ทฤษฎีเชาวน์ปัญญา


Theory of intelligence

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเชาวน์ปัญญา   

          ทฤษฎีเชาวน์ปัญญาสามารถจัดกลุ่มได้เป็น 3 กลุ่มทฤษฎี ดังนี้

1. ทฤษฎีเชาวน์ปัญญาจิตมิติ (Psychometric Theory of intelligence)   

      ทฤษฎีเชาวน์ปัญญาจิตมิติ เป็นทฤษฎีที่นักจิตวิทยาใช้หลักสถิติการวิเคราะห์องค์ประกอบของเชาวน์ปัญญา (Factor Analysis) หรืออาจเรียกว่า ทฤษฎีโครงสร้างทางเชาวน์ปัญญา มีดังนี้      

        >ทฤษฎีองค์ประกอบเดี่ยวของเทอร์แมน (Single-Factor Theory)

        >ทฤษฎีองค์ประกอบสองตัวของสเปียร์แมน (Two – Factor Theory)

        >ทฤษฎีองค์ประกอบทั่วไปสองตัวของแคทเทล (Cattell)

        >ทฤษฎีตัวประกอบร่วม หรือ ทฤษฎีสมรรถภาพพื้นฐานทางจิตของเธอร์สโตน (Louis L. Thurstone)

        >ทฤษฎีหลายตัวประกอบของธอร์นไดค์   

        >ทฤษฎีโครงสร้างทางเชาวน์ปัญญาของกิลฟอร์ด (Guilford)

2. ทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligence) ของ Howard Gardner

     Howard Gardner มีความเห็นว่า เชาวน์ปัญญาของมนุษย์มีความหลากหลายซึ่งแตกแยกจากแนวคิดเดิมๆ ที่เดิมยึดหลักว่า การเรียนรู้ของมนุษย์มีลักษณะเป็นหนึ่งหน่วยหรือวิธีเดียว มนุษย์มีปัญญาชนิดเดียวที่วัดได้

      Gardner มีแนวคิดว่า เชาวน์ปัญญามีหลากหลายประเภท (พหุปัญญา) มิได้มีเพียงความสามารถทางภาษา และทางคณิตศาสตร์เท่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับเรื่องของความแตกต่างระหว่างบุคคล ความสามารถที่แตกต่างกันออกไปนี้ เมื่อผสมผสานออกมาแล้วจะก่อให้เกิดเอกลักษณ์เฉพาะตัวบุคคล เชาวน์ปัญญาไม่สามารถวัดออกมาเป็นตัวเลขได้ แต่จะเห็นได้จากผลของการกระทำและการแก้ปัญหา เชาวน์ปัญญาสามารถพัฒนาเพิ่มพูนได้ การวัดระดับเชาวน์ปัญญาจะต้องวัดในบริบท/ สภาพความเป็นจริงในชีวิต

        เชาวน์ปัญญาอย่างน้อย 9 ด้านประกอบด้วย

          >Linguistic Intelligence

          >Logical–Mathematical Intelligence

          >Bodily – Kinesthetic Intelligence

          >Visual/Spatial Intelligence

          >Musical Intelligence

          >Interpersonal Intelligence

          >Intrapersonal Intelligence

          >Naturalist Intelligence

          >Spiritual/ existential Intelligence

3. ทฤษฎีเชาวน์ปัญญาไตร์อาร์คชิค (Triarchic Theory of Intelligence) ของ Sternberg R.J 

        เป็นทฤษฎีที่เน้นกระบวนการของความสามารถทางสมองมากกว่าเป็นองค์ประกอบด้านความสามารถทางสมอง  แบ่งเป็นทฤษฎีย่อย 3 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีย่อยด้านการคิด (Componential Subtheory) ทฤษฎีย่อยด้านประสบการณ์ (Experiental Subtheory) และทฤษฎีย่อยด้วยด้านบริบทสังคม (Contextual Subtheory)

         ทฤษฎีย่อยด้านการคิด  จะเป็นการส่งผ่านข้อมูล (Translate) จากการรับรู้เข้ามาเป็นมโนทัศน์ทางสมอง  หรือการเปลี่ยนรูปจากมโนทัศน์ทางสมองหนึ่งไปสู่มโนทัศน์ทางสมองอื่น หรืออาจจะเป็นการส่งผ่านจากมโนทัศน์โครงสร้างทางสมองไปสู่การแสดงออก 

         ทฤษฎีย่อยด้านประสบการณ์ มีจุดประสงค์เพื่อการทำหน้าที่ใน 2 ลักษณะ คือ ความสามารถในการแก้ปัญหาแปลกใหม่ (Ability to Deal with Novelty) และความสามารถในการประมวลผลข้อมูล (Ability to Automatic Processing)

        ทฤษฎีย่อยด้านบริบทสังคม เป็นความสามารถทางสติปัญญาที่เกี่ยวข้องกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของบุคคล  เกี่ยวข้องกับความสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตนเอง (Adapt)ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมอย่างมีจุดมุ่งหมาย  การเลือกสิ่งแวดล้อม (Select) ที่อำนวยประโยชน์สูงสุดมากกว่าที่จะทำตามสิ่งแวดล้อมที่เคยชิน  และความสามารถในการดัดแปลงสิ่งแวดล้อม (Shape) ให้เหมาะสมกับทักษะความสามารถและค่านิยมของตน

ที่มา:

Gardner, H.  (1983).  Frames of mind: The Theory of Multiple intelligence.  NewYork: Basic Books.

Sherffer, D.R.  (2002).  Developmental Psychology Childhood and Adolescence. 6th  Edition.  Belmont: Thomson Learning Inc.

Spearman, C.  (1927). The ability of man.  London: Macmillan.

Sternberg, R.J.  (1985). Beyond IQ: A Triarchic theory of human intelligence.  New York: Cambridge University Press.

______. (2003). Wisdom, Intelligence, and Creativity Synthesized.  New York: Cambridge University Press.

หมายเลขบันทึก: 451236เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2011 13:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

น่าสนใจมากเลยค่ะพี่ป้อม ว่าแต่พี่ป้อมพอจะมีข้อมูลเกี่ยวกับ ทฤษฎีการเรียนรูแบบมีส่วนร่วม โดยใช้เเนวคิดของ Kolb บ้างมั้ยค่ะ น้องต้องการมากๆเลยค่ะพี่ป้อม

ตามมาอ่าน อาจารย์หายไปนานมากๆ มาเขียนบ่อยๆๆนะครับ ฝากระลึกถึงอาจารย์ท่านอื่นๆด้วยครับ...

ขอบคุณค่ะ อ.ขจิต เพราะมัวหลงไปกับการทำงาน และการเรียนประจำวันค่ะ ต่อไปจะเข้ามาแลกเปลี่ยนอย่างต่อเนื่องค่ะ มีอ.ขจิตเป็นต้นแบบของการเรียนรู้และสะท้อนคิดค่ะ ^ ^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท