เทคนิคการเขียน manuscript งานวิจัย : วินัยกับ 80/20 rule


การทำ "สิ่งที่สำคัญ" 20% จะได้ 80% ของผลสำเร็จ การทำสิ่ง "ปลีกย่อย" 80% จะได้ 20% ของผลสำเร็จ

สิ่งที่เป็นอุปสรรคใหญ่หลวงของการเริ่มเขียน manuscript คือ "การเริ่มต้น" เพราะเรามักผัดวันประกันพรุ่ง (Procrastinating) ด้วยเห็นความเหนื่อยยากรออยู่ตรงหน้า..เมื่อเปิดคอมพิวเตอร์ "กะว่า" จะลงมือ แต่พอเข้าดูอีเมล์หน่อย ก็เฉไฉไปโน่นนี่อยู่เรื่อย

จึงขอเสนอ 7 วิธีสร้างวินัยการทำงานที่ใช้ได้ผลกับตัวเองดังนี้คะ
1. จัดโต๊ะเขียนหนังสือ ให้โล่งที่สุด
2. พับเก็บคอมพิวเตอร์ เพื่อป้องกัน distraction จากการเข้าอีเมล์, facebook etc.
3. ใช้กระดาษ จัดลำดับสิ่งที่จะเขียนก่อนหลัง พร้อมกำหนดกรอบระยะเวลา เขียนเสร็จแล้วแปะไว้ข้างฝา
4. กระดาษอีกใบ ทำ mind map ของแต่ละส่วน - เช่น mind map ของ introduction, mind map ของ result เป็นต้น เนื่องจาก ความคิดเรามักไม่เป็น linear แต่จะโผล่มาเป็นจุดๆ  ค่อยมาเชื่อมโยงทีหลัง
5. จะเปิดคอมพิวเตอร์เพื่อลงมือพิมพ์ ต่อเมื่อง mind map นั้น "saturated" ขณะพิมพ์งานควรปิดช่องทางติดต่ออินเตอร์เนตชั่วคราว (ถอดสาย LAN, ปิด wifi)
6. หากพิมพ์ไปแล้วติดขัด คิดไม่ออก ให้ใส่เครื่องหมาย *** ไว้ แล้วท่องในใจ "just do it" อย่าเพิ่งเปิด หนังสือ อย่าเพิ่งเข้าอินเตอร์เนต จนกว่าภาพรวมจะเสร็จ ค่อยมาเพิ่ม/ขัดเกลาทีหลัง
7. คนเรามักมีสมาธิไม่เกิน 1 ชั่วโมง ดังนั้น เราควรแบ่งย่อยงานออกเป็นขั้นย่อยๆ เช่น การใช้วิธี "หักแต่ละกิ่ง" ของ mind map..เราจะไม่ยอมทำอย่างอื่นหรือปล่อยให้ความคิดเรื่องอื่นเข้ามาแทรกจนกว่าจะเสร็จแต่ละส่วน  แต่เมื่อเสร็จแต่ละส่วน ก็ให้รางวัลตัวเอง เช่นออกไปเดินเล่น, ดูทีวี, ช้อปปิ่งออนไลน์ 

--------------------------------------------------------------
 
เราควรเริ่มต้นจากส่วนไหนดี ?

มีผู้สัดทัดกรณี แนะนำว่า ให้เริ่มจากส่วนที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ "น้อยที่สุด" ( คือเขียนบรรยายไปตามสิ่งที่เกิด) ไปหา "มากที่สุด" (ต้องแปลผล เปรียบเทียบ เสนอแนะ) ดังนี้

1. Methods
2. Results
3. Introduction - ต้องชักนำเข้าสู่ 1 และ 2
4. Discussion - มักต้องการ brain stroming จากการรวบรวม 1,2,3

ในแต่ละส่วน ควรแบ่งเป็นประเด็นเกรด A  กับ เกรด B
การทำงานอย่างมี ประสิทธิภาพ ( Efficience หรือ Effective = Output/input) โดยพิจารณา ตามกฎ 80 <- 20  คือ 80% ของผลสำเร็จ มักเกิดจาก 20% ของการทำสิ่งที่สำคัญ คือประเด็นเกรด A  - ส่วนที่เหลือเพื่อให้เต็มร้อยนั้นเกิดจาก 80% ของการทำรายละเอียดปลีกย่อย คือ ประเด็น เกรด B
 
แต่ละวัน ช่วงที่สมองแจ่มใส ควรเลือกทำประเด็นเกรด A ก่อน.. 

 

#####

Update 2 ต.ค. 2554

ข้อ 6 การหักใจเพื่อลงมือ  "just do it" นั้น ข้าพเจ้าพบว่า บางครั้ง เมื่องานซับซ้อน ความกลัวนั้นมหึมาเกินกว่าจะเอาชนะด้วยคำพูดบอกตัวเองเช่นนี้..วิธีที่ละมุนละม่อมซึ่งข้าพเจ้าอ่านพบในหนังสือของ Robert Murer คือให้กำลังใจตัวเอง ว่าทุกสิ่งที่เริ่มต้น แม้เล็กน้อย เช่นวันแรกเขียนได้แค่ 1-2 บรรทัด   ก็เป็นหนทางไปสู่เป้าหมาย แล้วเราก็จะไม่ "กลัวการเริ่มต้น" อีกต่อไป

คำสำคัญ (Tags): #manuscript#research writing#80/20 rule#r2r
หมายเลขบันทึก: 449438เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2011 03:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

ก่อนเริ่มลงมือ ต้องมาอ่านบันทึกนี้ก่อน ขอบคุณคุณหมอมากครับ ที่แบ่งปัน

ขอบคุณที่ให้กำลังใจคะ อาจารย์บวร ตอนที่ร่าง mind map 4 แผ่นออกมา

รู้สึกเหมือนงานไม่เยอะเท่าไหร่นี่นา

มันช่วยให้รู้สึกดีขึ้นนะคะ

เป็นกำลังใจให้งานอาจารย์ลุล่วงเช่นกันคะ

พี่ทำคล้าย ๆ แบบนี้ แต่ต่างไปนิดหนึ่ง

คือใช้วิธีที่ถนัด คือพูดหรือเล่าเกือบทั้งหมดของ mind map หนึ่งถึงสองหรือสามรอบนั่น (ต้องมีเพื่อนรักกันจริงฟังและซักถามเรา) 

 

อืม ทำจนติดวิธีนี้แล้วสิคะ

  • อ่านแล้วนำไปใช้ในชีวิตประจำัวันแก้ปัญหางานคั่งค้าง
  • ขอบพระคุณความรู้และข้อคิดดี ๆ ที่แบ่งปันค่ะ อาจารย์หมอ
    ว่าแล้วก็คงต้องรีบไปทำคะแนนเด็กต่อแล้วละคะ

ขอบคุณที่แชร์วิธีการทำงานเป็นประโยชน์มากคะ

การเล่า mind map ให้เพื่อนฟัง น่าจะช่วยจัดระเบียบความคิดได้ดียิ่งขึ้น :-)

ถามเพิ่มอีกนิดคะ ตอนเล่า mind map อนุญาตให้เพื่อน feedback ได้ไหมคะ 

 

เป็นกำลังใจให้คะ เทคนิคอาจพลิกแพลงไปตามแต่ละคน

สำหรับตัวเองแล้ว สิ่งที่ยากมากที่สุดคือ "การเริ่มลงมือ" นี่แหละคะ

มาตอบค่ะ พี่ให้เพื่อน feedback และถามตอบได้ตลอด มีครั้งหนึ่งยอมให้เขาตัดส่วน(เกิน)ด้วย ทั้งที่เสียดาย แต่จำนนต่อเหตุผล

จริง ๆ แล้วส่วนเตรียมงานพี่ใช้เวลามาก ไปคุยไปแลกเปลี่ยน(โดยการเล่า)ก่อนเป็นเดือนแรก ๆ เพื่อนนึกว่าเราไปแวะคุย เล่า ถามเท่านั้น หลัง ๆ รู้ใจกันถึงขนาดคิดทำวิจัยด้วยกันเลย หมดเรื่อง เพราะเราชอบเรื่องเหมือน ๆ กัน และถนัดกันคนละส่วน เอามาเติมกัน

อย่างไรก็ตาม เพื่อนเก่งกว่าพี่ คิดลงรายละเอียดได้มากกว่า

ส่วนที่พี่ชอบก็คือ เรามีความสุขตั้งแต่เริ่มคิดจะทำ ระหว่างคิด และลงมือทำ เป็นคนทำอะไรช้า แต่ทำแบบสนุก ค่ะ

  • หลายครั้งที่กว่าจะลงมือทำ..ต้องสร้างอารมณ์อยู่นาน..เลยมักจะเฉไฉกับเรื่องอื่นไปเรื่อย...กว่าจะเริ่มทำก็เสียเวลาไปเยอะ  พอเวลาเหลือน้อยก็เร่งทำผลงานออกมาเลยไม่ค่อยดีเท่าที่ควร
  • "Just do it" ต้องท่องไว้ๆ
  • ขอบคุณมากค่ะที่แบ่งปันเรื่องราวดีๆ

ขอบคุณพี่หมอเล็กมากคะ ได้ข้อคิดการทำงาน ที่น่านำไปใช้บ้าง

เป็นตัวอย่างของการ appreciate ภายในทีมที่นำไปสู่ผลงานสำเร็จ

ไม่สำเร็จอย่างเดียว ยังเป็นทำงานที่มีสุข ตามแบบ R2R ด้วย

 

เป็นเหมือนกันคะ ยากที่สุดก็ตอนลงมือทำเริ่มต้น รอจนไฟลน

อ่านหนังสือ เพื่อพิจารณาตนเอง ก็บอกว่า มักเกิดจากเรา "กลัว" ทำแล้วไม่สมบูรณ์พร้อมคะ หากเราลดความคาดหวังลง งานมักออกมาดีเกินคาด

เป็นกำลังใจให้คะ

 

ขอบคุณคะ

ชื่นชม หมออดิเรก ที่มีงานล้นมือ แต่จัดการอย่างเป็นระบบ เขียนไว้ว่าวันนี้จะทำอะไร

พยายามทำตามอยู่คะ :-)

เขียน menuscript เสร็จแล้วถึงมาเจอ อ่านไปขำไปเพราะกว่าจะเสร็จได้มันเป็นอย่างที่เขียนมาจริงๆ ขอบคุณมากค่ะ

กำลังสับสนในความคิด....พอมาอ่าน ช่วยให้ ความคิดเป็นระเบียบยิ่งขึ้น ค่ะ

ขอบคุณค่ะที่ได้แบ่งปันวิธีการต่างๆ

บทความ 10 ปีแล้ว ยังใช้ได้อยู่ค่ะ ขอบคุณที่แชร์แนวทางดีๆค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท