การเลือกที่มีผลต่อความแตกต่างในสังคม


องค์กร ส่วนรวม ตัวเรา สังคม

ส่วนใหญ่แล้วพวกเราทุกคนก็อยากจะทำงานในองค์กรดี ๆ ที่มีความยุติธรรมและทุกคนทำงานอย่างมีความสุข  แต่ในโลกของความเป็นจริง คิดว่าองค์กรเหล่านี้มีน้อย  และบ่อยครั้งเราก็อาจจะไม่สามารถเลือกได้  ด้วยเราให้ความสำคัญกับสิ่งอื่น อย่างเช่น สถานที่องค์กรนั้นอยู่ซึ่งอาจจะเป็นคนละสถานที่กับครอบครัวของเรา หรือบางคนอาจจะมีอุดมการณ์ที่ยิ่งใหญ่มากกว่าการทำงานในองค์กรดี ๆ นั้นก็คือ ทำอย่างไรให้เราเป็นส่วนหนึ่งทำให้องค์กรนั้นดีขึ้น หรือทำอย่างไรให้คนที่ด้อยโอกาสทางสังคมมีโอกาสมากขึ้น

ดังนั้นในอีกมุมมองหนึ่ง แทนที่จะมองว่าเราจะทำงานแต่ในองค์กรที่ดี  เราอาจจะมองในมุมมองที่ว่าเราจะทำอย่างไรให้องค์กรนั้นดีขึ้น ถ้าหากมีคนคิดเช่นนี้หลายคน ทุกองค์กรก็จะมีความเจริญ คุณค่าของคนเหล่านี้ก็เพิ่มมากขึ้นด้วย  เพราะคนเหล่านี้คิดที่จะให้ คิดที่จะพัฒนา ไม่ได้เน้นคิดที่จะรับ  ตัวอย่างของบุคคลเหล่านี้ก็มีหลายคนอย่างเช่น มหาตมะ คานธี ผู้ซึ่งกล่าวว่า we must be the change we wish to see.   หรือคุณมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ ซึ่งเปลี่ยนทำให้องค์กร อสมท เป็นองค์กรที่ทันสมัยและสร้างผลกำไร

ถ้าหากว่าคนเก่งทุกคนรวมกันอยู่ในองค์กรเดียว  องค์กรที่เหลือก็คงจะไม่ค่อยมีคนเก่งเท่าไหร่  ถ้าหากองค์กรนั้นเป็นบริษัท นั้นหมายความว่าบริษัทที่ีมีแต่คนเก่ง ก็คงจะมีแต่ผลกำไร และสร้างความพึงพอใจให้ักับลูกค้า แต่ถ้ามองในแง่ขององค์กรที่เป็นองค์กรราชการ องค์กรการศึกษา หรือองค์กรเพื่อสาธารณะ ถ้าคนเก่งคนดีกระจุกแต่ในองค์กรใดองค์กรหนึ่ง หรือในเมืองใหญ่ ซึ่งก็คงทำให้องค์กรนั้นและเมืองนั้นเจริญ คนคงอยากจะย้ายจากองค์กรอื่นหรือเมืองเล็กอื่น ไปอยู่ในสถานที่ดีกว่า ซึ่งก็อาจจะเกิดปัญหาอย่างอื่นตามมา อย่างเช่น การที่ครอบครัวแยกกันอยู่ การละทิ้งถิ่นฐานของตน หรือการแก่งแย่งแข่งขันกันในเมืองใหญ่ และทำให้ความแตกต่างกันทางสังคมในระดับเมืองต่างๆ มีมากยิ่งขึ้น 

 เร็ว ๆ นี้อ่านข่าวในหนังสือพิมพ์คมชัดลึก พบว่าคะแนนเฉลี่ยรายวิชาของการสอบโอเน็ตสูงสุดอยู่ที่ กทม เชียงใหม่ ภูเก็ต ชลบุรี ส่วนต่ำสุดอยู่ที่ 3 จังหวัดภาคใต้ และภาคอีสาน  ซึ่งก็น่าเป็นห่วงว่าบุคคลที่อยู่ในจังหวัดที่คะแนนต่ำสุดจะพัฒนาขึ้นมาได้อย่างไร  รัฐบาลควรจะมีวิธีการอย่างไรในการกระจายความเจริญการศึกษาให้เท่าเทียมกัน หรือใกล้เคียงกันในทุกภูมิภาค แล้วแต่ละบุคคลเองจะมีส่วนช่วยได้อย่างไร  เพราะตราบใดที่ระดับการศึกษาของแต่ละภาคแตกต่างกัน  ระดับรายได้ ความเป็นอยู่ และความเจริญของแต่ละภาคก็ย่อมแตกต่างตามด้วย และสังคมใดที่มีผู้คนที่มีความแตกต่างมากในระดับการศึกษาและระดับความเป็นอยู่  ก็จะเสี่ยงมากต่อความแตกแยกในการอยู่ร่วมกันในองค์กรใหญ่ (ประเทศ) เดียวกัน ดังนั้นอาจจะเป็นหน้าที่ของทุกคนที่อยู่ในสังคมที่จะช่วยกันทำให้เกิดความแตกต่างในโอกาสและการเข้าถึงทรัพยากรให้น้อยที่สุดเพื่อทำให้คนทุกภาค ทุกส่วนอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 45383เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2006 23:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

"ดังนั้นอาจจะเป็นหน้าที่ของทุกคนที่อยู่ในสังคมที่จะช่วยกันทำให้เกิดความแตกต่างในโอกาสและการเข้าถึงทรัพยากรให้น้อยที่สุดเพื่อทำให้คนทุกภาค ทุกส่วนอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข"

เรียน  ท่านอาจารย์ที่เคารพ

  • ชอบวรรคนี้มากครับ
  • แต่ผมใคร่ขออนุญาตตัดคำว่า อาจจะ ออกไป แล้วใส่คำว่า ต้อง แทนนะครับ
  • เป็นหน้าที่และจิตสำนึกของทุกคนที่ต้องช่วยกันตั้งแต่บัดนี้ครับ
  • กราบขอบพระคุณครับ
     หากจะใช้ คะแนนเฉลี่ยรายวิชาของการสอบโอเน็ต ซึ่งสูงสุดอยู่ที่ กทม เชียงใหม่ ภูเก็ต ชลบุรี และต่ำสุดอยู่ที่ 3 จังหวัดภาคใต้ และภาคอีสาน มาเป็นตัวจับและบอกว่าต้องพัฒนาในพื้นที่ที่คะแนนเฉลี่ยรายวิชาของการสอบโอเน็ตต่ำ ก็เกรงว่าจะผิดพลาดอีกได้ เพราะเอาเข้าจริง ๆ อาจจะต้องพัฒนาในพื้นที่ที่คะแนนเฉลี่ยรายวิชาของการสอบโอเน็ตสูง เช่นกัน หากเราหวังจะเห็นเยาวชนของเรา ที่ต้องทั้ง "เก่งและดี" เป็นอย่างยิ่ง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท