การประเมิณโครงการ


การประเมิณโครงการ
 

 

 

 

 

 

                 การประเมินโครงการนับว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดของการดำเนิน       โครงการ เพราะการประเมิน
โครงการหมายถึง กระบวนการที่ก่อให้เกิดสารนิเทศในการปรับปรุงโครงการ และสารนิเทศในการ      ตัดสินผลสัมฤทธิ์ของโครงการ การจัดการประเมินโครงการเพื่อให้ทราบว่า        โครงการนั้นบรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้เพียงใด มีปัญหาอุปสรรคอย่างไร จะได้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงโครงการ

                ประโยชน์ของการประเมินโครงการ

1.       ทำให้มีการกำหนดวัตถุประสงค์หรือมาตรฐานในการดำเนินการที่ชัดเจน

2.       ทำให้มีการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์เต็มที่และคุ้มค่า

3.       ทำให้แผนงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ คือ เริ่มจากการวางแผนดำเนินการตามแผนและประเมินผล

4.       ทำให้เกิดการควบคุมคุณภาพของงาน วิเคราะห์ทุกส่วนของโครงการเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา

5.       เพื่อทราบปัญหาอุปสรรค ข้อดี ข้อเสีย ตลอดจนแนวทางการปรับปรุงแก้ไข เพื่อผู้

บริหาร   จะได้มีข้อมูลประกอบในการตัดสินใจว่าจะดำเนินการขยายหรือยุติโครงการ

การประเมินก็จะแบ่งเป็น 4 ประเภท

1.       ประเมินก่อนดำเนินโครงการ  (Ex-ante’  Evaluation)

2.       ประเมินระหว่างดำเนินโครงการ  (Formative  Evaluation)

3.       ประเมินเสร็จสิ้นโครงการ  (Summative  Evalution)

4.       ประเมินหลังเสร็จสิ้นโครงการ  (Follow – up)

 

1.       การประเมินก่อนดำเนินการ  จุดมุ่งหมายจะวิเคราะห์ข้อมูลก่อน คือ สำรวจความต้องการ (Need  Assessment)  และศึกษาหาความเป็นไปได้  (Feasibility)  คือ พิจารณาสภาพความพร้อมในการดำเนินโครงการ

2.       ประเมินระหว่างดำเนินการ  เพื่อศึกษาหาความก้าวหน้าของโครงการ เพื่อทราบปัญหาอุปสรรคแต่ละช่วง และนำข้อมูลมาปรับปรุง

3.       การประเมินเสร็จสิ้นโครงการ  เพื่อดูว่าบรรลุวัตถุประสงค์เป้าหมายมากน้อยเพียงใดเน้นผลที่เกิดจากโครงการ

4.       การประเมินหลังเสร็จสิ้นโครงการ  คือ การติดตามงานเป็นขั้นสุดท้ายของการประเมิน  โครงการ ดูสภาพความสำเร็จ ความล้มเหลวของโครงการ ผลที่เกิดจากโครงการ

 

สรุปประเภทการประเมินโครงการ

 

ประเภทดำเนินการ

โครงการที่เหมาะสม

โครงการที่ไม่เหมาะสม

 

ก่อนดำเนินการ

โครงการสำคัญ งบประมาณมาก

ความเสี่ยงสูง

โครงการนโยบาย

โครงการเร่งด่วน

 

ระหว่างดำเนินงาน

ระยะเวลานานพอสมควร

(2 สัปดาห์/1 เดือน)

ระยะเวลาสั้น (3 วัน)

เสร็จสิ้นดำเนินงาน

ระยะเวลาสั้น

วัดทักษะ/เจตคติ

หลังเสร็จสิ้นโครงการ

วัดทักษะ/เจตคติ

ระยะเวลาสั้น

 

                กระบวนการประเมินโครงการ

1.       หลักการเหตุผลและความสำคัญของการประเมินโครงการ เพราะอะไร ทำไมถึงประเมินโครงการนี้

2.       กำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมิน เพื่อทราบว่าโครงการบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่มีปัญหา อุปสรรค ข้อดี ข้อเสียอะไร

3.       วิเคราะห์ทุกส่วนของโครงการ เช่น วัตถุประสงค์ ผู้ที่เกี่ยวข้องภาพรวมความสำเร็จ          ความคุ้มค่า

4.       การออกแบบการประเมิน จะใช้รูปแบบการประเมินใดที่เหมาะสม เช่น รูปแบบของTyler  เหมาะสำหรับเรื่องการเรียนการสอน วัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา รูปแบบของ  CIPP  เหมาะสำหรับการใช้ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจยุติ/ขยายโครงการ และหาข้อบกพร่องของโครงการ

5.       การเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การเก็บจากแบบสอบถาม แบบสังเกต คือ แบบทดสอบแบบสัมภาษณ์แล้วแต่กรณี

6.       การวิเคราะห์ข้อมูล คือ การนำข้อมูลที่เก็บได้มาทำการวิเคราะห์ โดยอาศัยค่าทางสถิติไม่ว่าจะเป็นค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  (X)  และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน หรือค่าอื่น ๆ

                                       สรุป คือ สรุปผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลโดยจะแจ้งส่วนดีก่อนแล้วจึงจะแจ้งจุดด้อยที่ค้นพบ

                อภิปรายผล ควรทำกระชับ ดึงดูดความสนใจ เหตุผลมาสนับสนุนว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น

                ข้อเสนอแนะ  คือ  ข้อที่ค้นพบที่เป็นจุดด้อยของการประเมินโครงการนั้น ๆ เพื่อจะได้นำมาพัฒนาปรับปรุง แก้ไขโครงการให้ดียิ่งขึ้น

 

เอกสารอ้างอิง

สมหวัง  พิธิยานุวัฒน์.  “ความรู้พื้นฐานสำหรับการประเมินโครงการทางการศึกษา”

                ในรวมบทความทางการประเมินโครงการ สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535.

สุวิมล  ติรกานันท์.  “การประเมินโครงการ  :  แนวทางสู่การปฏิบัติ”  โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์

               มหาวิทยาลัย,  2544.

หมายเลขบันทึก: 454020เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2011 15:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท