พระพุทธศาสนากับหลักการครองเรือน


พระพุทธศาสนากับหลักการครองเรือน
พระพุทธศาสนากับหลักการครองเรือน

       พระพุทธศาสนานั้นไม่ได้หมายความว่าต้องให้ทุกคนเข้ามาบวชแล้วปฏิบัติเพื่อแสวงหาความหลุดพ้นเพียงอย่างเดียว แต่ว่าผู้ใดยังไม่มีความพร้อมในการเข้ามาบวชปฏิบัติได้ คือปรารถนาจะอยู่การครองเรือนสมัครใช้ชีวิตแบบฆราวาสวิสัยก็มีธรรมะเครื่องปฏิบัติ พอเหมาะสมแก่ความเป็นอยู่ของผู้นั้นได้ เช่น หลักธรรมในฆราวาสธรรม เป็นธรรมที่สำคัญมากสำหรับผู้ครองเรือน ขาดข้อใดข้อหนึ่งก็ไม่ได้ เพราะถ้าขาดแล้วก็จะทำให้ชีวิตการครองเรือนล้มสลายไปในทันที
พระพุทธเจ้าตรัสไว้มี ๔ ข้อ คือ

๑. สัจจะ คือความจริงใจ ผู้ครองเรือนต้องมีความจริงใจต่อกัน มีความซื่อสัตย์ต่อกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
๒. ทมะ คือความข่มใจ คือรู้จักห้ามใจตนเอง
๓. ขันติ คือความอดทนทั้งทางกาย และทางใจ
๔. จาคะ คือความเสียสละ เผื่อแผ่ ไม่ใจแคบ รวมไปถึงการสละอารมณ์ที่ไม่ดีไม่งามออกไปด้วย

       พระพุทธเจ้ายังตรัสเพิ่มเติมถึงธรรมะที่ทำให้ผู้ครองเรือนมีความสุขอยู่
๔ ประการ คือ

๑. ความสุขที่เกิดจากการมีทรัพย์
๒. ความสุขที่เกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์นั้นตามสมควร
๓. ความสุขที่เกิดจากการไม่ต้องเป็นหนี้
๔. ความสุขที่เกิดจากการประกอบกิจการงานที่ปราศจากโทษ

       เราจะเห็นได้ว่าคำสอนในพระพุทธศาสนานั้น ไม่ใช่คำสอนที่มุ่งจะขนสัตว์ทุกคนไปนิพพานเสียทั้งหมดแต่ก็มีคำสอนขั้นพื้นฐาน ขั้นกลางและขั้นสูง เหมาะแก่คนทุกระดับชั้นไว้สำหรับประพฤติปฏิบัติ
Retrieved from  
http://board.palungjit.com/f10/ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา-159123-2.html
หมายเลขบันทึก: 454045เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2011 18:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท