรับข้อบกพร่องของตัวเอง มีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะรับการพัฒนาตนเองควบคู่ไปกับการยอมให้ความร่วมมือให้ผู้อื่นพัฒนาให้ด้วย

หมายเลขบันทึก: 454549เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2011 10:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท