สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยกึ่งก่อนประวัติศาสตร์ และสมัยประวัติศาสตร์(๑)


มาทำความรู้จักกับสมัยทางโบราณคดีกันเถอะ

 

     สวัสดีค่ะเพื่อนๆชาว gotoknow ทุกท่าน หลังที่จากไม่ได้พบกันนานนะค่ะ คราวนี้พิพิธภัณฑ์ฯ ชุมพร จะขอกลับมาพบกับท่านอีกครั้ง ซึ่งผู้เขียนจะนำเนื้อหาสาระและความรู้เรื่องโบราณคดี ประวัติศาสตร์ และพิพิธภัณฑสถานวิทยา มาฝากท่านผู้อ่านเรื่อยๆค่ะ

      วันนี้ดิฉันก็ขอนำทุกคน ไปทำความรู้จักกับเรื่องพื้นฐาน คือเรื่องของยุคสมัยค่ะ เพื่อนๆหลายคนคงเคยอ่านหนังสื่อประวัติศาสตร์กัน และคงจะเคยพบคำว่า สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยกึ่งก่อนประวัติศาสตร์ และสมัยประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นคำพื้นฐานที่ใช้กันอยู่เป็นประจำนะค่ะ  

      สำหรับสมัยก่อนประวัติศาสตร์ (Prehistory) หมายถึง ช่วงระยะเวลาที่มนุษย์ยังไม่สามารถประดิษฐ์ตัวอักษรใช้ ไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร อาจจะมีภาษาพูดแต่ไม่มีการเขียนบันทึก การสิ้นสุดสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในแต่ล่ะแห่งนั้นอยู่ในเวลาที่ต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น ดินแดนในแถบเอเชียตะวันตก มีการประดิษฐ์ตัวอักษรใช้เมื่อ ๕๐๐๐ ปีมาแล้ว แต่ในบางพื้นที่ก็ยังปรากฎร่องรอยของกลุ่มคนที่มีการดำรงชีพแบบดั้งเดิม คือ อาศัยอยู่ตามถ้ำ ไม่รูจักใช้ตัวอักษรในการบันทึก 

      สำหรับในประเทศไทยนั้น มีการแบ่งสมัยก่อนประวัติศาสต์ออกเป็นยุคย่อยๆ ตามที่แสดงในตารางค่ะ หากผู้อ่านท่านใดสนใจเรื่องของสมัยก่อนประวัติศาสตร์ก็สามารถอ่านบทความเก่า ที่คุณสุขกมล เคยเขียนได้ค่ะ เช่น บทความเรื่อง "เครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือ อะไร" "ภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่เขาขุนกระทิง(เขานาพร้าว)จ.ชุมพร" และ "ศิลปะถ้ำ งานสร้างสรรค์ของมนุษย์ในอดีต" เป็นต้น

        ในคราวหน้าจะขอนำเพื่อนๆ ไปทำความรู้จักกับ สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ ซึ่งเพื่อนบางคนอาจจะไม่คุ้นกับคำนี้ค่ะ แต่ใบ้ให้ว่าเป็นสมัยที่เกี่ยวข้องกับ จ.ชุมพร เป็นอย่างยิ่งค่ะ ขอบคุณทุกคนที่ติดตามอ่านค่ะ แล้วไว้พบกันใหม่ค่ะ

 

 

 

 

 

 

ที่มาของตาราง : ศิลปากร, กรม. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๕๐.

 

ภาพจำลองมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จัดแสดงที่ พิพิธภัณฑ์ฯ ชุมพร

  

Large_pre2

ภาพจำลองมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จัดแสดงที่ พิพิธภัณฑ์ฯ ชุมพร

  

เอกสารอ้างอิง 

ศิลปากร, กรม. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๕๐.

หมายเลขบันทึก: 451063เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2011 12:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 00:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท