กริ่งเรียกพยาบาลในหอผู้ป่วย : นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์


ใช้ในหอผู้ป่วยสำหรับผู้ป่วยหรือญาติกดเรียกพยาบาลในกรณีที่ต้องการบริการหรือฉุกเฉิน

ชื่อสิ่งประดิษฐ์ กริ่งเรียกพยาบาลในหอผู้ป่วย(Nursing Call Device)

ชื่อผู้ประดิษฐ์/คิดค้น

1.   นายแพทย์พิเชฐ  บัญญัติ             ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบ้านตาก
2.   นายสมเกียรติ  จันต๊ะโพธิ์            หัวหน้าหน่วยซ่อมบำรุง  โรงพยาบาลบ้านตาก
3.   นางสาวเทพทวย  มูลวงษ์        หัวหน้าหอผู้ป่วยชาย โรงพยาบาลบ้านตาก
4.   นางสุภาภรณ์   บัญญัติ พยาบาลวิชาชีพ 5 งานสุขศึกษาและประชาสัมพันธ์


สถานที่ติดต่อกลับ

 โรงพยาบาลบ้านตาก อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก  โทรศัพท์ 0-5559-1435-6             โทรสาร 0-5554-8066 มือถือ 0-1888-9011  e-mail address : [email protected]

หลักการเหตุผล

                โรงพยาบาลชุมชนส่วนใหญ่ในจังหวัดตากประสบกับปัญหางบประมาณขาดแคลน มีภาระหนี้สินมากในขณะที่ผู้มารับบริการเพิ่มมากขึ้น ท่ามกลางกระแสเรียกร้องเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วย  การให้บริการที่มีคุณภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก หากมีความผิดพลาดขึ้นก็อาจจะถูกร้องเรียนหรือฟ้องร้องได้  การให้บริการในหอผู้ป่วยซึ่งเป็นจุดวิกฤติจุดหนึ่งของโรงพยาบาลเนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่รับไว้นอนในโรงพยาบาลจะเป็นผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลใกล้ชิดและรวดเร็ว  ในขณะที่ปริมาณเจ้าหน้าที่มีไม่มากนักแต่ภาระงานมีมาก ดังนั้นการคิดค้นระบบเครื่องมืออุปกรณ์มาช่วยในการทำงานจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง  ระบบการเรียกพยาบาลเมื่อผู้ป่วยมีปัญหาในการดูแลจึงมีความสำคัญ การให้ญาติมาตามหรือให้พยาบาลไปเดินดูตลอดเวลาจึงเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลและอาจล่าช้าเกินกว่าจะดูแลผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัย  กริ่งเรียกพยาบาลจึงเป็นตัวช่วยที่สำคัญหากเป็นโรงพยาบาลที่มีงบประมาณสนับสนุนเพียงพอก็สามารถจะสั่งซื้อสำเร็จรูปจากบริษัทได้ แต่เมื่อพิจารณาจากหลักการของกริ่งเรียกพยาบาลแล้วจะพบว่าไม่มีความซับซ้อนทางเทคโนโลยีมากนัก ทางโรงพยาบาลบ้านตากโดยงานซ่อมบำรุง  แพทย์และหอผู้ป่วยจึงได้ร่วมกันออกแบบกริ่งเรียกพยาบาลขึ้นมาใช้เองโดยการผลิตและติดตั้งจากงานซ่อมบำรุงของโรงพยาบาล

วัตถุประสงค์

1.       เพื่อประดิษฐ์กริ่งเรียกพยาบาลไว้ใช้ในหอผู้ป่วยชายให้ผู้ป่วยและญาติกดเรียกพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่เมื่อมีความจำเป็นเร่งด่วน
2.       เพื่อประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อกริ่งเรียกพยาบาลซึ่งมีราคาสูงในขณะที่เทคโนโลยีในการผลิตไม่ซับซ้อนมากนัก
3.       เพื่อใช้เป็นกริ่งเรียกเจ้าหน้าที่หอผู้ป่วยเมื่อพนักงานเปลเข็นผู้ป่วยรับนอนมาถึงที่หอผู้ป่วย

วิธีการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์

1.  วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้
1)      แมกเนติกรีเลย์  220 V.AC.
2)      แมกเนติกรีเลย์    12 V.DC.
3)      ไทเมอร์รีเลย์
4)      สวิทย์กลางทาง (กริ่ง)
5)      หลอดไฟ Control
6)      สวิทย์ Putbottom
7)      เบเกอร์เออร์รีเกจ 30 A. กรเล์  30 mA.
8)      กริ่งสัญญาณ
9)      ชุดปลั๊กตัวเมีย+ตัวผู้
10)   สายไฟ VCT.2 X 0.5
11)   สายไฟ VAF. 2 X 1
12)   อุปกรณ์ยึดสายไฟ
13)   หม้อแปลง 220 V./12 V.D.C.
2.  งบประมาณ   ประมาณ 25,000 บาท

3.  วิธีการทำงาน

1)    ใช้ระบบการทำงานของ Control ของมอเตอร์ไฟฟ้ามาดัดแปลงใช้งาน  ซึ่งผลการทดลงใช้ได้ผลดีแต่มีปัญหาจากการใช้ตัวควบคุมเป็นระบบไฟฟ้า 220 V./A.C  ซึ่งอาจเป็นอันตรายกับผู้ใช้จึงดัดแปลงและเพิ่มเติม  โดยใช้ตัวควบคุมเป็นแบบ 12 V./D.C.
2)    การทำงานจริงเมื่อผู้ป่วยกดสวิทย์กริ่งเรียกพยาบาล   แมกเนติก 12 V./D.C. ทำงานแล้วจะสั่งให้ Timer ทำงานเป็นเวลา 3 นาที (Timer  สามารถปรับเวลาเพิ่มหรือลดได้)  เมื่อ Timer ทำงาน แมกเนติก 220 V./A.C.  ก็จะทำงานด้วยเมื่อแมกเนติก 220 V./A.C. ทำงานจะสั่งให้สัญญาณกริ่งดังขึ้นเป็นเวลา 3 นาที  พร้อมกับหลอดไฟจะโชว์ว่าเตียงไหนเรียกเจ้าหน้าที่  เมื่อเจ้าหน้าที่มาดูก็จะรู้ว่าเตียงไหน ก็ปิดสัญญาณได้เลย   โดยกดสวิทย์ปิดวงจร หรือจะดับเองโดย Timer ที่ตั้งเวลาไว้
3)      เมื่อผู้ป่วยกดสวิทย์ซ้อนกันได้โดยการทำงานของระบบแยกวงจร  จะไม่มีผลต่อการกดสวิทย์ซ้อนกันหรือซ้ำ
4)    ระบบเซฟตี้  ใช้เบเกอร์ออร์รีเกรต  30 A.  220 V.  เป็นตัวควบคุม  ถ้าหากมีกระแสไฟฟ้ารั่วหรือช๊อต  15 M.A.  เบเกอร์จะตัดระบบทั้งหมด
5)    สวิทย์กดสัญญาณของผู้ป่วยที่ใช้กดเรียกเจ้าหน้าที่ชุดนี้ไม่เกิดอันตรายกับผู้ใช้  เพราะได้ใช้ระบบชุดนี้เป็นระบบไฟฟ้า  12 V.D.C.  ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้

6)    สวิทย์กริ่งที่ใช้ในระบบแยกเป็น  10  ชุด  โดยแยกเป็นห้องพิเศษ 7 ห้อง  ห้องสามัญซ้ายและขวา  ห้องละ 1 สัญญาณ  และอีก 1 ช่องสัญญาณอยู่หน้าประตูตึกสำหรับผู้ป่วยเข้ารับใหม่

การทดสอบประสิทธิภาพสิ่งประดิษฐ์

                หลังจากที่ได้ประดิษฐ์ออกมาแล้วได้นำมาทดลองใช้โดยให้พยาบาลเป็นผู้ทดลองกดกริ่งเพื่อทดสอบเรื่องการใช้งาน  ชนิดของเสียงกริ่ง รูปแบบการติดตั้งสวิทซ์กดสัญญาณ และความปลอดภัยจากไฟฟ้าลัดวงจร หลังจากนั้นได้ให้วิศวกรและเจ้าหน้าที่จากศูนย์วิศวกรรมทางการแพทย์ที่ 8 จังหวัดนครสวรรค์ได้ตรวจสอบความปลอดภัยและมีการปรับเปลี่ยนระบบไฟฟ้าเป็นระบบไฟฟ้ากระแสตรงที่ปลอดภัยต่อการกดสวิทซ์สัญญาณ ป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร ไฟฟ้าดูดหรือไฟฟ้าช็อตได้แม้ผู้กดสวิทซ์สัญญาณจะมือเปียกน้ำก็ปลอดภัย
                ให้ช่างไฟฟ้าจากสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอบ้านตากได้ตรวจสอบความปลอดภัยของระบบเครื่องก่อนนำไปใช้และหลังจากติดตั้งแล้ว
ประโยชน์และการนำไปใช้
1.     ใช้ในหอผู้ป่วยสำหรับผู้ป่วยหรือญาติกดเรียกพยาบาลในกรณีที่ต้องการบริการหรือฉุกเฉินโดยสามารถบอกได้ว่าผู้ป่วยเตียงไหน ห้องไหนเรียก ทำให้สามารถให้การดูแลรักษาผู้ป่วยได้ทันเวลาและทันต่อความต้องการของผู้ป่วย ลดอันตรายหรือความเสี่ยงต่อผู้ป่วยได้
2.       พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ประจำหอผู้ป่วยมีตัวช่วยในการทำงาน สามารถดูแลผู้ป่วยได้ครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น
3.     สามารถปิดประตูหอผู้ป่วยในเวลากลางคืนได้ ทำให้เกิดความมั่นใจในความปลอดภัยของผู้ป่วยและญาติ  หากมีการรับผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลพนักงานเปลจะสามารถกดสัญญาณเรียกพยาบาลและเจ้าหน้าที่หอผู้ป่วยออกมาเปิดประตูรับผู้ป่วยได้
4.     โรงพยาบาลประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อเพราะใช้งบประมาณในการผลิตและติดตั้งประมาณ 25,000 บาทแต่ถ้าจัดซื้อจากบริษัทจะมีราคาประมาณ 350,000-400,000 บาท เหมาะกับสถานะทางการเงินของโรงพยาบาล

เอกสารอ้างอิง

1.       ประสิทธิ์  พิทยพัฒน์. การออกแบบระบบไฟฟ้า Electrical System Design. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ: ทีซีจี พริ้นติ้ง, 2545.
2.     ลือชัย  ทองนิล. การออกแบบและติดตั้งระบบไฟฟ้าตามมาตรฐานของการไฟฟ้า. พิมพ์ครั้งที่ 11(ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น), 2547.
3.       ไวพจน์  ศรีธัญ. การติดตั้งไฟฟ้าในอาคารและในโรงงาน. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมอาชีวะ, 2545.
4.       ไวพจน์  ศรีธัญ. การติดตั้งไฟฟ้า1. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมอาชีวะ,2545.
5.       ศุลี  บรรจงจิตร. หลักการและเทคนิคการออกแบบระบบไฟฟ้า. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2547.
6.       ศุลี  บรรจงจิตร. อุปกรณ์และการติดตั้งในระบบไฟฟ้า. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2547.
7.       เสนอ  นิลรัตน์นิศากร. การติดตั้งไฟฟ้าภายในอาคาร. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2547

คำสำคัญ (Tags): #kmกับนวัตกรรม
หมายเลขบันทึก: 4525เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2005 22:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

     ขอชื่นชมกับนักพัฒนาระบบสาธารณสุขด้วยใจจริงครับ พลอยดีใจกับคนไทย ที่มีผู้ที่มีความตั้งใจจริงครับ ขอฝากพระราโชวาทที่ วันนี้ นพ.สสจ.พัทลุง (นพ.ยอร์น จิระนคร) ได้นำมาฝาก จนท.นะครับ

     พระบรมราโชวาท ความว่า “ความมีใจจริงที่ขาดไม่ได้ในการทำงานมี 2 ประการ ประการที่ 1 คือ ความจริงใจต้อผู้ร่วมงาน ซึ่งมีลักษณะประกอบด้วย ความซื่อตรง เมตตา หวังดี พร้อมเสมอที่จะร่วมมือช่วยเหลือกันทุกขณะทั้งในฐานะผู้ที่มีจุดประสงค์ที่ดีร่วมกัน และในฐานะที่เป็นเพื่อนมนุษย์ร่วมชาติ ร่วมโลกกัน ประการที่ 2 ความจริงใจต่องานมีลักษณะเป็นการตั้งสัตย์อธิษฐาน หรือการตั้งใจจริงที่จะทำงานให้เต็มกำลัง”  22 มิถุนายน 2521

เยี่ยมากๆ สุดยอดเลย

ผมคิดว่าหากใครมีข้อมูลไหม่ๆควรจะแสดงความคิดเห็นมาให้มากว่านี้เพื่อจะมีประโยชน์ต่อผู้ที่ได้เข้ามาชมเรื่องนี้และใครมีข้อคิดส่วนตัวก็ขอให้ส่งความคิดลงมาให้มากผมว่ามันจะดีกว่านี้ ส่วนตัวนั้นในเรื่องนี้นั้นไม่ค่อยมีความรู้มากนักจึงอยากมีความรู้เพิ่มเติมจึงเขียนข้อความมาขอข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้จากผู้ที่มีความรู้เรื่องนี้ หากใครให้ความรู้เรื่องนี้ได้ผมขอขอบคุณมากครับๆๆๆๆๆๆ

ผมคิดว่าหากใครมีข้อมูลไหม่ๆควรจะแสดงความคิดเห็นมาให้มากกว่านี้เพื่อจะมีประโยชน์ต่อผู้ที่ได้เข้ามาชมเรื่องนี้และใครมีข้อคิดส่วนตัวก็ขอให้ส่งความคิดลงมาให้มากผมว่ามันจะดีกว่านี้ ส่วนตัวนั้นในเรื่องนี้นั้นไม่ค่อยมีความรู้มากนักจึงอยากมีความรู้เพิ่มเติมจึงเขียนข้อความมาขอข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้จากผู้ที่มีความรู้เรื่องนี้ หากใครให้ความรู้เรื่องนี้ได้ผมขอขอบคุณมากครับๆๆๆๆๆๆ

อัพเดทเทคโนโลยีเพิ่มเติมครับ ผมมีอุปกรณ์ที่เป็นทั้งสวิทช์เรียกพยาบาลและแสดงผลการเรียกของผู้ป่วย ที่ใช้ระบบสื่อสารแบบ 2 เส้นที่ใช้งบประมาณใกล้เคียงกับคุณหมอ โดยระบบนี้สามารถเพิ่มเติมหรือต่อขยายอุปกรณ์อื่นๆสำหรับอนาคตได้ง่ายครับเช่น 1.ถ้าเป็นผู้ป่วยต้องการดูแลใกล้ชิดมากๆก็สามารถกำหนดลำดับความสำคัญของการเรียกได้คือกำหนดให้ไฟแสดงผลเป็นแบบกระพริบได้ 2.ถ้าต้องการต่ออุปกรณ์แสดงผลระยะไกลสามารถทำได้ง่ายเพียงต่อขยายสายสัญญาณไปยังจุดอื่นโดยใช้สายสื่อสารเพียง2 เส้น ไม่ต้องเปลืองสายจำนวนมากครับ 3.สามารถต่อขยายแสดงผลผ่านอินเตอร์เนทได้ 4.สามารถแจ้งเหตุผ่านมือถือได้ 5.แต่ละห้องผู้ป่วยสามารถต่อขยายเซนเซอร์ต่างๆเพื่อดูคุณภาพสิ่งแวดล้อมภายในห้องหรือสุขภาพผู้ป่วยเบื้องต้นได้เช่นอุณหภูมิ ความชื้น หรือเซนเซอร์ที่เกี่ยวกับสุขภาพผู้ป่วยในอนาคตได้โดยไม่ต้องเดินสายเซนเซอร์ไปยังห้องดูแลศูนย์กลาง 6.ระบบนี้สามารถใช้กับรีโมทคอนโทรลได้ ึ ระบบดังกล่าวเน้นการสื่อสารระยะไกลโดยอาศัยเพียง2สาย แต่สามารถรับรู้อุปกรณ์ต่างๆนอกเหนือจากสวิทช์เรียกเข้า และแสดงผลมากมายในราคาไม่แพง

การทำงานและรูปแบบวงจร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท