5 กลยุทธ์ในการรับมือกับ “รัฐบาลห่วย”


ความสุขของมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 คือ การมีทางเลือกที่หลากหลายตามหัวใจปรารถนา ขณะเดียวกัน การปลุกระดมมวลชนเพื่อสร้างสังคมที่เท่าเทียมแบบคอมมิวนิสต์ได้พิสูจน์แล้วว่าไม่เหมาะสมกับยุคสมัย โดยเฉพาะเมื่อความแตกต่างของปัจเจกชนมีค่ามากกว่าความมั่นคงปลอดภัย

โดย เจริญชัย ไชยไพบูลย์วงศ์

(www.siamintelligence.com)

 



 

1. จุดพลังไฟในการทำงาน


ทุกสิ่งทุกอย่างเริ่มต้นที่ตัวเรา
หากมัวแต่โทษรัฐบาลห่วยก็คงไม่เกิดประโยชน์อันใด ทางที่ดีกว่าคือ
การทำงานหนักเป็น 2 เท่า เพื่อเตรียมพร้อมรับมือผลกระทบด้านลบที่ไม่คาดฝัน


ตัวอย่างเช่น พ่อค้าแม่ค้าย่านราชประสงค์ หากในช่วงต้นปี 2554
มุ่งมั่นทำงานโดยไม่เคยหยุดพักสักวันเดียว วิกฤตการเมืองในเดือนพฤษภาคม
ก็อาจถือเป็นโอกาสพักร้อนผ่อนคลาย
ในขณะที่คนอื่นวุ่นวายเดือดร้อนเพราะสถานที่ทำมาหากินถูกใช้เป็นสนามรบทาง
การเมือง

 

2. ปลดปล่อยตัวเองจากความไม่รู้


วิกฤตราชประสงค์ 19 พฤษภาคม 2553 ได้ปลุกคนไทยตื่นขึ้นมาจากความหลับใหล โดยเฉพาะเมื่อการเมืองมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของทุกคน


การศึกษาความรู้เรื่องการเมือง
จึงไม่ใช่สิ่งฟุ่มเฟือยอย่างที่เคยเข้าใจอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม
การติดตามข้อมูลจากทั้งโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์
อาจยังไม่เพียงพอเพราะถูกครอบงำจากผลประโยชน์ทางธุรกิจ


Social Media ตั้งแต่ Twitter ยันถึง Facebook
กำลังเป็นสื่อทางเลือกที่ได้รับความนิยมจากประชาชนในการติดตามข่าวสารเพื่อ
รับมือกับรัฐห่วย
โดยเฉพาะเมื่อสื่อกระแสหลักก็เริ่มหยิบยืมข้อมูลจากโลกออนไลน์ ที่สำคัญ
รัฐบาลก็เริ่มตระหนักถึงอิทธิพลของสื่อออนไลน์และยินยอมปฏิบัติตามข้อเรียก
ร้องในบางประเด็นที่อาจมีผลกระทบต่อคะแนนเสียงทางการเมือง


3. พลังเครือข่าย พลังแห่งความหวัง


ความสุขของมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 คือ
การมีทางเลือกที่หลากหลายตามหัวใจปรารถนา ขณะเดียวกัน
การปลุกระดมมวลชนเพื่อสร้างสังคมที่เท่าเทียมแบบคอมมิวนิสต์ได้พิสูจน์แล้ว
ว่าไม่เหมาะสมกับยุคสมัย
โดยเฉพาะเมื่อความแตกต่างของปัจเจกชนมีค่ามากกว่าความมั่นคงปลอดภัย


เครือข่าย จึงกลายเป็นพลังสำคัญในรวมตัวทางการเมืองของประชาชน
เพื่อเรียกร้องและต่อรองกับรัฐบาล
โดยที่แต่ละกลุ่มผลประโยชน์มีเสรีภาพในการดำเนินงานตามความถนัดของตนเอง
ขณะเดียวกันในยามที่บ้านเมืองมีปัญหาเร่งด่วน
กลุ่มคนที่หลากหลายนี้ก็ยังสามารถรวมตัวเพื่อผลประโยชน์โดยรวมแห่งประเทศ
ชาติได้


ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ "เครือข่ายพลังบวก"
ที่เกิดจากกลุ่มคนหลากหลายสาขาตั้งแต่นักศึกษา นักธุรกิจ กระทั่งถึง
นักสำรวจขั้วโลกและนักออกแบบตัวอักษร
โดยในยามปกติกลุ่มคนเหล่านี้ก็ใช้ชีวิตสนุกสนานในชุมชนแห่งวิชาชีพของตน
แต่ด้วยแรงบันดาลใจจากโศกนาฎกรรมราชประสงค์เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
ก็ทำให้พวกเขาละทิ้งความหมกมุ่นในโลกแคบที่แสนสุขออกมาเผชิญหน้ากับภารกิจ
ที่เต็มไปด้วยความเสี่ยงและความไม่แน่นอน
เพียงเพื่อถักทอรอยยิ้มคนไทยคืนกลับมา


4. ปันใจรักให้พรรคฝ่ายค้าน


อำนาจประชาชนไม่ได้เริ่มต้นและสิ้นสุดเพียงแค่ในวันหย่อนบัตรเลือกตั้ง
ดังที่ถูกทำให้เชื่อกันมานานแสนนาน แต่กระนั้น
การเรียกคืนอำนาจจากรัฐบาลที่อ้างว่าได้รับเสียงสวรรค์มาจากประชาชนส่วนใหญ่
ของประเทศ ก็ยังไม่ใช่เรื่องง่าย



ภายใต้ระบบโควต้าเก้าอี้รัฐมนตรีที่มีจำกัด
ทำให้พรรครัฐบาลต้องจำกัดจำนวนพรรคที่จะเข้าร่วมกับรัฐบาล
นี่จึงทำให้ฝ่ายค้านในระบบประชาธิปไตยไทยมีความเข้มแข็งไม่ถูกดูดกลืนไปเข้า
ฝ่ายรัฐบาลจนหมดสิ้น ดังนั้น
จึงเป็นโอกาสของประชาชนในการปลดอำนาจของรัฐบาลที่ไร้คุณภาพในการบริหาร
ประเทศ โดยอาศัยความร่วมมือจากพรรคฝ่ายค้านที่ต้องการลิ้มรสอำนาจบ้าง
ผสานเสริมกับพรรคร่วมรัฐบาลที่ไม่พอใจในเก้าอี้รัฐมนตรีที่ถูกจัดสรร
แต่ทั้งหมดย่อมคุ้มค่าหากได้รัฐบาลใหม่ที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้
ดีกว่า


5. นวัตกรรมสังคม นวัตกรรมประชาธิปไตย


ยิ่งเวลาผ่านไป ความต้องการของมนุษย์ก็ยิ่งมีความสลับซับซ้อน
ตั้งแต่ความห่วงใยสิ่งแวดล้อมไปจนถึงการสร้างตัวตนในโลกเสมือนจริง ดังนั้น
จึงเป็นไปได้ยากที่รัฐบาลจะสามารถตอบสนองทุกความต้องการของประชาชนได้อย่าง
ทันท่วงที


พลังแห่งเสรีภาพและจินตนาการของปัจเจกชน
จึงเป็นส่วนประกอบสำคัญของรัฐสมัยใหม่
โดยเฉพาะการเป็นฝ่ายริเริ่มนวัตกรรมและโครงการที่มีคุณค่าต่อสังคม
ในที่สุดเมื่อนวัตกรรมมีความแพร่หลายต่อสังคมในวงกว้างแล้ว
รัฐบาลก็จะเข้ามาช่วยผลักดันให้ประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น


ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การถือกำเนิดของธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ในประเทศไทย ที่เกิดจากการสร้างสรรค์ริเริ่มของประชาชน โดยมีการถักทอเชื่อมร้อยเป็นโครงข่ายที่แข็งแกร่งโดยสถาบัน Change Fusion
ที่ช่วยประชาสัมพันธ์และจัดหาแหล่งทุนให้กับภารกิจนี้ ในที่สุด
รัฐบาลไทยก็ตระหนักและยอมรับ จึงนำไปสู่การจัดทำ “แผนแม่บท”
ในการสร้างเสริมกิจกรรมเพื่อสังคม (Social Enterprise)
เพื่อการแก้ไขปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจไทยให้สามารถเติบโตต่อเนื่องได้อย่าง
ยั่งยืน



หมายเลขบันทึก: 451102เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2011 16:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท