ทำนาปลูกข้าวแบบไม่ต้องฉีดพ่นฮอร์โมนทางใบ ประหยัดค่าแรง ลดต้นทุน


ในฟางข้าวที่ให้ผลผลิตเมล็ดข้าวเปลือกหนึ่งร้อยถังหรือหนึ่งตัน

ในฟางข้าวที่ให้ผลผลิตเมล็ดข้าวเปลือกหนึ่งร้อยถังหรือหนึ่งตัน
จะมีไจนโตรเจน 7.6 กก., ฟอสฟอรัส 1.1 กก., โพแทสเซียม 28.4 กก., แมกนีเซียม 2.3
กก., แคลเซียม 3.8 กก. กำมะถัน 0.34 กก. เหล็ก 150 กรัม. สังกะสี 20 กรัม ทองแดง 2
กรัม โบรอน 16 กรัม. ซิลิก้า 41.9 กิโลกรัม คลอรีน 55 กิโลกรัม (สถาบันข้าวนานาชาติ
IRRI, Manila, Philippines (1987)) จากตัวเลขดังกล่าว
สะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าและประโยชน์ของฟาง
ถ้าไม่เผาฟางก็สามารถประหยัดปุ๋ยเคมีและฮอร์โมนอาหารเสริมได้มาก

ต้นข้าวต้องการปุ๋ยธาตุอาหารหลักเพื่อให้ได้เมล็ดข้าวเปลือก
100 ถังหรือหนึ่งตันโดยต้องการ ไนโตรเจน 22.2 กก. มีอยู่ในฟางแล้ว 7.6 กก.
ต้องการเพิ่มอีก 14.6 กก. ฟอสฟอรัส 7.1 ก.ก. มีอยู่ในฟางแล้ว 1.1 ต้องการเพิ่มอีก
6.0 กก.  โพแทสเซียม 31.6 กก. มีอยู่ในฟางแล้ว
28.4 ต้องการเพิ่มอีก 3.2 กก.
จะสังเกตุเห็นได้ว่าในส่วนที่ขาดหายไปนั้นก็คือออกไปในรูปของแกลบหรือเปลือกข้าว
จึงควรต้องเพิ่มเข้ามาให้เกิดความสมดุลกัน ธาตุอาหารหลักทั้งสามตัวถ้าสังเกตให้ดี
ไนโตรเจน 7.6 กิโลกรัมจากฟางข้าว เทียบเท่าได้กับ ปุ๋ยเคมี 16-20-0 หนึ่งกระสอบ
คือมีไนโตรเจนตัวหน้าร้อยละ 16  ปุ๋ยหนัก
50 กิโลกรัมต่อกระสอบ ก็เท่ากับมีไนโตรเจนอยู่ 8 กิโลกรัม ในฟางข้าวขาดเพียง 0.4
กิโลกรัมเท่านั้นเอง ส่วนโพแทสเซียมในฟางข้าวมีอยู่ 28.4 กิโลกรัม
เทียบเท่าได้กับปุ๋ย 0-0-60 หนึ่งกระสอบ เทียบเปอร์เซ็นต์เหมือนกับปุ๋ยไนโตรเจนในข้างต้น

ถ้าเกษตรกรกระทำการเผาตอซังฟางข้าว
ก็เท่ากับว่าได้เผาปุ๋ยทิ้งไป 2 กระสอบ เป็นเงินก็เกือบ 2,000 บาทสูญเสียรายได้หรือกำไรไปแล้วโดยที่ยังไม่ได้ลงมือปลูก
แต่ถ้าเราไม่เผาฟางเท่ากับเราได้สร้างความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินโดยเพิ่มปุ๋ยให้กับดินไปอีก
2 กระสอบ แถมยังได้ธาตุอาหารเสริมจุลธาตุต่างๆ
ช่วยให้ข้าวเจริญเติบโตได้อย่างแข็งแรง โดยอาจจะเติมปุ๋ยลงไปบ้างเพียงเล็กน้อยตามปริมาณที่ต้นข้าวต้องการจากผลการวิจัย
IRRI ด้านบน

อีกทางเลือกหนึ่งเราสามารถใช้กลุ่มของหินแร่ภูเขาไฟที่ชื่อว่า
“ซีโอ-พูมิชซัลเฟอร์” ซึ่งมีแร่ธาตุและสารอาหารต่างๆ มากมาย ทั้งฟอสฟอรัส,
แคลเซียม, แมกนีเซียม, กำมะถัน, เหล็ก, ทองแดง แมงกานีส , สังกะสี, โบรอน,
มิลิบดินัม ฯลฯ และที่สำคัญคือแร่ซิลิก้าหรือซิลิสิค แอซิด (H4Sio4) ที่ช่วยให้ข้าวใบตั้งชูสู้แสง
ไม่ล้มง่ายปลอดภัยในช่วงเก็บเกี่ยวที่มีพายุฟ้าฝนลมแรง ช่วยเพิ่มน้ำหนัก
เมล็ดแกร่ง โดยทำการหว่านเตรียมดินตอนทำเทือกเพียง 1 – 2 กระสอบต่อไร่
จะช่วยลดทดแทนการฉีดพ่นปุ๋ยยาฮอร์โมนและธาตุอาหารเสริมทางใบ ช่วยลดต้นทุนไม่ต้องสิ้นเปลืองเรื่องแรงงานในการฉีดพ่น
อันนี้ก็ฝากพี่น้องเกษตรกรให้ช่วยเลือกพิจารณากันสักนิดนะครับ หากเลือกพรรค เลือก
ส.ส. ยังตัดสินใจไม่ได้  ก็ลองเลือกใช้
“ซีโอ-พูมิซซัลเฟอร์” กันดูก่อนนะครับ

มนตรี
บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 448564เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2011 13:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

*ขอบคุณครับเป็นข้อมูลที่ดี

*เพิ่งเริมทำนาใหม่ ยังทำตามชาวบ้านอยู่เพืยงไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีขายตามท้องตลาดและทำเองบางอย่าง

*เป้าหมายพยายามลดต้นทุนครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท