ในคดีแพ่ง โจทก์ และ จำเลย สามารถว่าความเองได้หรือไม่?


วันนี้เสียงใสใสตามสายจากห้องใกล้ๆโทรมาถามว่า "รู้ป่าว ว่าคนที่เค้าเป็นจำเลยในคดีแพ่ง ว่าความแก้ต่างให้ตัวเองได้มั๊ย มันเหมือนกับคดีอาญามั๊ย เพราะในคดีอาญากฎหมายบัญญัติให้ศาลมีหน้าที่ต้องจัดหาทนายความให้จำเลย หากจำเลยไม่มีทนายความ???"

ในคดีแพ่ง โจทก์ และ จำเลย สามารถว่าความเองได้หรือไม่?

มาตรา 60
       คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือผู้แทนโดยชอบธรรมใน กรณีที่คู่ความเป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือผู้แทนในกรณีที่คู่ความเป็น นิติบุคคลจะว่าด้วยตนเองและดำเนินกระบวนพิจารณาทั้งปวงตาม ที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์ของตน หรือจะตั้งแต่งทนายความ คนเดียวหรือหลายคนให้ว่าความ และดำเนินกระบวนพิจารณา แทนตนก็ได้
       ถ้าคู่ความหรือผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้แทนดั่งที่ ได้กล่าวมาแล้วทำหนังสือมอบอำนาจให้บุคคลใดเป็นผู้แทนตนในคดี ผู้รับมอบอำนาจเช่นว่านั้นจะว่าความอย่างทนายความไม่ได้ แต่ย่อม ตั้งทนายความเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาได้ 
หมายเหตุมาตรา 60 แก้ไขโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 5) พ.ศ.2499

บทบัญญัติมาตรา 60 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เปิดโอกาสให้ "คู่ความ" (ได้แก่ โจทก์ จำเลย) "ผู้แทนโดยชอบธรรม" และ "ผู้แทนของนิติบุคคล" มีสิทธิว่าความด้วยตนเองและดำเนินกระบวนพิจารณาต่างในศาลได้เอง 

ดังนั้น จึงไม่ต้องแปลกใจหากพบว่ามีโจทก์ จำเลย บางคนลุกขึ้นมาสวมบทบาทเป็นทนายความซักค้าน และแก้ต่างให้ตัวเอง  :)

 

15/08/2554

หมายเลขบันทึก: 454028เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2011 16:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท